ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เศรษฐกิจหลักเมียนมาทรุด แต่ “ธุรกิจผิดกฎหมาย” คึกคักหลังรัฐประหาร


Myanmar Currency
Myanmar Currency
Myanmar Economy Illegal
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:53 0:00

ภายหลังเหตุรัฐประหารเพียงไม่กี่วัน กลุ่มเคลื่อนไหว Civil Disobedience Movement (CDM) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยประชาชนเพื่อแสดงจุดยืนสำคัญว่าพวกเขาจะต่อต้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่มีการปกครองโดยรัฐบาลทหาร

พนักงานธนาคารทั่วประเทศร่วมการเคลื่อนไหวข้างต้นและผละงานประท้วงทำให้ประเทศไม่สามารถหมุนเวียนเงินในระบบได้

ประชาชน ธุรกิจต่างๆ รวมถึงรัฐบาลทหารจึงได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันของเมียนมาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งยังถูกมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจและถูดคว่ำบาตรจากนานาชาติ ผู้ผลิตสินค้าหลายรายก็ยังเลือกจะไม่ใช้เมียนมาเป็นฐานการผลิตอีกต่อไปด้วยเพื่อกดดันรัฐบาลทหาร ส่งผลให้โรงงานถูกปิดไปเป็นจำนวนมากและประชากรมีอัตราว่างงานที่สูงขึ้น

เกว็น โรบินสัน แห่งกองบรรณาธิการ Nikkei Asia กล่าวที่งานสัมมนาหัวข้อปัญหาของเศรษฐกิจเมียนมาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยว่า “นายพลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย (ผู้นำของรัฐบาลเมียนมา) ได้พูดถึงการพึ่งพาตนเองในประเทศมากขึ้นและขอให้ประชากรใช้น้ำมันให้น้อยลง โดยแนะนำให้หันมาเดินเท้าและนั่งรถสาธารณะ พร้อมยังบอกให้บริโภคข้าวและน้ำมันพืชให้น้อยลงอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความวิตกกังวลของผู้นำเมียนมาเนื่องจากเศรษฐกิจที่ถดถอยลง” เธอยังบอกอีกว่าสถานการณ์ในเมียนมานั้นได้เลวร้ายลงไปอีกเมื่อการระบาดของโควิดเกิดขึ้น

โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจที่เกิดจากธุรกรรมเป็นไปตามระบบในเมียนมาจะลดลงไปประมาณ 18% ส่วนบริษัทวิเคราะห์เศรษฐกิจ Fitch Solutions ประเมินการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเมียนมาใหม่ว่าจะหดตัวลงถึง 4.4% ในปีหน้า

รายงานจากองค์กร International Labor Organization ยังชี้ด้วยว่าเมียนมาสูญเสียตำแหน่งงานถึง 1.2 ล้านตำแหน่งในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งกระทบต่อภาคธุรกิจทุกส่วน โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การบริการ การก่อสร้าง และการผลิตสิ่งทอ
นักวิเคราะห์การเมือง ออง ตู เนีย บอกกับวีโอเอว่า แนวโน้มที่เศรษฐกิจเมียนมาจะฟื้นกลับมาตัวในอนาคตนั้นดูเลือนลางเนื่องจากนักลงทุนยังไม่มีท่าทีเข้ามาทำธุรกิจในประเทศอย่างจริงจังในปีหน้า กรณีนี้แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมาหลายๆชาติที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวจากการระบาดของโควิดแล้ว

เขากล่าวด้วยว่า เมียนมาจะอยู่ในสภาพ “the last frontier in Asia” ที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ปิดต่อโลกภายนอกเหมือนในอดีต

นักวิเคราะห์การเมืองผู้นี้คาดว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาอาจเกิดขึ้นได้บ้างเล็กน้อย หากมีการเปิดพรหมแดนการค้ากับจีนและรัสเซียเพื่อขายอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร

อย่างไรก็ตาม เจอร์มี่ ดักลาส ซึ่งเป็นตัวแทนภูมิภาคขององค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม อธิบายว่า ธุรกิจการค้าและผลิตยาเสพติดในเมียนมา เช่น เฮโรอีนและยาบ้า เป็นหนึ่งในอาชญากรรมที่กำลังเจริญเติบโตขึ้นซึ่งนับเป็นสิ่งที่สวนทางกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างสุจริตในปัจจุบัน

ดักลาสบอกว่า เศรษฐกิจที่เกิดจากการผลิตยาเสพติดในเมียนมามีขนาดใหญ่มาก่อนที่เกิดการทำรัฐประหารและการระบาดของโควิดแล้ว โดยรัฐฉานเป็นเเหล่งผลิตเพื่อทำการ ส่งไปขายในเอเชียแปซิฟิก เขาชี้ว่า การทำการค้าประเภทนี้ขยายรวดเร็วและได้เเรงงานเพิ่มขึ้นมา เมื่อเศรษฐกิจหลักได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบต่างๆ

เมียนมานั้นได้รับประกาศเอกราชในปี 1948 จากอังกฤษ แต่ประวัติการปกครองของประเทศนี้ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของทหารมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเหตุการณ์รัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ในปีนี้ ที่โค่นรัฐบาลของนาง ออง ซาน ซูจี ที่มาจากการเลือกตั้ง

และตามรายงานขององค์กร the Assistance Association for Political Prisoners ผู้ต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาได้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1,300 คน

XS
SM
MD
LG