ลิ้งค์เชื่อมต่อ

IOM เตือนว่าจะมีผู้อพยพเสียชีวิตมากขึ้นเพราะสหภาพยุโรปยังตกลงกันไม่ได้


A migrant holds his child on the Serbian side of the fence in Asotthalom, Hungary, Sept. 15, 2015.
A migrant holds his child on the Serbian side of the fence in Asotthalom, Hungary, Sept. 15, 2015.

เดือนกันยายนนี้เป็นเดือนที่มีผู้อพยพเสียชีวิตมากที่สุดในรอบ 2 ปี แม้จะเพิ่งผ่านมาเพียงครึ่งเดือน

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:20 0:00
Direct link

องค์กรระหว่างประเทศเพื่อผู้อพยพหรือ IOM เตือนว่าจะมีผู้อพยพและผู้ลี้ภัยอีกจำนวนมากเสียชีวิตในเดือน ก.ย ซึ่งเป็นผลมาจากที่สหภาพยุโรปไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องการจัดสรรโควต้าผู้ลี้ภัย

เดือนกันยายนนี้เป็นเดือนที่มีผู้อพยพเสียชีวิตมากที่สุดในรอบ 2 ปี แม้จะเพิ่งผ่านมาเพียงครึ่งเดือน

At the port in Lesvos, Greece, many refugees from Afghanistan, Iraq and Syria who cannot afford the 48 euros for a boat to their next destination wait in tents, many hoping to find another way. (Credit: Heather Murdock/VOA)
At the port in Lesvos, Greece, many refugees from Afghanistan, Iraq and Syria who cannot afford the 48 euros for a boat to their next destination wait in tents, many hoping to find another way. (Credit: Heather Murdock/VOA)

องค์กรระหว่างประเทศเพื่อผู้อพยพหรือ IOM คาดว่ามีผู้เสียชีวิตราว 72 คนในช่วงไม่กี่วันมานี้ ขณะพยายามเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียนจากตุรกีไปยังเกาะแห่งหนึ่งของกรีซ และเมื่อต้นเดือนเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ชายฝั่งของตุรกีรายงานว่า มีผู้อพยพ 13 คนเสียชีวิตในน่านน้ำของตุรกีเช่นกัน

โฆษกของ IOM นาย Leonard Doyle กล่าวว่าจำนวนผู้อพยพที่เดินทางข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนั่นหมายความว่ามีโอกาสที่ผู้อพยพเหล่านั้นจะเสียชีวิตกลางทะเลมากขึ้นเช่นกัน เมื่อฤดูกาลเริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว อากาศเริ่มเย็นลง ขณะที่ภยันอันตรายเพิ่มขึ้น สิ่งที่ทาง IOM หวาดกลัวก็คือเมื่อสหภาพยุโรปไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการจัดสรรโควต้าผู้ลี้ภัย อาจทำให้มีผู้อพยพเสียชีวิตกลางทะเลมากขึ้น

สภาสหภาพยุโรปร่วมประชุมที่กรุงบรัสเซลล์ในวันจันทร์ และไม่สามารถมีมติเป็นเอกฉันทน์เกี่ยวกับข้อเสนอให้จัดสรรผู้ลี้ภัยจำนวน 120,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวซีเรีย กระจายไปตามประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป

เวลานี้ประเทศที่แบกรับภาระด้านผู้อพยพไว้มากที่สุด คือประเทศที่มีพรมแดนติดทะเลเมดิเตอเรเนียน เช่น กรีซและอิตาลี ที่ต้องการให้มีการจัดสรรโควต้าเพื่อแบ่งเบาภาระนี้ แต่ประเทศเล็กๆซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตอนกลางไม่ต้องการรับข้อเสนอที่ว่านี้

เมื่อ 10 ปีก่อน ทาง IOM ได้จัดให้มีโทรศัพท์สายด่วน “157 Helpline” ในตุรกี เพื่อให้ประชาชนช่วยแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับขบวนการลักลอบขนผู้อพยพเข้าเมืองผ่านทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลเอเจี้ยน ปัจจุบันโทรศัพท์สายด่วน 157 นี้กลายเป็นช่องทางหลักสำหรับผู้อพยพจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือ

ด้านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ระบุว่าวิกฤติการณ์ผู้อพยพในยุโรปครั้งนี้ จะสามารถผ่านพ้นไปได้ หากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปร่วมมือกันหาวิธีจัดการ และว่าหากไม่สามารถตกลงกันได้ ยุโรปเองจะเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหานี้

ขณะที่บรรดาผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเหล่านั้นก็จะไม่สามารถหลุดพ้นจากความเจ็บปวด จากการที่ต้องพรากจากภูมิลำเนาและรอนแรมจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่งอย่างไม่มีวันสิ้นสุด


(ผู้สื่อข่าว Lisa Schlein รายงานจากนครเจนีวา / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียงเสนอ)

XS
SM
MD
LG