ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ลาวเดินหน้าแผนสร้างเขื่อนอีก 4 แห่ง ช่วงฤดูแล้ง


A local villager drive a boat where the future site of the Luang Prabang dam will be on the Mekong River, outskirt of Luang Prabang province, Laos, February 5, 2020. REUTERS/Panu Wongcha-um
A local villager drive a boat where the future site of the Luang Prabang dam will be on the Mekong River, outskirt of Luang Prabang province, Laos, February 5, 2020. REUTERS/Panu Wongcha-um
Lao Mekong Dam
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:50 0:00


เป็นเวลาเกือบ 2 ทศวรรษแล้วที่นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเตือนว่า โครงการสร้างเขื่อนที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วางแผนสร้างในแม่น้ำโขงนั้นจะนำมาซึ่งผลกระทบหนักต่อประชากรปลาในลำน้ำสำคัญนี้ และเพิ่มความเสี่ยงที่รุนแรงต่อต่อโลมาอิรวดีที่ใกล้สูญพันธุ์ ในระดับที่ไม่อาจจะแก้ไขได้หากเกิดขึ้นจริง รวมทั้งอาจทำให้ประเทศนี้ตกอยู่ในภาวะล้มละลายได้

เมื่อไม่นานมานี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ สีนาวา สุพานุวง แห่งสปป.ลาว เปิดเผยว่า รัฐบาลกรุงเวียงจันทน์ตั้งเป้าจะสร้างเขื่อนจำนวน 100 แห่งทั่วประเทศภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่จะมาเสริมเขื่อนจำนวน 78 แห่งที่ใช้งานอยู่และมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกันที่ 9,972 เมกะวัตต์

ทางการ สปป.ลาว เชื่อมั่นว่า การสร้างเขื่อนเพิ่มมากมายนี้จะช่วยให้ประเทศมีความสามารถผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ จากทรัพยากรน้ำจากจีนที่อยู่ตอนเหนือของประเทศ ไปจนถึงกัมพูชาซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ จนทำให้ลาวก้าวขึ้นมาเป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” ได้ในที่สุด

A general view of the future site of the Luang Prabang dam is seen on the Mekong River
A general view of the future site of the Luang Prabang dam is seen on the Mekong River

ในบรรดาโครงการเขื่อนทั้งหมดที่ลาววางแผนสร้างนั้น มีอยู่ 4 แห่งที่ทำให้เกิดประเด็นโต้แย้งหนักมาก และตั้งต้นที่บริเวณปากแบง ทางตอนเหนือของแม่น้ำโขง และเลาะลำน้ำผ่านนครหลวงพระบาง เมืองปากเลย์ และเมืองสานะคาม ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศ ขณะที่ทางการลาวมีแผนจะขายพลังงานไฟฟ้าจากโครงการเหล่านี้ให้กับประเทศไทย หลังจากเปิดตัวเขื่อนไซยะบุรี ไปก่อนหน้านี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม รมต.สีนาวา ยังต้องทำงานอย่างหนักเพื่อพยายามอธิบายและทำให้บรรดาผู้ที่วิจารณ์โครงการเหล่านี้เปลี่ยนใจ

บทบรรณาธิการในเว็บไซต์ ASEAN Today บทหนึ่ง ได้กล่าวหาทางการลาวว่า พยายามปั้นแต่งรายงานผลกระทบของโครงการเขื่อนสานะคาม โดยระบุว่า รายงานที่คณะกรรมาธิการลำน้ำโขง ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างหน่วยงานรัฐบาลและมีหน้าที่ประสานงานการจัดการแม่น้ำสายนี้นำส่ง เป็นการทำสำเนารายงานการประเมินของโครงการเขื่อนปากเลย์ ซึ่งก็เป็นรายงานที่คัดลอกมาจากรายงานของโครงการปากแบงเช่นกัน

ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยซึ่งสนับสนุนโครงการสร้างเขื่อนของลาวมานานและทำเพิกเฉยต่อคำร้องเตือนจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และชาวประมงมาโดยตลอด กลับเริ่มมีท่าทีลังเลต่อจุดยืนของตน

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ออกมาเตือนว่า ลาวสรุปความเอาเองว่าจะสามารถทำการขายพลังงานไฟฟ้าได้ พร้อมย้ำว่า ทั้งสองประเทศยังไม่ได้ตกลงรายละเอียดการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจากโครงการสานะคามเลย และกระทรวงพลังงานของไทยยังคงถกและพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่า โครงการนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทย กัมพูชา และพื้นที่ทางภาคใต้ของเวียดนาม ที่อยู่ปลายน้ำของลำน้ำโขง ต้องประสบปัญหาภาวะแล้งหนัก ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนราว 70 ล้านคนอย่างมาก

