ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์การอนามัยโลกชี้ ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานไม่ได้นำโรคร้ายเข้าสู่ยุโรป


Sub-Saharan migrants aiming to cross to Europe take shelter in a forest overlooking the neighborhood of Masnana, on the outskirts of Tangier, Morocco, Sept. 5, 2018.
Sub-Saharan migrants aiming to cross to Europe take shelter in a forest overlooking the neighborhood of Masnana, on the outskirts of Tangier, Morocco, Sept. 5, 2018.

รายงานชิ้นใหม่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) โต้แย้งความเชื่อที่ว่าผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเป็นผู้นำโรคติดต่อต่างถิ่นมาสู่ภูมิภาคยุโรป

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:03 0:00

รายงานนี้ใช้หลักฐานจากเอกสารมากกว่า 13,000 ฉบับ ซึ่งให้ภาพเกี่ยวกับสุขภาพของบรรดาผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่มีจำนวนราว 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเกือบ 1 พันล้านคนใน 53 ประเทศในยุโรป

การสำรวจพบว่าบรรดาผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยโดยทั่วไปมีสุขภาพดี แต่เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ จึงมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยในระหว่างการเดินทาง หรือขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศที่อพยพไป แต่ความเสี่ยงที่คนเหล่านี้จะเป็นผู้แพร่เชื้อโรคติดต่อไปยังประชากรในประเทศที่อพยพเข้าไปอยู่นั้นต่ำมาก

Zsuzsanna Jakab ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคยุโรปขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่าการต้องพลัดพรากจากที่อยู่อาศัยทำให้ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น

Jakab กล่าวต่อไปว่าผู้ลี้ภัยและผู้อพยพมาอยู่ที่ยุโรปไม่ได้นำโรคแปลกๆ หรือโรคติดต่อที่แปลกประหลาดติดตัวมาด้วย แต่โรคที่พวกเขาเป็นนั้นล้วนมีอยู่แล้วในยุโรป นอกจากนี้ทางยุโรปยังมีแผนงานป้องกันและควบคุมโรคที่ดีมาก ซึ่งรวมทั้งวัณโรค และไวรัส HIV ที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ด้วย

ยุโรปเป็นเพียงแห่งเดียวในหกภูมิภาคของ WHO ที่มีเชื้อไวรัสเอชไอวีแพร่หลายและเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะทางด้านตะวันออก Jakab กล่าวว่าผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้นส่วนใหญ่ได้รับเชื้อหลังจากที่พวกเขามาถึงยุโรปแล้ว

รายงานพบว่าผู้ที่ย้ายถิ่นฐานเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะเป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติดต่อน้อยกว่าประชากรในท้องที่นั้นๆ แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อพวกเขาอาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ ในสภาพที่ยากจนค่นแค้นนานเท่าไร ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เส้นเลือดอุดตันในสมอง และโรคมะเร็งกลับเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พวกเขายังได้รับผลกระทบจากภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวลมากกว่าประชากรในพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย

องค์การอนามัยโลกชี้ว่าประเทศในยุโรปควรจัดให้มีการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและราคาไม่แพงสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพทุกคนโดยไม่คำนึงถึงสถานภาพของพวกเขา และการมีการประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงทุกคนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง และจะช่วยปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรทั้งที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามา และประชากรในท้องถิ่นด้วย

XS
SM
MD
LG