กรณีการวางระเบิดในนคร Boston เมื่อเร็วๆนี้ ทำให้บรรดานักวิเคราะห์ต้องพยายามตอบคำถามที่ผู้คนเป็นจำนวนมากอยากจะรู้คำตอบ คือทำไมคนหนุ่มในชุมชนผู้อพยพ หรือชนกลุ่มน้อยจึงมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงในนามของศาสนา โดยเฉพาะศาสนาอิสลาม
Raffaello Pantucci ผู้เชี่ยวชาญการต่อต้านการก่อการร้ายของสถาบัน Royal United Services ซึ่งเป็น think tank ทางด้านการรักษาความมั่นคงในกรุงลอนดอน บอกว่า เหตุจูงใจแตกต่างกันไป อาจจะเป็นสาเหตุทางจิตวิทยา สังคมวิทยา การเมือง หรือศาสนา ผสมกัน หรืออาจเป็นเหตุผลส่วนตัว เหตุผลข้ามชาติ หรือระดับโลกก็ได้
แต่บทสรุปกว้างๆก็คือ คนหนุ่ม ซึ่งมักจะหมายถึงผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี และเป็นชาวมุสลิม อาจมีความรู้สึกว่าชีวิตไม่ก้าวหน้า หรือตั้งเป้าหมายชีวิตว่าอยากจะทำอะไรบางอย่างให้กับชุมชนของตน แต่การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆได้ กลับไปใช้เครื่องมือหรือสื่อกลางที่ทำให้หลงผิดไปได้ และโดยทั่วไป มักจะมีการติดต่อจากภายนอกที่กระตุ้นหนุนให้คนเหล่านี้หลงทางไปได้
การติดต่อกับภายนอกที่ทำให้หลงทางหรือหลงผิดได้นี้ อาจจะมาจากการเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนของบิดามารดา หรือบรรพบุรุษ อย่างในกรณีของ Tamerlan Tsarnaev ผู้พี่ของสองพี่น้องมือวางระเบิดที่ Boston ซึ่งเสียชีวิตในการยิงต่อสู้กับตำรวจ หรือคนหนุ่มชาวอังกฤษ เชื้อสายปากีสถานจำนวนหนึ่งที่เดินทางกลับไปรับการฝึกอบรมกับพวก Al-Qaida ในปากีสถาน
สำนักงานการรักษาความมั่นคงในสหรัฐและยุโรปได้ให้ความสนใจมาเป็นเวลานานนับปีแล้วกับพลเมืองของตนจากชุมชนผู้อพยพ หรือชนกลุ่มน้อยที่เดินทางไปต่างประเทศ และอาจมีโอกาสติดต่อกับกลุ่มชาวมุสลิมที่ฝักใฝ่ความรุนแรงในประเทศของบรรพบุรุษ
ในกรณีของ Tamerlan Tsarnaev นั้น Stephen Tankel นักวิเคราะห์ของโครงการเอเชียใต้ ในสถาบัน Carnegie Endowment ให้ความเห็นว่า Tamerlan กับน้องชาย Dzhokhar คงจะเติบโตขึ้นมาในช่วงที่ชาว Chechen ทำสงครามต่อต้านการปกครองของรัสเซียถึงสองครั้งในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และน่าจะได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามแบบเคร่งครัดมาบ้างแล้วในบริเวณตอนใต้ของรัสเซีย ก่อนที่ครอบครัวจะอพยพไปอยู่อเมริกา
ตามรายงานข่าวเท่าที่ปรากฎ Tamerlan ปรับตัวเข้ากับชีวิตในอเมริกาไม่ได้ และไม่มีความพอใจในชีวิตของเขา
Huma Yusuf นักเขียนคอลัมน์ชาวปากีสถานให้กับนสพ. Dawn ซึ่งเคยเล่าเรียนมาทั้งในอเมริกาและลอนดอน ให้ความเห็นว่า คนรุ่นใหม่ในชุมชนผู้อพยพที่กำลังเติบโต ขาดความผูกพันกับครอบครัว และไม่สามารถผูกตนเข้ากับเอกลักษณ์ของชนเผ่าของตน หรือของประเทศตะวันตกที่พำนักอาศัยอยู่ได้
นักเขียนผู้นี้บอกว่า คนรุ่นใหม่เหล่านี้มักหวนกลับไปยึดค่านิยมแบบอนุรักษ์นิยม ในขณะที่ประสบความไม่เท่าเทียมกันในชีวิต และวิถีทางที่คนเหล่านี้จะแสดงออกได้ มักจะเป็นการยึดถืออุดมการณ์ของกลุ่มที่มีความคิดเห็นรุนแรงเป็นที่ตั้ง
ความคิดเห็นที่ว่านี้ คือการสั่งสอนคนหนุ่ม และเวลานี้มีผู้หญิงเข้าร่วมด้วยบ้างแล้วว่า ชาติตะวันตกกำลังพยายามจะกำจัดชาวมุสลิมทั่วโลก และในทัศนะของคนหนุ่มคนสาวเหล่านี้ การต่อสู้ที่ยังดำเนินอยู่ต่อไป มิใช่การต่อสู้เพื่อศาสนาอิสลามเท่านั้น หากแต่เป็นการต่อสู้ระดับโลกเพื่อต่อต้านคอร์รับชั่น จักรวรรดินิยม และขบวนการคืนสู่มาตุภูมิของชาวยิวที่ยื้อแย่งแผ่นดินในตะวันออกกลางไปจากชาวมุสลิม