ข้อมูลจากคณะกรรมาธิการลำน้ำโขงระบุว่า นับตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ปริมาณฝนในภูมิภาคนี้ลดลงไปราว 1 ใน 4 จากปีที่แล้ว และกว่า 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2018 และศูนย์ Stimson Center ในสหรัฐฯ ได้กล่าวหา ลาวและจีนว่าทำการกักเก็บน้ำผ่านเขื่อนทั้งหลายไว้ จนทำให้ชาวประมงที่เดือดร้อนต้องออกมาร้องเรียนว่า จำนวนปลาในแม่น้ำได้หดหายไปอย่างรวดเร็ว และปริมาณตะกอนที่ช่วยพยุงตลิ่งได้ลดลงไปอย่างมากจนกลายมาเป็นความเสี่ยงของอาคารต่างๆ ที่ตั้งอยู่ทั้งสองฝั่ง ขณะที่เวียดนามร้องเรียนว่า น้ำเค็มเริ่มรุกคืบเข้ามาในแม่น้ำโขงแล้วด้วย

ในอีกมุมหนึ่ง ต้นทุนรวมการก่อสร้างเขื่อนทั้ง 5 แห่งที่กล่าวมาข้างต้นในระดับราว 12,500 ล้านดอลลาร์ คือจำนวนเงินที่สูงอย่างมาก เมื่อเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของลาวที่ 18,000 ล้านดอลลาร์ และเป็นภาระที่หนักอึ้งเนื่องจากงบส่วนใหญ่นั้นได้มาจากการกู้เงินจากธนาคารที่จีนเป็นเจ้าของ

เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว ภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นทำให้ลาวต้องยอมยกสิทธิ์การจัดการพลังงานไฟฟ้าของตนให้กับบริษัท China Southern Power Grid ของจีน ไปแล้ว

มาร์คุส ฮาร์ดเก ทนายความด้านสิ่งแวดล้อมจากเยอรมนีที่ติดตามประเด็นในลำน้ำโขงมานาน 2 ทศวรรษ ให้ความเห็นว่า สิ่งที่หลายคนลืมคิดไปคือ โครงการสร้างเขื่อนในแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลกนี้ คือประเด็นธุรกิจเพื่อทำเงินล้วนๆ

นอกจากนั้น ประเด็นเรื่องความปลอดภัยของโครงการต่างๆ ยังกลายมาเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกในการประชุมพิเศษที่เมืองปากเซ สปป.ลาว ที่คณะกรรมาธิการลำน้ำโขงเป็นผู้จัด และมีเสียงเรียกร้องจากเจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้ร่วมพัฒนาโครงการมากมาย ให้มีการประเมินโครงการทั้งหมดกันใหม่ หรืออย่างน้อย ให้มีการทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีก เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการปันน้ำออกมาใช้ได้ทันเมื่อเกิดภาวะแล้ง

Laos Dam Collapse
Laos Dam Collapse

การประชุมรอบดังกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้ว จัดขึ้นหลังเกิดเหตุเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ทางภาคใต้ของลาวแตก เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.2018 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 71 คน และมีผู้สูญหายอีกกว่า 7,100 คน

รมต.สีนาวา ยืนยันว่า เหตุดังกล่าวเป็น “บทเรียนครั้งใหญ่สำหรับลาว และทำให้รัฐบาลต้องทำการทบทวนมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำเพื่อป้องกันการสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินในอนาคต”

แต่ มาร์คุส ฮาร์ดเก ทนายความด้านสิ่งแวดล้อมจากเยอรมนี แสดงความกังขาต่อจุดยืนดังกล่าวของลาว ด้วยเหตุผลว่า รัฐบาลกรุงเวียงจันทน์ทำหูทวนลมเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัย ปริมาณปลา และผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโครงการสร้างเขื่อนทั้งหลายมาเกือบ 20 ปีแล้ว พร้อมย้ำว่า เหตุเขื่อนแตกที่เกิดขึ้น คือตัวอย่างง่ายๆ ของคุณภาพการก่อสร้างที่ต่ำ และการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้งมาตรการดูแลรักษาที่แย่ ซึ่งล้วนชี้ให้เห็นว่า เรื่องทั้งหมดเป็นประเด็นการทำธุรกิจหาเงินเท่านั้น ไม่ใช่ความใส่ใจในเรื่องผลกระทบหรือความยั่งยืนใดๆ แม้แต่น้อย

XS
SM
MD
LG