ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เทียบคลังแสง ‘อิสราเอล-อิหร่าน’ พิกัดตึงเครียดใหม่ตะวันออกกลาง


Israel and Iran flags, on texture with radiation symbol, partial graphic
Israel and Iran flags, on texture with radiation symbol, partial graphic

การโจมตีโดยตรงต่ออิสราเอลของอิหร่าน เมื่อวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา ได้ทำให้ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงความสนใจมาที่การส่องคลังแสงและศักยภาพทางการป้องกันตนเองทางอากาศของรัฐบาลกรุงเตหะรานและรัฐบาลเทลอาวีฟ เพื่อพิจารณาถึงแนวทางในการตอบโต้ระหว่างกัน ท่ามกลางความกังวลว่าสงครามจะขยายวงกว้างไปทั่วตะวันออกกลาง

รอยเตอร์ รวบรวมคลังแสงทั้งระบบป้องกันตนเองทางอากาศและพลกองทัพอากาศของทั้งสองประเทศมาเปรียบเทียบให้เห็นกันชัด ๆ

อิหร่าน

  • เครื่องบินรบ: F-4, F-5, F7, F14, Sukhoi-24 และ MiG-29,
  • โดรน: โดรนติดระเบิดและหัวรบ
  • ขีปนาวุธ: S-300 และ Bavar-373
  • ระบบป้องกันตนเองทางอากาศ: Sayyad และ Raad

กองทัพอากาศอิหร่าน เผชิญมาตรการคว่ำบาตรจากนานาชาติในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้ตัดช่องทางการเข้าถึงยุทโธปกรณ์การทหารอันทันสมัยของรัฐบาลเตหะราน อ้างอิงจาก International Institute for Strategic Studies (IISS) ในกรุงลอนดอน

กองทัพอากาศอิหร่านมีเครื่องบินรบเพียงหยิบมือจากรัสเซียและสหรัฐฯ ตั้งแต่สมัยปฏิวัติอิหร่าน อาทิ ฝูงบินขับไล่ F-4 และ F-5 จำนวน 9 ลำ เครื่องบินขับไล่ Sukhoi-24 รวมทั้งเครื่องบิน MiG-29 เครื่องบิน F7 และ F14

นอกจากนี้ อิหร่านยังมีโดรนจู่โจมและระเบิด ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่ามีในระดับไม่กี่พันลำ ที่สามารถบรรทุกหัวรบน้ำหนักราวครึ่งตันได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนของอากาศยานไร้คนขับที่จะเข้ามาถึงดินแดนของอิสราเอลได้นั้นถือว่ายังน้อยมาก

ส่วนขีปนาวุธที่มี คือ ขีปนาวุธภาคพื้นสู่อากาศระยะไกล S-300 จากรัสเซีย และ Bavar-373 ที่ผลิตเองในอิหร่าน และอิหร่านมีระบบป้องกันตนเองทางอากาศ ได้แก่ Sayyad และ Raad

ฟาเบียน ฮินซ์ นักวิจัยจาก IISS บอกกับรอยเตอร์ว่า “หากมีความขัดแย้งสำคัญระหว่างสองประเทศนี้ อิหร่านอาจมุ่งเน้นความสำเร็จของปฏิบัติการเป็นครั้งคราว เพราะพวกเขาไม่มีระบบป้องกันตนเองทางอากาศแบบองค์รวมอย่างที่อิสราเอลมี”

อิสราเอล

  • เครื่องบินรบ: F-15, F-16 และ F-35
  • โดรน: Heron
  • ขีปนาวุธ: Delilah
  • ระบบป้องกันตนเองทางอากาศ: Arrow-2, Arrow-3, David's Sling, Iron Dome

ฝั่งอิสราเอลมีกองพลของกองทัพอากาศ 34,000 นาย และพลสำรอง 55,000 นาย พร้อม มีเครื่องบินรบล้ำสมัยจากสหรัฐฯ ทั้ง F-15, F-16 และ F-35 ที่มีบทบาทสำคัญในการสกัดโดรนอิหร่านเมื่อสุดสัปดาห์ก่อน แต่ยังขาดเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล และพึ่งพาฝูงบินโบอิ้ง 707 ที่กลับมาใช้ใหม่สำหรับการเติมเชื้อเพลิงให้เครื่องบินรบอิสราเอลอยู่

อิสราเอลมีโดรน Heron ที่สามารถบินได้นานกว่า 30 ชั่วโมง สำหรับปฏิบัติการระยะไกล และขีปนาวุธร่อน Delilah ทำการระยะ 250 กิโลเมตร ซึ่งแม้จะไม่ไกลถึงเป้าหมาย แต่กองทัพอากาศอิสราเอลอาจปิดช่องว่างด้วยขีปนาวุธที่มีระยะใกล้กับพรมแดนอิหร่านได้ นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าอิสราเอลกำลังพัฒนาขีปนาวุธภาคพื้นสู่ภาคพื้นพิสัยไกลอยู่ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันในเรื่องนี้

อิสราเอลมีระบบป้องกันตนเองทางอากาศแบบหลายชั้น ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ หลังสงครามอ่าวเมื่อปี 1991 ซึ่งมอบทางเลือกให้อิสราเอลสกัดโดรนและขีปนาวุธพิสัยไกลจากอิหร่านได้ ทั้ง Arrow-2 และ Arrow-3 ที่สกัดขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยไกล David's Sling ระบบต่อต้านขีปนาวุธวิถีโค้งและขีปนาวุธร่อน และ Iron Dome ที่เข้าสกัดจรวดและระเบิดจากกลุ่มติดอาวุธในกาซ่าและเลบานอนที่มีอิหร่านหนุนหลัง

ซิดฮาร์ธ เคาชา นักวิจัยจาก Royal United Strategic Institute ในกรุงลอนดอน บอกกับรอยเตอร์ว่า “ระบบป้องกันทางอากาศของอิสราเอลทำงานได้ดีในการรับมือการโจมตี(13 เมษายน)” แต่การจู่โจมกะทันหัน โดยเฉพาะโดรน เกิดขึ้นจากเครื่องบินของพันธมิตรที่ช่วยสกัดไว้ก่อนถึงอิสราเอล สะท้อนถึงข้อจำกัดของภัยคุกคามที่อิสราเอลรับมือได้ และต้องอาศัยการเตือนภัยและเตรียมการล่วงหน้าที่เพียงพอ

  • ที่มา: รอยเตอร์

กระดานความเห็น

XS
SM
MD
LG