ปลาไหลตัวยาวเป็นมันเลื่อมที่ฟาร์มปลาไหลในเมือง Gochang เกาหลีใต้ ส่วนใหญ่จะจุดหมายอยู่ที่ห้องครัวตามร้านอาหารหรือบ้านเรือนต่างๆทั่วแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นตลาดใหญ่
เนื้อปลาไหลนั้นเป็นเนื้อที่อุดมไปด้วยวิตามิน แคลเซียมและโปรตีน ไม่ว่าจะทานแบบดิบๆหรือแบบผ่านการปรุงแล้ว จัดเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่คนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับความอ่อนเพลียและเพิ่มกำลังวังชา
สายพันธุ์ปลาไหลซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชาวเอเชียนั้นเรียกว่า Anguilla Japonica ซึ่งเป็นพันธุ์ของญี่ปุ่น ตัวอ่อนของปลาไหลพันธ์นี้อพยพมาจากทะเลฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะแทรกตัวไปตามลำน้ำต่างๆทั่วจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และเกษตรกรในแถบนั้นจะจับตัวอ่อนปลาไหลมาเพาะเลี้ยงในฟาร์มก่อนที่นำไปขายในตลาดต่อไป
คุณ Hiroshi Suzuki เจ้าของเครือข่ายร้านอาหารในญี่ปุ่น Hitsumabushi Eel ที่มีชื่อเสียงเรื่องเมนูปลาไหล บอกว่าปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นนี้รสชาดดีที่สุดอย่างที่พันธุ์จากประเทศอื่นทดแทนไม่ได้ คุณ Suzuki ระบุว่าพันธุ์จากยุโรปหรือฝรั่งเศสนั้นมีไขมันมากเกินไปซึ่งไม่เข้ากับซอสแบบพิเศษสไตล์ญี่ปุ่น ส่วนพันธุ์จากอเมริกาเหนือนั้นผอมเกินไปทำให้ย่างแล้วไหม้เกรียม
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญคือปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนลดลงอย่างน่าใจหาย และการเพาะเลี้ยงในฟาร์มสัตว์น้ำก็ไม่ช่วยอะไรได้มากนัก เนื่องจากปลาไหลสามารถวางไข่ได้เพียงครั้งเดียวตลอดช่วงชีวิต
คุณ Lee Jae-jung จากบริษัทการประมง Gochang ผู้คลุกคลีกับปลาไหลมานานเกือบ 30 ปี บอกว่าจำนวนปลาไหลที่ลดลงทำให้ราคาปลาไหลในตลาดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้บริโภคปลาไหลลดลงเช่นกันเพราะสาราคาไม่ไหว ส่งผลให้มีร้านอาหารที่เน้นขายเมนูปลาไหลต้องปิดตัวลงจำนวนมาก
คุณ Hiroshi Suzuki เจ้าของร้านอาหาร Hitsumabushi Eel ยอมรับว่าร้านมีลูกค้าลดลงจริง แต่ตนก็ยังต้องการให้รัฐบาลเข้มงวดกับการซื้อขายปลาไหล เพราะหากปลาไหลราคาถูกลง ตนก็จะมีคู่แข่งมาแย่งซื้อมากขึ้นทั้งที่จำนวนปลาไหลในตลาดมีอยู่อย่างจำกัด
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแสดงความกังวลต่อการที่ปลาไหลมีจำนวนลดลง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการควบคุมการจับปลาไหลในธรรมชาติ ก่อนที่สัตว์น้ำชนิดนี้จะสูญพันธุ์
เนื้อปลาไหลนั้นเป็นเนื้อที่อุดมไปด้วยวิตามิน แคลเซียมและโปรตีน ไม่ว่าจะทานแบบดิบๆหรือแบบผ่านการปรุงแล้ว จัดเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่คนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับความอ่อนเพลียและเพิ่มกำลังวังชา
สายพันธุ์ปลาไหลซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชาวเอเชียนั้นเรียกว่า Anguilla Japonica ซึ่งเป็นพันธุ์ของญี่ปุ่น ตัวอ่อนของปลาไหลพันธ์นี้อพยพมาจากทะเลฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะแทรกตัวไปตามลำน้ำต่างๆทั่วจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และเกษตรกรในแถบนั้นจะจับตัวอ่อนปลาไหลมาเพาะเลี้ยงในฟาร์มก่อนที่นำไปขายในตลาดต่อไป
คุณ Hiroshi Suzuki เจ้าของเครือข่ายร้านอาหารในญี่ปุ่น Hitsumabushi Eel ที่มีชื่อเสียงเรื่องเมนูปลาไหล บอกว่าปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นนี้รสชาดดีที่สุดอย่างที่พันธุ์จากประเทศอื่นทดแทนไม่ได้ คุณ Suzuki ระบุว่าพันธุ์จากยุโรปหรือฝรั่งเศสนั้นมีไขมันมากเกินไปซึ่งไม่เข้ากับซอสแบบพิเศษสไตล์ญี่ปุ่น ส่วนพันธุ์จากอเมริกาเหนือนั้นผอมเกินไปทำให้ย่างแล้วไหม้เกรียม
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญคือปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนลดลงอย่างน่าใจหาย และการเพาะเลี้ยงในฟาร์มสัตว์น้ำก็ไม่ช่วยอะไรได้มากนัก เนื่องจากปลาไหลสามารถวางไข่ได้เพียงครั้งเดียวตลอดช่วงชีวิต
คุณ Lee Jae-jung จากบริษัทการประมง Gochang ผู้คลุกคลีกับปลาไหลมานานเกือบ 30 ปี บอกว่าจำนวนปลาไหลที่ลดลงทำให้ราคาปลาไหลในตลาดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้บริโภคปลาไหลลดลงเช่นกันเพราะสาราคาไม่ไหว ส่งผลให้มีร้านอาหารที่เน้นขายเมนูปลาไหลต้องปิดตัวลงจำนวนมาก
คุณ Hiroshi Suzuki เจ้าของร้านอาหาร Hitsumabushi Eel ยอมรับว่าร้านมีลูกค้าลดลงจริง แต่ตนก็ยังต้องการให้รัฐบาลเข้มงวดกับการซื้อขายปลาไหล เพราะหากปลาไหลราคาถูกลง ตนก็จะมีคู่แข่งมาแย่งซื้อมากขึ้นทั้งที่จำนวนปลาไหลในตลาดมีอยู่อย่างจำกัด
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแสดงความกังวลต่อการที่ปลาไหลมีจำนวนลดลง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการควบคุมการจับปลาไหลในธรรมชาติ ก่อนที่สัตว์น้ำชนิดนี้จะสูญพันธุ์