ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'คอมพิวเตอร์วัตสัน' ของไอบีเอ็ม กับความหวังวินิจฉัยโรคหายากผ่านระบบประมวลผลอัจฉริยะ


IBM’s Supercomputer Watson to Study Rare Diseases
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:22 0:00

IBM’s Supercomputer Watson to Study Rare Diseases

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:01 0:00

ในปี ค.ศ. 2008 ทีมนักวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มสามารถคิดค้นระบบคอมพิวเตอร์ที่ลอกเลียนการคิดอ่านของมนุษย์ได้สำเร็จ โดยสามารถเข้าใจคำถามที่เป็นเสียงพูดได้

และต่อมาในปี ค.ศ. 2010 ระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะวัตสันสามารถเอาชนะผู้เเข่งขันมนุษย์ในเกมส์ตอบคำถามยอดนิยม Jeopardy ได้สำเร็จ

แต่เทคโนโลยีอัจฉริยะวัตสันนี้ยังพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้จุดประสงค์อื่นๆ อีกด้วย

ด็อกเตอร์ Jurgen Schafer ผู้เชี่ยวชาญโรคหายากที่ University Hospital ในเมือง Marburg ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า คาดหวังว่าภายในปี ค.ศ. 2020 ความรู้ทางการเเพทย์จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกๆ สามเดือน จึงจำเป็นต้องมีซอฟเเวร์คอมพิวเตอร์ที่สามารถรับมือกับข้อมูลทางการเเพทย์ใหม่ๆ ปริมาณมหาศาลนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์โรคที่วินิจฉัยไม่ได้และโรคหายากที่ University Hospital ในเมือง Marburg ประเทศเยอรมนี ต้องรับมือกับโรคหายากมากกว่าแปดพันชนิด โรคส่วนมากเกี่ยวข้องกับการกลายพันธุ์ของพันธุกรรม

คนเรามียีนประมาณสองหมื่นยีน ดังนั้นการมีความสามารถในการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจีโนมทั้งหมดของคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว เทียบกับประวัติของคนไข้ ผลการตรวจเลือดกับสารคัดหลั่ง ตลอดจนข้อมูลทางการรักษาพยาบาล จึงเป็นงานที่ระบบคอมพิวเตอร์วัตสันรับมือได้อย่างสบาย

ด็อกเตอร์ Tobias Muller แห่ง University Hospital กล่าวว่า ทางศูนย์หวังว่าเทคโนโลยีวัตสันจะช่วยให้สามารถรวบรวบข้อมูลที่จำเป็นและอาการป่วยหลักๆ จากประวัติของคนไข้ และระบบจะช่วยระบุอาการป่วยหลักๆ และระบุว่าผลการวินิจฉัยใดที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ท้ายสุดทีมงานหวังว่า ระบบคอมพิวเตอร์วัตสันจะช่วยสร้างรายการผลการวินิจฉัยโรคที่แตกต่างกันออกมาหนึ่งรายการ โดยตั้งอยู่บนผลของการวิเคราะห์เหล่านี้

ในโครงการศึกษานำร่องนานหนึ่งปี ทีมนักวิศวกรจาก IBM กับทีมนักวิทยาศาสตร์จากโรงพยาบาลที่เมือง Marburg วางแผนที่จะพัฒนาระบบฐานข้อมูลใน cloud ที่จะช่วยแพทย์ในทั่วโลกเข้าใจและวินิจฉัยโรคหายาก ที่แพทย์จำนวนมากอาจจะไม่เคยพบเห็นมาก่อนได้

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG