ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อินเดียเริ่มมาตรการจำกัดจำนวนรถยนต์ด้วยทะเบียนคู่-คี่ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ


Few vehicles are seen plying on the otherwise severely busy Mehrauli Badarpur road during rush hour in New Delhi, India, Friday, April 15, 2016.
Few vehicles are seen plying on the otherwise severely busy Mehrauli Badarpur road during rush hour in New Delhi, India, Friday, April 15, 2016.

ทางการกำหนดให้รถยนต์ส่วนตัวออกมาวิ่งได้สลับวันกัน แล้วเเต่ว่าหมายเลขทะเบียนลงท้ายด้วยเลขคู่หรือเลขคี่

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:01 0:00
Direct link

ทางการกรุงนิวเดลีจำกัดจำนวนรถยนต์ส่วนตัวบนท้องถนนลงนาน 2 สัปดาห์เ พื่อลดมลพิษทางอากาศที่เลวร้ายที่สุดในโลก

โครงการนี้ดำเนินการเป็นครั้งที่สองในปีนี้ โดยทางการกำหนดให้รถยนต์ส่วนตัวออกมาวิ่งได้สลับวันกัน แล้วเเต่ว่าหมายเลขทะเบียนลงท้ายด้วยเลขคู่หรือเลขคี่

Arvind Kejriwal Chief Minister แห่งกรุงนิวเดลี กล่าวแสดงความหวังว่าอาจจะสามารถบังคับใช้มาตรการนี้เป็นการถาวร เดือนละสองสัปดาห์ แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่ามาตรการนี้ไม่เหมาะสมในเมืองที่ระบบการขนส่งมวลชนย่ำเเย่ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนหันไปใช้รถยนต์ส่วนตัวกันเป็นหลัก

เจ้าหน้าที่ชี้ว่าได้เพิ่มจำนวนรถโดยสารประจำทาง ที่ออกวิ่งบริการบนเส้นทางที่การจราจรคับคั่ง และรถไฟใต้ดินได้เพิ่มจำนวนเที่ยวมากขึ้นด้วย แต่การเพิ่มบริการของรถโดยสารประจำทางกับรถไฟ ยังไม่น่าจะเพียงพอที่จะรองรับประชาชนในกรุงนิวเดลี 16 ล้านคน ที่ต้องพึ่งพายวดยาน 8 ล้าน 5 แสนคันในการคมนาคมทุกวัน ซึ่งรวมทั้ง รถยนต์ส่วนตัว รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง

นาง Sheila Dikshit อดีต Chief Minister แห่งกรุงนิวเดลี ได้เรียกร้องให้ทางการจัดหาการบริการด้านคมนาคมขนส่งให้เพียงพอเสียก่อน โดยชี้ว่าประชาชนจะเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างไร หากครึ่งหนึ่งของจำนวนรถบัสเสีย

ตอนที่ทดลองโครงการนี้ครั้งเเรกในเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการยกเว้นข้อบังคับนี้แก่เจ้าของรถยนต์ส่วนตัวจำนวนมาก รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูง นักการเมือง ผู้หญิงและรถยนต์ที่ไปรบและส่งเด็กนักเรียน

อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ได้รับเเรงสนับสนุนอย่างมากจากสาธารณชนเนื่องจากผู้คนตระหนักถึงผลเสียรุนแรงต่อสุขภาพจากควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์โดยเฉพาะต่อสุขภาพปอด

คุณ Nandini Guha เป็นอาจารย์ในวิทยาลัยเเห่งหนึ่งในกรุงนิวเดลลี กล่าวว่า สมาชิกในครอบครัวจะต้องปรับตัวให้เข้ากับมาตรการนี้ แต่เห็นด้วยว่าถึงเวลาเเล้วที่ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อปัญหามลพิษทางอากาศ ไม่เช่นนั้นปัญหาจะรุนแรงเข้าขั้นวิกฤติ

ประชาชนจำนวนมากดีใจกับมาตรการนี้เพราะช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณ Minoo Bhargava บอกว่า เธอชอบใจมาตรการนี้มาก เพราะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางจากบ้านกับที่ทำงานลงครึ่งหนึ่ง ปกติเธอจะใช้เวลานานเกินหนึ่งชั่วโมงครึ่งกับการเดินทางระยะทาง 20 กิโลเมตรทุกๆ เย็น

คาดว่าในวันทำงาน คนที่ต้องเดินทางไปสำนักงานอาจจะต้องโดยสารไปกับรถยนต์ของคนอื่นแทน สลับวันกันระหว่างหมายเลขทะเบียนลงท้ายด้วยเลขคู่กับเลขคี่

แต่ทางการกรุงนิวเดลลียอมรับว่าน่าจะมีความท้าทายหลายอย่าง เพราะตอนที่ทดลองใช้มาตรการนี้ครั้งเเรกในเดือนมกราคม เป็นช่วงที่โรงเรียนปิดและสภาพอากาศเย็นกว่า รถโดยสารประจำทางของกรุงนิวเดลลีส่วนใหญ่ไม่ติดเครื่องปรับอากาศ และคนไม่นิยมใช้บริการหากอากาศร้อนถึง 40 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้นักวิจารณ์หลายคนไม่เห็นด้วยกับมาตรการนี้เ พราะช่วยลดระดับมลพิษทางอากาศลงมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แต่คุณ Anumita Roychowdhury หัวหน้าโครงการมลพิษทางอากาศที่ศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งเเวดล้อมแห่งกรุงนิวเดลลี กล่าวว่า การลดจำกัดจำนวนรถยนต์ส่วนตัวบนท้องถนนมีความจำเป็น เพราะทุกคนรู้ดีว่าการจราจรที่คับคั่งเกี่ยวข้องกับระดับมลพิษทางอากาศที่สูงขึ้น

เธอชี้ว่า ทางการกำลังเริ่มจัดการกับแหล่งมลพิษเหตุอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกวาดฝุ่นผงบนท้องถนน การเผาขยะ การก่อสร้างและการใช้เครื่องปั่นไฟน้ำมันดีเซล

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG