ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยชี้ระดับ 'รังสีของดวงจันทร์' เป็นอันตรายต่อนักสำรวจอวกาศ 


FILE - This Dec. 24, 1968, file photo made available by NASA shows the Earth behind the surface of the moon during the Apollo 8 mission.
FILE - This Dec. 24, 1968, file photo made available by NASA shows the Earth behind the surface of the moon during the Apollo 8 mission.
Moon Radiation
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:04 0:00


การวัดระดับครั้งใหม่แสดงให้เห็นว่าระดับรังสีบนดวงจันทร์สูงกว่าที่สถานีอวกาศนานาชาติ 2-3 เท่า

การวัดระดับดังกล่าวนี้มีขึ้นโดยใช้เครื่องมือบนยานสำรวจดวงจันทร์ Chang’e-4 ของประเทศจีน ซึ่งร่อนลงแตะบนพื้นผิวของดวงจันทร์ฝั่งที่อยู่ห่างจากโลกของเราเมื่อเดือนมกราคมปีพ.ศ. 2562

นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันและชาวจีนที่ร่วมการทดลองนี้กล่าวว่า ยานสำรวจของจีนทำการวัดระดับรังสีบนพื้นผิวของดวงจันทร์แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นครั้งแรก การค้นพบนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Science Advances

ทั้งนี้ การศึกษานี้เกิดขึ้นในขณะที่สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ กำลังพัฒนาแผนการส่งนักบินอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ NASA มีเป้าหมายในการส่งนักอวกาศหญิงคนแรกและนักอวกาศชายคนต่อไปลงสำรวจบนดวงจันทร์ภายในปีพ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Artemis นอกจากนี้ยังต้องการตั้งฐานระยะยาวบนดวงจันทร์ภายในปีพ.ศ. 2571 อีกด้วย

อย่างไรก็ดี ปริมาณรังสีในอวกาศทำให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อสุขภาพของนักบินอวกาศในอนาคต โรคมะเร็งเป็นปัญหาหลักด้านสุขภาพ แต่การได้รับรังสีอาจทำให้เป็นโรคอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน

NASA ได้เตือนไว้แล้วว่าผู้เดินทางในอวกาศที่ใช้เวลานานๆ ในสถานที่อย่างเช่นดวงจันทร์หรือดาวอังคาร จะต้องเผชิญกับรังสีที่เป็นอันตรายในระดับสูง

ชั้นบรรยากาศของโลกและเกราะแม่เหล็กช่วยปกป้องมนุษย์จากระดับรังสีที่รุนแรงที่สุดในจักรวาล แต่นักบินอวกาศที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติจะได้รับรังสีในระดับที่สูงกว่าที่เราได้รับบนโลก

การศึกษาใหม่ชี้ให้เห็นว่าระดับรังสีบนดวงจันทร์จะสูงกว่าที่สถานีอวกาศนานาชาติ 2.6 เท่า ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่านักบินอวกาศบนดวงจันทร์จะได้รับรังสีมากกว่าที่เราได้รับบนโลกอยู่ประมาณ 200 เท่า

Robert Wimmer-Schweingruber นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Kiel ในเยอรมนี ซึ่งเป็นหัวหน้าการศึกษาวิจัยครั้งนี้กล่าวกับสำนักข่าว AFP ของฝรั่งเศสว่าการค้นพบนี้ทำให้ทีมของเขาสามารถคาดการณ์ได้ว่านักบินอวกาศจะสามารถอยู่บนดวงจันทร์ได้ประมาณสองเดือนภายใต้สภาวะการณ์ปัจจุบัน และว่ามนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้สามารถรับมือกับระดับรังสีเหล่านี้ได้ และนักบินอวกาศควรป้องกันตัวเองเมื่ออยู่บนดวงจันทร์

FILE - In this July 30, 1971 NASA photo, Apollo 15 Lunar Module Pilot James B. Irwin salutes while standing beside the fourth American flag planted on the moon. On March 26, 2019, Vice President Mike Pence called for landing astronauts on the moon within
FILE - In this July 30, 1971 NASA photo, Apollo 15 Lunar Module Pilot James B. Irwin salutes while standing beside the fourth American flag planted on the moon. On March 26, 2019, Vice President Mike Pence called for landing astronauts on the moon within

เขากล่าวเพิ่มเติมว่าระดับรังสีในทุกพื้นที่ของดวงจันทร์น่าจะมีระดับเท่าๆ กัน ยกเว้นบริเวณใกล้ๆ กับผนังของหลุมอุกกาบาตลึก หรือกล่าวโดยทั่วไปคือยิ่งเห็นท้องฟ้าน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

นักวิจัยแนะนำว่านักบินอวกาศสามารถสร้างที่พักพิงที่ทำจากดินบนดวงจันทร์ เพื่อปกป้องตัวเองหากต้องอยู่นานเกินกว่าสองถึงสามวัน และว่าผนังของที่พักพิงจะต้องมีความหนาอย่างน้อย 80 เซนติเมตร หากหนากว่านั้นอาจทำให้ดินปล่อยรังสีขั้นที่สองออกมา และรังสีดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเมื่อรังสีคอสมิกทำปฏิกิริยากับดินบนดวงจันทร์

NASA กล่าวว่าจะมีเครื่องตรวจจับรังสีและที่พักพิงที่ปลอดภัยสำหรับนักบินอวกาศทั้งหมดที่บินไปยังดวงจันทร์

Thomas Berger นักฟิสิกส์ของสถาบัน German Space Agency’s Medicine Institute ซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมทำการศึกษาในครั้งนี้กล่าวว่าในที่สุดวิธีการนี้ก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์มี "ชุดข้อมูล" ที่สามารถใช้ในการวัดระดับรังสีและศึกษาผลกระทบที่มีต่อมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

XS
SM
MD
LG