ลิ้งค์เชื่อมต่อ

งานวิจัยสองชิ้นล่าสุดศึกษาผลดีของเสียงดนตรีที่มีต่อผู้ป่วยอาการหนัก


โรงพยาบาลหลายแห่งในสหรัฐต่างใช้วิธีบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยแตกต่างกันไปหลายวิธีด้วยกัน นอกเหนือจากการใช้ยารักษาคนไข้แล้ว ยังมีการบำบัดด้วยการนวด การสะกดจิตและการใช้เสียงดนตรีเพื่อผ่อนคลาย

ด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki นักวิทยาศาสตร์อาวุโสประจำสถาบันการพยาบาลที่โรงพยาบาล Cleveland Clinic ในรัฐ Ohio อธิบายถึงถึงเรื่องนี้ว่ามีเหตุผลสองสามประการที่โรงพยาบาลหันไปใช้เสียงดนตรีในการบำบัดผู้ป่วย แต่เหตุผลแรกก็คือเสียงดนตรีมีราคาไม่แพงและเสียงดนตรีมีผลดีอย่างมากในการช่วยลดความเจ็บปวด

ด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki กล่าวว่าทางโรงพยาบาลได้ศึกษาค้นคว้าผลดีของเสียงดนตรีต่อผู้ป่วยมามากต่อมาก โดยเฉพาะ ด็อกเตอร์ Marian Good ที่ศึกษาวิจัยผลของเสียงดนตรีต่อความเจ็บปวดรุนแรงในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในช่องท้อง

ในการศึกษาของด็อกเตอร์ Good และในการวิจัยอื่นๆ ผู้ป่วยในการศึกษาได้ฟังเพลงที่ช่วยผ่อนคลาย อย่างเพลงนี้

ด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki กล่าวว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดช่องท้องต้องใช้ยาลดอาการปวดประเภทที่ทำจากฝิ่น และใช้ยาปริมาณลดลงหลังใช้เสียงดนตรีบำบัดประกอบด้วย
ด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki กล่าวว่าการรับประทานยาแก้ปวดลดลงเป็นผลดีเพราะยาแก้ปวดมักมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย

ด็อกเตอร์ซิดเลคกี้กล่าวว่าในผู้ป่วยบางคน แม้จะรับประทานยาแก้ปวดเพิ่มขึ้นแต่กลับไม่หายปวด ทำให้ไม่คุ้มค่ากับผลข้างเคียงของยาที่ได้รับ ในขณะที่ด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki ศึกษาอาการปวดรุนแรง ยังไม่มีใครศึกษาอาการปวดที่เรื้อรัง รักษาไม่หายขาด

ด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าผู้ป่วยที่ทรมานด้วยอาการเจ็บปวดเรื้อรังต่างรู้สึกว่าตนหมดปัญญาเพราะได้ลองกินยาแก้ปวดทุกชนิดแล้วจนไม่มีทางเลือกเหลืออยู่ แต่อาการปวดกลับไม่ดีขึ้น

ทางด้านด็อกเตอร์ Linda Chlan ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการกับอาการของโรค ที่ภาควิชาการพยาบาล มหาวิทยาลัย Ohio State University กล่าวว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความเจ็บปวดของผู้ป่วยแต่อยู่ที่ความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆระหว่างการรักษา

ด็อกเตอร์ Linda Chlan ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสังเกตุอาการของผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะหายใจเองไม่ได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

ด็อกเตอร์ Linda Chlan กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ทุเลาจากอาการป่วยดีขึ้นแม้ว่าจะได้รับยาเพิ่มขึ้นแล้วก็ตามเนื่องจากระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นนั่นเองทำให้อาการเจ็บปวดยิ่งกำเริบ เธอเห็นว่าการเพิ่มขนาดของยาแก้ปวดไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเพราะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายผู้ป่วยสูง

ด็อกเตอร์ Linda Chlan เริ่มทำการศึกษาเพื่อหาทางลดความเครียดของผู้ป่วยลงและเพื่อลดการใช้ยาแก้ปวดลงด้วย ด้วยการทดลองใช้เสียงดนตรีเปิดให้ผู้ป่วยฟัง เพื่อวิเคราะห์ดูว่าเสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองผ่อนคลายจะมีประโยชน์ในการช่วยลดอาการปวดและความเครียดได้หรือไม่ ในการศึกษา ด็อกเตอร์ไคลน์แบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นสามกลุ่ม

ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มแรก นางพยาบาลที่เฝ้าไข้จะคอยเตือนผู้ป่วยว่าพวกเขาสามารถเปิดฟังเสียงดนตรี ที่จัดเตรียมไว้ให้เป็นทางเลือกแก่ผู้ป่วยหากต้องการและยังติดป้ายไว้ใกล้ๆ กับเตียงผู้ป่วยที่เขียนว่า ผู้ป่วยควรฟังเสียงดนตรีวันละสองหน

ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มที่สอง ผู้ป่วยใช้หูฟังที่ช่วยกำจัดเสียงรบกวนแต่ไม่มีเสียงดนตรี ส่วนกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มที่สามได้รับการรักษาเเบบมาตราฐานทั่วไป

ด้านด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki ที่ทำการศึกษาผลดีของเสียงดนตรีต่อผู้ป่วยเช่นกัน ในการศึกษาของด็อกเตอร์ซิดเลคกี้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็นสามกลุ่ม กลุ่มเเรกเคยฟังเสียงดนตรีประกอบในการรักษามาเเล้วจากการวิจัยครั้งก่อน ส่วนผู้ป่วยกลุ่มที่สองสามารถเลือกฟังดนตรีประเภทใดก็ได้ที่ตนเองชอบ ส่วนผู้ป่วยกลุ่มสุดท้ายได้รับการรักษาแบบมาตราฐานทั่วไปโดยไม่มีการฟังดนตรีประกอบ และผลการศึกษาของหมอทั้งสองท่านแสดงให้เห็นผลดีของเสียงดนตรีต่อผู้ป่วย

ด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเมื่อประมวลดูภาพรวมทั้งหมดแล้ว กลุ่มผู้ป่วยที่ได้ฟังเสียงดนตรีระหว่างการรักษามีอาการดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเเข็งแรงของผู้ป่วย อาการปวด ความซึมเศร้า และความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ส่วนผลการศึกษาของด็อกเตอร์ Linda Chlan ที่วิเคราะห์ดูการลดปริมาณยาแก้ปวดและการลดขนาดของฤทธิ์ยาแก้ปวด ก็พบว่าผู้ป่วยที่ได้ฟังเสียงดนตรีประกอบการรักษา ได้ใช้ยาแก้ปวดน้อยลงและไม่ต้องเพิ่มขนาดของฤทธิ์ยาขึ้นด้วย
ด็อกเตอร์ Linda Chlan กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าจากการศึกษาพบว่าเสียงเพลงช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นในตัวผู้ป่วยลง ในขณะเดียวกันยังช่วยลดปริมาณและขนาดของฤทธิ์ืยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยได้รับในการรักษาอาการปวดลงไปพร้อมๆกันด้วย

แพทย์หญิงทั้งสองท่านที่ทำการศึกษาผลดีของเสียงเพลงชี้ว่าผู้ป่วยที่ได้ฟังเสียงดนตรี ต้องการยาแก้ปวดน้อยลง โดยปริมาณยาและขนาดของฤทธิ์ยาลดลงราว 36 % นอกจากนี้ ความเครียดในตัวผู้ป่วยก็ลดลงประมาณ 36.5 % ด้วย แพทย์หญิงทั้งสองท่านมีคำอธิบายคล้ายๆกันถึงผลดีของเสียงดนตรีต่อการรักษาผู้ป่วย

ด็อกเตอร์ Linda Chlan กล่าวว่าเสียงเพลงมีพลังหลายระดับแตกต่างกันไป เสียงเพลงที่สร้างความรื่นรมย์แก่จิตใจ ฟังเเล้วผ่อนคลาย จะช่วยให้สมองของคนเราลืมความคิดเครียดๆไปได้

ด้านด็อกเตอร์ Sandra Seidliecki กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหากคุณเพลิดเพลินกับการฟังเสียงดนตรี คุณจะลืมอย่างอื่นไปหมดทำให้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว

แพทย์หญิงทั้งสองต่างเห็นด้วยกับท่อนหนึ่งจากเพลงของบ้อบ มาร์ลี่ ที่ครวญว่า One good thing about music, when it hits you, you feel no pain”
XS
SM
MD
LG