ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ธุรกิจต่างชาติยังคงลังเล แม้สหรัฐฯ จะยกเลิกมาตรการลงโทษต่อเมียนม่าร์


Asia World port terminal seen in Yangon December 8, 2015. The United States is temporarily easing trade restrictions on Myanmar by allowing all shipments to go through its ports and airports.
Asia World port terminal seen in Yangon December 8, 2015. The United States is temporarily easing trade restrictions on Myanmar by allowing all shipments to go through its ports and airports.

อุปสรรคสำคัญของการลงทุนคือนโยบายและกฎหมายที่เอื้อต่อธุรกิจรวมทั้งกฎระเบียบปลีกย่อย

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:45 0:00

หลังจากที่ใช้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อเมียนม่าร์มาราว 20 ปี รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยกเลิกมาตรการลงโทษส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

เช่น ยกเลิกการห้ามทำการค้ากับบริษัทที่กองทัพพม่าเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นอยู่รวมทั้งยกเลิกการห้ามนำเข้าหยกและพลอยในสหรัฐฯ ด้วย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้บริษัทต่างๆ ของประเทศในเอเชียจะสนใจเข้าไปลงทุนในเมียนม่าร์เป็นอย่างมาก แต่ธุรกิจข้ามชาติของสหรัฐฯ รวมทั้งของประเทศตะวันตกอื่นๆ ก็ยังลังเลที่จะเข้าไปลงทุนอยู่

เหตุผลเป็นเพราะเมียนม่าร์ยังขาดระบบพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำธุรกรรมด้านการเงิน โดยเฉพาะในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งสำหรับการเคลื่อนย้ายเงินเข้าและออกจากประเทศด้วย

นอกจากนโยบายและกฎหมายที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจในภาพรวมแล้ว กฎระเบียบปลีกย่อยต่างๆ ก็สร้างอุปสรรคด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น การที่รัฐบาลท้องถิ่นในเมืองย่างกุ้ง ศูนย์กลางด้านการค้าที่สำคัญของประเทศ ระงับการออกใบอนุญาตสำหรับที่จอดรถใหม่ ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้ที่ต้องการซื้อรถใหม่ ก็มีส่วนทำให้บริษัทรถยนต์ใหญ่ๆ เช่น เชฟวี่และโตโยต้า ชะลอการตัดสินใจลงทุนเช่นกัน

ในช่วง 28 ปีที่ผ่านมา บริษัทอเมริกันเข้าไปลงทุนในเมียนม่าเพียง 248 ล้านดอลลาร์ หรือไม่ถึง 1% ของยอดรวมการลงทุนทั้งหมด คือหกหมื่นล้านดอลลาร์

ในขณะที่จีนนั้นได้ลงทุนในเมียนม่าไปแล้วเป็นเงินกว่าสองหมื่นห้าพันล้านดอลลาร์

XS
SM
MD
LG