หลังจากที่สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ล้มเหลวที่ไม่สามารถจัดทำข้อตกลงร่วมกันว่าด้วยแนวปฏิบัติในเรื่องทะเลจีนใต้ได้ ประเทศต่างๆที่มีส่วนในข้อพิพาทครั้งนี้จึงพยายามปรับใช้นโยบายของตนเองเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทดังกล่าว
เมื่อเร็วๆนี้ มณฑลไหหนานของจีนได้ประกาศว่าจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จีนสามารถสกัดและตรวจสอบเรือที่แล่นผ่านพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังได้จัดทำหนังสือเดินทางซึ่งมีภาพแผนที่ดินแดนของจีนรวมถึงพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้นั้นไว้ด้วย ซึ่งก่อให้เกิดความโกรธเคืองต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์และเวียดนาม และล่าสุดอินเดียก็กระโดดเข้ามาร่วมวงด้วย ด้วยการเอ่ยปากว่าอินเดียจะปกป้องผลประโยชน์ร่วมของอินเดียในด้านทรัพยากรธรรมชาติในทะเลจีนใต้จากการรุกรานของจีน
รมต.ต่างประเทศอินโดนีเซีย นาย Marty Natalegawa เชื่อว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการจัดทำแนวปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ เนื่องจากกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศใหญ่หลายประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ทั้งสหรัฐ จีน และอาจรวมไปถึงการเลือกตั้งใหญ่ในญี่ปุ่นและเกาหลีเร็วๆนี้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกิดขึ้น เพื่อที่จะสามารถใช้เป็นแนวทางแก้ไขความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ได้
ที่ผ่านมา รมต. Natalegawa คือหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าว และเป็นผู้หนึ่งที่พยายามผลักดันให้เกิดแนวปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ แต่หลังจากที่สมาชิกสมาคมอาเซียนไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องนี้ในการประชุมเมื่อเดือน พ.ย นักวิเคราะห์ต่างระบุว่า อินโดนีเซียนั้นประเมินบทบาทความสำคัญของการเจรจาทางการฑูตไว้สูงเกินไป
อาจารย์ Aleksius Jemadu แห่งภาควิชากิจการระหว่างประเทศ ม. Pelita Halapan ในกรุงจาการ์ต้า ชี้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะโน้มน้าวให้จีนยินยอมเข้าสู่โต๊ะเจรจาร่วมกับสมาคมอาเซียนทั้งกลุ่ม โดยระบุว่าอุปสรรคประการแรกคือจีนยังต้องปกป้องผลประโยชน์ของจีนเอง โดยเฉพาะในด้านพลังงาน ประการที่สองคือเรื่องการรักษาบูรณภาพแห่งดินแดน สามคือความภาคภูมิใจของจีนที่เพิ่งก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจไม่นาน ซึ่งทำให้จีนไม่ยอมที่จะถูกประเทศมหาอำนาจอื่นๆกดขี่อีกต่อไป ซึ่งทั้งสามข้อที่กล่าวมานี้ทำให้การแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เมื่อเร็วๆนี้ มณฑลไหหนานของจีนได้ประกาศว่าจะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จีนสามารถสกัดและตรวจสอบเรือที่แล่นผ่านพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังได้จัดทำหนังสือเดินทางซึ่งมีภาพแผนที่ดินแดนของจีนรวมถึงพื้นที่ทับซ้อนในทะเลจีนใต้นั้นไว้ด้วย ซึ่งก่อให้เกิดความโกรธเคืองต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์และเวียดนาม และล่าสุดอินเดียก็กระโดดเข้ามาร่วมวงด้วย ด้วยการเอ่ยปากว่าอินเดียจะปกป้องผลประโยชน์ร่วมของอินเดียในด้านทรัพยากรธรรมชาติในทะเลจีนใต้จากการรุกรานของจีน
รมต.ต่างประเทศอินโดนีเซีย นาย Marty Natalegawa เชื่อว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการจัดทำแนวปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ เนื่องจากกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศใหญ่หลายประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ทั้งสหรัฐ จีน และอาจรวมไปถึงการเลือกตั้งใหญ่ในญี่ปุ่นและเกาหลีเร็วๆนี้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกิดขึ้น เพื่อที่จะสามารถใช้เป็นแนวทางแก้ไขความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ได้
ที่ผ่านมา รมต. Natalegawa คือหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าว และเป็นผู้หนึ่งที่พยายามผลักดันให้เกิดแนวปฏิบัติว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ แต่หลังจากที่สมาชิกสมาคมอาเซียนไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องนี้ในการประชุมเมื่อเดือน พ.ย นักวิเคราะห์ต่างระบุว่า อินโดนีเซียนั้นประเมินบทบาทความสำคัญของการเจรจาทางการฑูตไว้สูงเกินไป
อาจารย์ Aleksius Jemadu แห่งภาควิชากิจการระหว่างประเทศ ม. Pelita Halapan ในกรุงจาการ์ต้า ชี้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะโน้มน้าวให้จีนยินยอมเข้าสู่โต๊ะเจรจาร่วมกับสมาคมอาเซียนทั้งกลุ่ม โดยระบุว่าอุปสรรคประการแรกคือจีนยังต้องปกป้องผลประโยชน์ของจีนเอง โดยเฉพาะในด้านพลังงาน ประการที่สองคือเรื่องการรักษาบูรณภาพแห่งดินแดน สามคือความภาคภูมิใจของจีนที่เพิ่งก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจไม่นาน ซึ่งทำให้จีนไม่ยอมที่จะถูกประเทศมหาอำนาจอื่นๆกดขี่อีกต่อไป ซึ่งทั้งสามข้อที่กล่าวมานี้ทำให้การแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับประเทศในกลุ่มอาเซียนนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย