ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อินโดนีเซียเตรียมยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม


INDONESIA-ECONOMY-AGRICULTURE-EXPORTS
INDONESIA-ECONOMY-AGRICULTURE-EXPORTS

รัฐบาลอินโดนีเซียเปิดเผยในวันพฤหัสบดีว่า คำสั่งห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์มสำหรับปรุงอาหารที่มีผลบังคับใช้มาร่วมเดือนจะถูกยกเลิกในปลายสัปดาห์นี้ เนื่องจากสถานการณ์ด้านอุปทานและราคาที่เริ่มดีขึ้น ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี

อินโดนีเซียและมาเลเซีย คือ ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยสัดส่วน 85% ของปริมาณการผลิตจากทั่วโลก โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศ

แต่แรงกดดันต่ออุปทานของน้ำมันปรุงอาหารในตลาดโลกปรับพุ่งสูงหลังเกิดสงครามในยูเครน เนื่องจากประเทศนี้เป็นผู้ผลิตน้ำมันดอกทานตะวันในสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งที่ผลิตได้ทั่วโลก ขณะที่ รัสเซียเป็นผู้ผลิตในสัดส่วนราว 25% ของปริมาณการผลิตทั่วโลกเช่นกัน

ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกปรับขึ้นมาถึง 200% หรืออาจจะมากกว่านั้นด้วยซ้ำ นับตั้งแต่อินโดนีเซียสั่งห้ามการส่งออกทั้งน้ำมันปรุงอาหารและวัตถุดิบในการผลิต เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนในประเทศและดึงราคาที่พุ่งสูงให้ต่ำลง

President Joko WIdodo's speech at the signing of the cooperation between the Indonesia Investment Authority (INA) with PT Hutama Karya and PT Waskita Karya-PT Waskita Toll Road, Thursday, April 14, 2022. (Facebook/setkabgoid)
President Joko WIdodo's speech at the signing of the cooperation between the Indonesia Investment Authority (INA) with PT Hutama Karya and PT Waskita Karya-PT Waskita Toll Road, Thursday, April 14, 2022. (Facebook/setkabgoid)

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด้ กล่าวระหว่างการแถลงข่าวด้วยว่า รัฐบาลจาการ์ตากำลังวางแผนจะยกเลิกคำสั่งห้ามการส่งออกทั้งหมด หากราคาของน้ำมันปรุงอาหารแบบขายส่งปรับมาที่ระดับ 14,000 รูเปียห์ หรือราว 0.96 ดอลลาร์ ต่อลิตร และระบุว่า “เมื่อดูจากปริมาณอุปทานและราคาของน้ำมันปรุงอาหารในปัจจุบัน และพิจารณาเกี่ยวกับจำนวนคนงานในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มจำนวน 17 ล้านคน ซึ่งรวมทั้งเกษตรกรและผู้ที่ทำงานในด้านนี้แล้ว ข้าพเจ้าตัดสินใจว่า การส่งออกน้ำมันปรุงอาหารจะกลับมาทำได้อีกครั้งตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม”

ปธน.วิโดโด้ กล่าวด้วยว่า ความต้องการน้ำมันปรุงอาหารแบบขายส่งในประเทศนั้นอยู่ที่ราว 194,000 ตันต่อเดือน

ทั้งนี้ ก่อนรัฐบาลจะออกคำสั่งห้ามส่งออก อุปทานของน้ำมันนี้หดตัวลงมาอยู่ที่ 64,500 ตัน ก่อนที่จะปรับขึ้นถึงกว่า 3 เท่ามาที่กว่า 211,000 ตันต่อเดือน

ผู้นำอินโดนีเซียเปิดเผยด้วยว่า หน่วยงานดูแลรักษากฎหมายทั้งหลายกำลังสืบสวนข้อกล่าวหาว่า มีการทำผิดกฎหมายและกรณีฉ้อโกงของการจัดส่งและการผลิตน้ำมันปรุงอาหารอยู่ด้วย

  • ที่มา: เอพี
XS
SM
MD
LG