ตั้งแต่การเกิดรัฐประหารในเมียนมาเมื่อ 2 ปีก่อน สหรัฐฯ เพิ่มแรงกดดันกองทัพภายใต้พลเอก มิน อ่อง หล่าย ส่วนหนึ่งคือการใช้มาตรการลงโทษที่พุ่งเป้าไปที่ด้านการเงิน อย่างไรก็ตามผู้นำกองทัพยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป และมีผู้เรียกร้องให้ช่วยเหลือประชาชนอย่างรวดเร็วขึ้น
ภายในเวลา 10 วันหลังจากเกิดรัฐประหาร รัฐบาลไบเดนออกคำสั่งฝ่ายบริหารในการออกมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ในกองทัพเมียนมา
และกฎหมายด้านกิจการกลาโหมที่ชื่อว่า National Defense Authorization Act ปีนี้ จะขยายไปถึงอำนาจภายใต้กฎหมายอเมริกันเรื่องเมียนมาด้วย
ส.ส.เกรกอรี มีคส์ จากพรรคเดโมแครตซึ่งเป็นผู้เสนอร่างกฎหมาย Burma Act เพื่อขยายขอบเขตดังกล่าวระบุว่า กฎหมายนี้ได้รับการสนับสนุนจากทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน
เขาระบุว่ากฎหมายนี้จะสามารถทำให้กองทัพเมียนมารับผลที่ตนกระทำไปได้ ด้วยมาตรการลงโทษที่เฉพาเจาะจง
ในช่วงตั้งแต่เกิดรัฐประหาร 2 ปีก่อนจนถึงเดือนที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุตัวบุคคล 74 ราย และองค์กรหรือหน่วยงานอีก 29 แห่ง ในการใช้มาตรการลงโทษ จากการที่พวกเขาสนับสนุนผู้นำเมียนมา ตลอดจนนักค้าอาวุธ และนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบอบการปกครองของเมียนมาในปัจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จริง ทหารเมียนมายังคงดำเนินการปราบปรามผู้ก่อต้านรัฐ และยังพยายามระดมทุนแม้ว่าจะถูกโดดเดี่ยวจากนานาชาติก็ตาม
อิริน เมอร์ฟีย์ นักวิเคราะห์จากศูนย์ Center for Strategic and International Studies กล่าวว่า หากไม่มีมาตรกาลงโทษจากนานาประเทศ สถานการณ์จะยิ่งเลวร้ายกว่านี้
เธอพูดถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการค้าอาวุธระหว่างเมียนมา เกาหลีเหนือ รัสเซียและเบลารุส และการค้ายาเสพติดอาจจะเพิ่มขึ้นด้วย เธอบอกว่าเมียนมาเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงอยู่แล้วและขณะนี้ ประเทศกำลังอยู่ “บนขอบของความล่มสลาย”
แม้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเมียนมาได้รับความช่วยเหลือในการต้านอำนาจของกองทัพ แต่แนวทางนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย
พริสซิลลา แคลป แห่งสถานบัน U.S. Institute of Peace กล่าวว่า เมื่อประเทศเพื่อนบ้านไม่เปิดทางให้เข้าถึงประเทศอื่น การนำความช่วยเหลือไปสู่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเมียนมาจึงเป็นเรื่องยาก ซึ่งถือเป็นสิ่งท้าทายการทำงานของรัฐบาลสหรัฐฯ
ที่ผ่านมามีผู้อพยพนับพันนับหมื่นคน รวมถึงผู้พลัดถิ่นที่อยู่อาศัย ที่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือแล้ว ตามข้อมูลของกลุ่ม Fortify Rights
จอห์น ควินลีย์ ที่สาม แห่งกลุ่มดังกล่าวบอกว่า รัฐบาลอเมริกันส่งความช่วยเหลือตามแนวชายแดน ในบังคลาเทศ ยังได้มีการเริ่มโครงการ ช่วยให้ที่พักต่อชาวโรฮิงญา จำนวนไม่มาก ก่อนที่จะให้พวกเขาเดินทางต่อมาอเมริกา
ผู้นำกองทัพเมียนมาสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งที่เสรีเละยุติธรรม แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อใด และ สาวิตา พอนเดย์ นักรณรงค์ผู้หนึ่ง เตือนว่าสหรัฐฯและประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ว่าไม่ควรให้ความชอบธรรมต่อรัฐบาลเนปิดอว์
นักเคลื่อนไหวผู้นี้กล่าวว่า ไม่ควรให้การสนับสนุนทางเทคนิค หรือส่งตัวแทนสอดส่องการเลือกตั้ง สิ่งที่เธอต้องการเห็นคือการกระจายความช่วยเหลือประชาชนพม่าผ่านเครือข่ายชุมชุน ให้รวดเร็วกว่าการเร่งใช้มาตรการลงโทษอุตสาหกรรมพลังงานเมียนมาโดยรัฐบาลต่างประเทศรวมถึงสหรัฐฯ
- ที่มา: วีโอเอ