และแม้ Al-Qaida จะถูกทำลายจนอ่อนกำลังลงมากแล้ว แต่อุดมการณ์ของกลุ่มก่อการร้ายนี้ก็ยังกระตุ้นหนุนให้ผู้ที่ยึดมั่นอยู่ต่อไป ดำเนินการโจมตีในเวลาและสถานที่เท่าที่จะทำได้อยู่ต่อไป
Raffaello Pantucci ผู้เชี่ยวชาญการต่อต้านการก่อการร้ายของสถาบัน Royal United Services ซึ่งเป็น think tank ทางด้านการรักษาความมั่นคงในกรุงลอนดอน บอกว่า เหตุจูงใจแตกต่างกันไป อาจจะเป็นสาเหตุทางจิตวิทยา สังคมวิทยา การเมือง หรือศาสนา ผสมกัน หรืออาจเป็นเหตุผลส่วนตัว เหตุผลข้ามชาติ หรือระดับโลกก็ได้
แต่บทสรุปกว้างๆก็คือ คนหนุ่ม ซึ่งมักจะหมายถึงผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี และเป็นชาวมุสลิม อาจมีความรู้สึกว่าชีวิตไม่ก้าวหน้า หรือตั้งเป้าหมายชีวิตว่าอยากจะทำอะไรบางอย่างให้กับชุมชนของตน แต่การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆได้ กลับไปใช้เครื่องมือหรือสื่อกลางที่ทำให้หลงผิดไปได้ และโดยทั่วไป มักจะมีการติดต่อจากภายนอกที่กระตุ้นหนุนให้คนเหล่านี้หลงทางไปได้
การติดต่อกับภายนอกที่ทำให้หลงทางหรือหลงผิดได้นี้ อาจจะมาจากการเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนของบิดามารดา หรือบรรพบุรุษ อย่างในกรณีของ Tamerlan Tsarnaev ผู้พี่ของสองพี่น้องมือวางระเบิดที่ Boston ซึ่งเสียชีวิตในการยิงต่อสู้กับตำรวจ หรือคนหนุ่มชาวอังกฤษ เชื้อสายปากีสถานจำนวนหนึ่งที่เดินทางกลับไปรับการฝึกอบรมกับพวก Al-Qaida ในปากีสถาน
สำนักงานการรักษาความมั่นคงในสหรัฐและยุโรปได้ให้ความสนใจมาเป็นเวลานานนับปีแล้วกับพลเมืองของตนจากชุมชนผู้อพยพ หรือชนกลุ่มน้อยที่เดินทางไปต่างประเทศ และอาจมีโอกาสติดต่อกับกลุ่มชาวมุสลิมที่ฝักใฝ่ความรุนแรงในประเทศของบรรพบุรุษ
ในกรณีของ Tamerlan Tsarnaev นั้น Stephen Tankel นักวิเคราะห์ของโครงการเอเชียใต้ ในสถาบัน Carnegie Endowment ให้ความเห็นว่า Tamerlan กับน้องชาย Dzhokhar คงจะเติบโตขึ้นมาในช่วงที่ชาว Chechen ทำสงครามต่อต้านการปกครองของรัสเซียถึงสองครั้งในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และน่าจะได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามแบบเคร่งครัดมาบ้างแล้วในบริเวณตอนใต้ของรัสเซีย ก่อนที่ครอบครัวจะอพยพไปอยู่อเมริกา
ตามรายงานข่าวเท่าที่ปรากฎ Tamerlan ปรับตัวเข้ากับชีวิตในอเมริกาไม่ได้ และไม่มีความพอใจในชีวิตของเขา
Huma Yusuf นักเขียนคอลัมน์ชาวปากีสถานให้กับนสพ. Dawn ซึ่งเคยเล่าเรียนมาทั้งในอเมริกาและลอนดอน ให้ความเห็นว่า คนรุ่นใหม่ในชุมชนผู้อพยพที่กำลังเติบโต ขาดความผูกพันกับครอบครัว และไม่สามารถผูกตนเข้ากับเอกลักษณ์ของชนเผ่าของตน หรือของประเทศตะวันตกที่พำนักอาศัยอยู่ได้
นักเขียนผู้นี้บอกว่า คนรุ่นใหม่เหล่านี้มักหวนกลับไปยึดค่านิยมแบบอนุรักษ์นิยม ในขณะที่ประสบความไม่เท่าเทียมกันในชีวิต และวิถีทางที่คนเหล่านี้จะแสดงออกได้ มักจะเป็นการยึดถืออุดมการณ์ของกลุ่มที่มีความคิดเห็นรุนแรงเป็นที่ตั้ง
ความคิดเห็นที่ว่านี้ คือการสั่งสอนคนหนุ่ม และเวลานี้มีผู้หญิงเข้าร่วมด้วยบ้างแล้วว่า ชาติตะวันตกกำลังพยายามจะกำจัดชาวมุสลิมทั่วโลก และในทัศนะของคนหนุ่มคนสาวเหล่านี้ การต่อสู้ที่ยังดำเนินอยู่ต่อไป มิใช่การต่อสู้เพื่อศาสนาอิสลามเท่านั้น หากแต่เป็นการต่อสู้ระดับโลกเพื่อต่อต้านคอร์รับชั่น จักรวรรดินิยม และขบวนการคืนสู่มาตุภูมิของชาวยิวที่ยื้อแย่งแผ่นดินในตะวันออกกลางไปจากชาวมุสลิม
และแม้ Al-Qaida จะถูกทำลายจนอ่อนกำลังลงมากแล้ว แต่อุดมการณ์ของกลุ่มก่อการร้ายนี้ก็ยังกระตุ้นหนุนให้ผู้ที่ยึดมั่นอยู่ต่อไป ดำเนินการโจมตีในเวลาและสถานที่เท่าที่จะทำได้อยู่ต่อไป