เชื้อวัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียที่บำบัดยากมาก ต่างจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น แม้ว่าจะมียาปฏิชีวนะออกมาใช้นานห้าสิบปีแล้ว ผู้ป่วยวัณโรคยังต้องใช้แผนการรักษาด้วยยาหลายๆตัวรวมกันนานถึงหกเดือน
นี่ทำให้ทีมนักวิจัยอเมริกันสรุปว่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เิกิดอาการอักเสบรุนแรงในปอดน่าจะแอบซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ ทำให้ทั้งยาปฏิชีวนะและระบบภูมิคุ้มกันร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคนี้ได้
นักวิจัยชี้ว่าจุดที่เชื้อวัณโรคซ่อนตัวอยู่คือ ไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำบรรจุเซลล์ตั้งต้นที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ไขกระดูกมีระบบป้องกันในตัวเองที่ไม่ให้สารเคมีแปลกปลอมใดๆเข้าไปได้ข้างในได้ รวมทั้งยาปฏิชีวนะ
แอนโตนีโอ้ แคมป์โอส นีโต้ ผู้อำนวยการศูนย์ Forsyth Center for Global Infectious Diseases ในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซ็ทส์ เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยที่ภาควิชาแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยแสตนด์ฟอร์ดในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทีมงานทำการศึกษาทดลองแบบหลอดแก้ว เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นหากผสมเซลล์จากไขกระดูกกับเชื้อวัณโรค
หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการทดลองในหลอดแก้วแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตัวเชื้อแบคทีเรียวัณโรคเข้าไปอยู่ในเซลล์ตั้งต้นในไขกระดูกอย่างง่ายดาย
คุณแคมป์โอส นีโต้ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า การค้นพบนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมโรคปอดชนิดนี้จึงคงอยู่ในร่างกายคนได้ในสองลักษณะ อย่างแรกคือวัณโรคระยะฝังตัวที่ผู้ติดเชื้อมีเชื้ออยู่ในร่างกายนานนักสิบปีโดยไม่แสดงอาการป่วยและวัณโรคระยะออกอาการรุนแรงทำให้ผู้ป่วยป่วยหนักและหากไม่รักษาจะเสียชีวิตได้ การค้นพบนี้มีผลต่อการบำบัดวัณโรคและช่วยอธิบายได้ว่าทำไมยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลในการรักษาในผู้ป่วยทุกคนเสมอไป
หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยวัณโรคหลายคนที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว อาจจะกลับไปเป็นวัณโรคอีก และเท่าที่ผ่านมาวงการแพทย์ไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าทำไมการบำบัดวัณโรคให้หายขาดจึงทำได้ยากมาก เขากล่าวว่ามาถึงตอนนี้ผลการศึกษานี้ค้นพบความลับเเล้วว่าเชื้อวัณโรครักษายากเพราะเข้าไปแอบซ่อนตัวในไขกระดูก จุดที่ยาบำบัดเข้าไปไม่ถึง
ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่ามีคนสองพันสองร้อยล้านคนทั่วโลกที่ติดเชื้อวัณโรคแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ และหากเชื้อวัณโรคเข้าสู่ขั้นก่อให้เกิดโรค จะทำให้คนเสียชีวิตปีละหนึ่งล้านเจ็ดแสนคน
คุณแคมป์โอส นีโต้ หัวหน้าทีมวิจัยอเมริกันกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอที่กรุงวอชิงตันว่านักวิจัยจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อที่ซับซ้อนชนิดนี้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาวิธีตรวจหาวัณโรคและวิธีบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นี่ทำให้ทีมนักวิจัยอเมริกันสรุปว่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เิกิดอาการอักเสบรุนแรงในปอดน่าจะแอบซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ ทำให้ทั้งยาปฏิชีวนะและระบบภูมิคุ้มกันร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคนี้ได้
นักวิจัยชี้ว่าจุดที่เชื้อวัณโรคซ่อนตัวอยู่คือ ไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำบรรจุเซลล์ตั้งต้นที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ไขกระดูกมีระบบป้องกันในตัวเองที่ไม่ให้สารเคมีแปลกปลอมใดๆเข้าไปได้ข้างในได้ รวมทั้งยาปฏิชีวนะ
แอนโตนีโอ้ แคมป์โอส นีโต้ ผู้อำนวยการศูนย์ Forsyth Center for Global Infectious Diseases ในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซ็ทส์ เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยที่ภาควิชาแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยแสตนด์ฟอร์ดในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทีมงานทำการศึกษาทดลองแบบหลอดแก้ว เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นหากผสมเซลล์จากไขกระดูกกับเชื้อวัณโรค
หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการทดลองในหลอดแก้วแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตัวเชื้อแบคทีเรียวัณโรคเข้าไปอยู่ในเซลล์ตั้งต้นในไขกระดูกอย่างง่ายดาย
คุณแคมป์โอส นีโต้ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า การค้นพบนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมโรคปอดชนิดนี้จึงคงอยู่ในร่างกายคนได้ในสองลักษณะ อย่างแรกคือวัณโรคระยะฝังตัวที่ผู้ติดเชื้อมีเชื้ออยู่ในร่างกายนานนักสิบปีโดยไม่แสดงอาการป่วยและวัณโรคระยะออกอาการรุนแรงทำให้ผู้ป่วยป่วยหนักและหากไม่รักษาจะเสียชีวิตได้ การค้นพบนี้มีผลต่อการบำบัดวัณโรคและช่วยอธิบายได้ว่าทำไมยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลในการรักษาในผู้ป่วยทุกคนเสมอไป
หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยวัณโรคหลายคนที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว อาจจะกลับไปเป็นวัณโรคอีก และเท่าที่ผ่านมาวงการแพทย์ไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าทำไมการบำบัดวัณโรคให้หายขาดจึงทำได้ยากมาก เขากล่าวว่ามาถึงตอนนี้ผลการศึกษานี้ค้นพบความลับเเล้วว่าเชื้อวัณโรครักษายากเพราะเข้าไปแอบซ่อนตัวในไขกระดูก จุดที่ยาบำบัดเข้าไปไม่ถึง
ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่ามีคนสองพันสองร้อยล้านคนทั่วโลกที่ติดเชื้อวัณโรคแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ และหากเชื้อวัณโรคเข้าสู่ขั้นก่อให้เกิดโรค จะทำให้คนเสียชีวิตปีละหนึ่งล้านเจ็ดแสนคน
คุณแคมป์โอส นีโต้ หัวหน้าทีมวิจัยอเมริกันกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอที่กรุงวอชิงตันว่านักวิจัยจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อที่ซับซ้อนชนิดนี้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาวิธีตรวจหาวัณโรคและวิธีบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น