ลิ้งค์เชื่อมต่อ

พรรคการเมืองในอินเดียใช้สื่อสังคมออนไลน์เสนอข่าวปลอม


FILE - An Indian man surfs a Facebook page at an Internet cafe in New Delhi, India, Tuesday, Feb. 9, 2016.
FILE - An Indian man surfs a Facebook page at an Internet cafe in New Delhi, India, Tuesday, Feb. 9, 2016.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:24 0:00

หลายคนที่ทำงานตรวจเช็คข้อเท็จจริงของเนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ชี้ว่ามาตรการต่างๆที่บริษัทสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลายนำออกมาใช้เพื่อแก้ปัญหาข่าวปลอม ไม่มีผลในการรับมือกับเรื่องนี้เเม้เเต่น้อยเพราะการโพสต์เนื้อหาปลอมถูกแชร์เร็วกว่าถูกดึงออกจากหน้าเวปไซท์เเละบรรดาผู้เชี่ยวชาญทางโลกไซเบอร์กล่าวว่าปัญหาในอินเดียไม่ได้เป็นเรื่องการเเทรกแซงของต่างชาติอย่างที่เกิดกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี ค.ศ. 2016 แต่เป็นเรื่องของการใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นคามจริงต่อสู้กันระหว่างพรรคการเมืองคู่เเข่งเเละผู้สนับสนุน

ในอินเดีย มีการใช้จ่ายไปกับการจัดทำข้อความ มีมเเละวิดีโอทางการเมืองได้เพิ่มขึ้น ขณะที่พรรคการเมืองต่างๆ ว่าจ้างนักรบไซเบอร์หลายร้อยคนเริ่มกระจายข่าวสารเเละข้อมูลปลอมทางสื่อสังคมออนไลน์เเละกระตุ้นให้อาสาสมัครหลายเเสนคนตั้งเป้าไปที่ผู้ใช้เฟสบุคกว่า 300 ล้านคนเเละผู้ใช้ WhatsApp อีกกว่า 240 ล้านคน

การเลือกตั้งทั่วไปของอินเดียที่กำลังใกล้เข้ามาเป็นการเลือกตั้งที่ไร้กฏกติกา โดยพรรคบีเจพีของนายกรัฐมนตรีนาเรนทรา โมดี ต้องต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจเเละพรรคคองเกราสจะต้องเอาชนะการเลือกตั้งเพื่อกลับไปเป็นผู้นำรัฐบาลอินเดีย

เจนซี เจคอบ หัวหน้าหน้าเวปไซท์ตรวจข้อเท็จจริง Boom กล่าวว่าความกังวลใหญ่คือมีการนำวิดีโอเเละภาพถ่ายเก่ามาใช้อย่างผิดๆ เพื่อชี้ชวนว่าพรรคการเมืองนั้นๆเเละผู้นำไม่ดีสำหรับประเทศ โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจที่จะเช็คความถูกต้อง หน้าเวปไซท์ตรวจสอบข้อเท็จจริงกำลังร่วมมือกับเฟสบุคในการแก้ปัญหาการโพสต์ข้อมูลเท็จ

ยกตัวอย่าง ผู้ใช้เฟสบุครายหนึ่งเเชร์บทสนทนาทางโทรศัพท์ที่มีการบันทึกเสียงเอาไว้ โดยเป็นเสียงพูดของนายอามิท ชาห์หน้าพรรคบีเจพี ที่พูดว่าทางพรรคเห็นด้วยว่าเพื่อเอาชนะการเลือกตั้ง จำเป็นต้องมีสงคราม เเละโพสต์ปลอมนี้ผลิตขึ้นจากเสียงสัมภาษณ์เก่าที่นำมาตัดต่อรวมกัน โพสต์นี้มีผู้ชมถึง 2 ล้าน 5 เเสนครั้งเเละเเชร์หลายครั้งก่อนที่จะถูกดึงออก

ส่วนโพสต์อื่นๆ ที่ถูกดึงออก รวมทั้งโพสต์ที่อ้างว่านายกรัฐมนตรีโมดี ติดอันดับหนึ่งของรายชื่อนักการเมืองที่ซื่อสัตย์ที่สุด 50 คนเเละยังมีโพสต์ภาพถ่ายของนางปริยันกา คานธี วาดรา น้องสาวของนายราหุล คานธี หัวหน้าพรรคคองเกรสที่ถูกปรับแต่งให้เธอสวมไม้กางเขนเพื่อเสนอภาพว่าเธอไม่ใช่ชาวฮินดู

เฟสบุคประกาศในใบเเถลงข่าวเมื่อเร็วๆนี้ว่าทางบริษัทกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอมทางเฟสบุคโดยใช้ทั้งเทคโนโลยีเเละเจ้าหน้าที่ควรตรวจสอบด้วยสายตาเเละเพิ่มความพยายามในการบล็อกบัญชีผู้ใช้ปลอมเเละในวันอังคารที่ 2 เมษายน WhatsApp ได้เปิดตัวสาย helpline เรียกว่า CheckPoint ที่ผู้ใช้สามารถใช้ในการตรวจความเท็จจริงของข้อมูลที่เผยเเพร่ทาง platform นอกจากนี้ยังจัดโครงการให้ความรู้โครงการต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักวิธีระบุว่าข้อมูลใดเป็นข่าวลือ

นิคิล ปาวา นักรณรงค์สิทธิ์ทางดิจิตัลเเละบรรณาธิการของ MediaNama กล่าวว่ามาตรการเหล่านี้มีประโยชน์เเต่นำออกมาใช้สายเกินไป แต่ตนคิดว่านี่ยังไม่เพียงพอ

และเเม้เเต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลต้องทำงานล่วงเวลา บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางไซเบอร์กล่าวว่าพวกเขาขาดความสามารถเเละความรวดเร็วในการตรวจสอบข่าวปลอมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทางสื่อสังคมออนไลน์ ด้าน Instagram ก็กลายเป็นสื่อสังคมออนไลน์ล่าสุดที่ถูกใช้ในการเผยเเพร่ข้อมูลปลอมเเก่ผู้ใช้หนุ่มสาวชาวอินเดียที่จะใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นครั้งเเรกที่มีจำนวนถึง 90 ล้านคนและทั้งพรรคคองเกรสเเละพรรคบีเจพีปฏิเสธความเกี่ยวข้องใดๆ กับหน้าเฟสบุคที่ถูกดึงออกเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาเพราะมีลักษณะส่อว่าเผยเเพร่ข้อมูลปลอมร่วมกัน

เจคอบเรียกมาตรการของเฟสบุคนี้ว่าสำคัญ โดยบอกว่าเฟสบุคยอมรับเเล้วว่า platform ของตนถูกใช้ประโยชน์โดยกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง ซึ่งไม่ได้ตรงกับเป้าหมายดั้งเดิมของบริษัทที่สร้างสื่อนี้ขึ้นมา

ยังไม่รู้เเน่นอนว่าอิทธิพลของข่าวปลอมทางสื่อสังคมออนไลน์จะมีบทบาทมากแค่ไหนต่อการเลือกตั้งอินเดียที่ใกล้เข้ามาเเต่ที่ชัดเจนเเล้วคือข่าวสารปลอมมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของผู้ใช้โดยเฉพาะความคิดเห็นทางการเมือง

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)














XS
SM
MD
LG