การใช้เส้นทางคมนาคมในแม่น้ำโขงกลายเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือหลักระหว่างจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา
มูลค่าการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือไทยและจีน โดยเฉพาะที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายนั้น ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2547 เป็นต้น มามีตัวเลขประมาณ 300,000 ตันต่อปีหรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าตัวหากเทียบกับก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน และจีน
ส่วนหนึ่งของการที่ทำให้การค้าระหว่างไทย-จีนคล่องตัวและเติบโตมากขึ้นคือโครงการงด และลดการเก็บภาษีสินค้า หรือ Early Harvest Program ระหว่างไทยและจีน โดยเฉพาะการงดเว้นการจัดเก็บค่าพิกัดศุลกากรสินค้าเกษตรกว่า 100 ชนิด จนทำให้สินค้าเกษตรจากจีนทะลักเข้ามายังประเทศไทยอย่างมหาศาล
ผู้สื่อข่าววีโอเอ สัมภาษณ์ คุณสอางค์ แม่ค้าขายผลไม้ ในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเธอบอกว่าราคาสินค้าเกษตรจากจีนถูกกว่าสินค้าไทยมากและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้
กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าและเกษตรกรในท้องถิ่นจำนวนมากเชื่อว่าการงดการจัดเก็บภาษีศุลกากรนั้นส่งผลในทางไม่ดีต่อผู้ประกอบการชาวไทย ขณะเดียวกัน กลับเป็นฝ่ายจีนเสียเองที่สร้างเงื่อนไขและความเข้มงวดกับสินค้าที่ส่งโดยผู้ส่งออกชาวไทย
คุณสายัณห์ ข้ามหนึ่ง จากเจ้าหน้าที่จากองค์กรแม่น้ำเพื่อชีวิตที่ศึกษาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงต่อวิถีชีวิตชุมชน บอกว่าจีนเป็นผู้กำหนดความเป็นไปเกือบทุกอย่างในแม่น้ำโขงไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อน หรือ เรือสินค้าที่เป็นสัญชาติจีนทั้งหมด โดยที่ไม่มีเรือของไทยเลยแม้แต่ลำเดียว
ด้านคุณวีระ จินนิกร ผู้จัดการท่าเรือเชียงแสน ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววีโอเอ ว่าการค้าระหว่างจีนและไทยจะยังคงเพิ่มมากขึ้นต่อไป จากการก่อสร้างท่าเรือสินค้าแห่งใหม่ที่จะรองรับการค้าได้มากขึ้น
แม้ทุกวันนี้ตลาดขายของที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เต็มไปด้วยสินค้าราคาถูกจากจีนที่ทะลักส่งเข้ามาขาย แต่คุณสอางค์ แม่ค้าขายผลไม้ ชาวเชียงแสนก็ยังเชื่อมั่นในคุณภาพของพืชผักผลไม้ในท้องถิ่นที่มีความสด สะอาดมากกว่าสินค้าที่ส่งมาจากจีนที่ต้องเสียเวลาขนส่งมาหลายวันและส่วนใหญ่จะมีปลายทางส่งต่อไปที่กรุงเทพฯ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นทางเลือกของแม่ค้าท้องถิ่นในอำเภอเชียงแสนที่ในวันนี้ยังพอจะหาทางออกที่จะขายของได้บ้าง แต่ไม่มีหลักประกันในอนาคตว่าหากสินค้าราคาถูกจากจีนทะลักเข้ามามากขึ้น บางทีวันหนึ่งข้างหน้าก็อาจจะไม่มีที่ว่างมากพอสำหรับพืชผักผลไม้ที่ของเกษตรกรในท้องถิ่นในเมืองไทยก็เป็นได้
มูลค่าการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือไทยและจีน โดยเฉพาะที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายนั้น ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2547 เป็นต้น มามีตัวเลขประมาณ 300,000 ตันต่อปีหรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าตัวหากเทียบกับก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน และจีน
ส่วนหนึ่งของการที่ทำให้การค้าระหว่างไทย-จีนคล่องตัวและเติบโตมากขึ้นคือโครงการงด และลดการเก็บภาษีสินค้า หรือ Early Harvest Program ระหว่างไทยและจีน โดยเฉพาะการงดเว้นการจัดเก็บค่าพิกัดศุลกากรสินค้าเกษตรกว่า 100 ชนิด จนทำให้สินค้าเกษตรจากจีนทะลักเข้ามายังประเทศไทยอย่างมหาศาล
ผู้สื่อข่าววีโอเอ สัมภาษณ์ คุณสอางค์ แม่ค้าขายผลไม้ ในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเธอบอกว่าราคาสินค้าเกษตรจากจีนถูกกว่าสินค้าไทยมากและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้
กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าและเกษตรกรในท้องถิ่นจำนวนมากเชื่อว่าการงดการจัดเก็บภาษีศุลกากรนั้นส่งผลในทางไม่ดีต่อผู้ประกอบการชาวไทย ขณะเดียวกัน กลับเป็นฝ่ายจีนเสียเองที่สร้างเงื่อนไขและความเข้มงวดกับสินค้าที่ส่งโดยผู้ส่งออกชาวไทย
คุณสายัณห์ ข้ามหนึ่ง จากเจ้าหน้าที่จากองค์กรแม่น้ำเพื่อชีวิตที่ศึกษาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงต่อวิถีชีวิตชุมชน บอกว่าจีนเป็นผู้กำหนดความเป็นไปเกือบทุกอย่างในแม่น้ำโขงไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อน หรือ เรือสินค้าที่เป็นสัญชาติจีนทั้งหมด โดยที่ไม่มีเรือของไทยเลยแม้แต่ลำเดียว
ด้านคุณวีระ จินนิกร ผู้จัดการท่าเรือเชียงแสน ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าววีโอเอ ว่าการค้าระหว่างจีนและไทยจะยังคงเพิ่มมากขึ้นต่อไป จากการก่อสร้างท่าเรือสินค้าแห่งใหม่ที่จะรองรับการค้าได้มากขึ้น
แม้ทุกวันนี้ตลาดขายของที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เต็มไปด้วยสินค้าราคาถูกจากจีนที่ทะลักส่งเข้ามาขาย แต่คุณสอางค์ แม่ค้าขายผลไม้ ชาวเชียงแสนก็ยังเชื่อมั่นในคุณภาพของพืชผักผลไม้ในท้องถิ่นที่มีความสด สะอาดมากกว่าสินค้าที่ส่งมาจากจีนที่ต้องเสียเวลาขนส่งมาหลายวันและส่วนใหญ่จะมีปลายทางส่งต่อไปที่กรุงเทพฯ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นทางเลือกของแม่ค้าท้องถิ่นในอำเภอเชียงแสนที่ในวันนี้ยังพอจะหาทางออกที่จะขายของได้บ้าง แต่ไม่มีหลักประกันในอนาคตว่าหากสินค้าราคาถูกจากจีนทะลักเข้ามามากขึ้น บางทีวันหนึ่งข้างหน้าก็อาจจะไม่มีที่ว่างมากพอสำหรับพืชผักผลไม้ที่ของเกษตรกรในท้องถิ่นในเมืองไทยก็เป็นได้