ลิ้งค์เชื่อมต่อ

‘ไอเอ็มเอฟ’ คาดเศรษฐกิจโลกปีนี้โต 6% เอเชีย-อาเซียน โตลดลง


FILE - A participant stands near a logo of IMF at the International Monetary Fund - World Bank Annual Meeting 2018 in Nusa Dua, Bali, Indonesia, Oct. 12, 2018.
FILE - A participant stands near a logo of IMF at the International Monetary Fund - World Bank Annual Meeting 2018 in Nusa Dua, Bali, Indonesia, Oct. 12, 2018.
Business News
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:49 0:00


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ปรับตัวเลขการคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ หลังจากที่ประเทศเหล่านั้นเริ่มเปิดภาคธุรกิจอีกครั้ง

ในรายงาน World Economic Outlook (WEO) ที่เปิดเผยในวันอังคาร IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะเติบโตที่ระดับ 6% ซึ่งเท่ากับตัวเลขเดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายน ซึ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดจากระดับ -3.2% เมื่อช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

IMF คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ 7% เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายนที่ระดับ 6.4% ส่วนเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนคาดว่าจะเติบโต 4.6% ปีนี้ หลังจากหดตัว 6.5% ปีที่แล้ว ชณะที่เศรษฐกิจจีนและอินเดีย คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 8.1% และ 9.5% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม รายงานการคาดการณ์ของ IMF แสดงให้เห็นถึงช่องว่างมากขึ้นระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจน รวมทั้งประเทศที่มีวัคซีนเหลือพอกับประเทศที่ยังขาดแคลนวัคซีน กล่าวคือ ในขณะที่ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.6% ในปีนี้ แต่กลับปรับลดตัวเลขการคาดการณ์อัตราการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ จาก 6.7% เมื่อเดือนเมษายน เป็น 6.3%

สำหรับเอเชียโดยรวม IMF ปรับลดตัวเลขการเติบโตจากระดับ 8.6% เมื่อเดือนเมษายน ลงมาเหลือ 7.5% ในเดือนนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียยังคงประสบปัญหาในการจัดหาวัคซีนเพื่อชะลอการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดหนักในหลายประเทศ

ส่วนประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย IMF คาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ระดับเฉลี่ย 4.3% ลดลง 0.6% จากการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว

กีตา โกปินาธ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF กล่าวว่า วัคซีนโควิดคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้แต่ละประเทศมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน พร้อมเร่งเร้าให้ประเทศพัฒนาเพิ่มการบริจาควัคซีนโควิดให้แก่ประเทศยากจน

ปัจจุบัน ประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิดโดยเฉลี่ยที่ 40% ส่วนประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีอัตราการฉีดวัคซีนเฉลี่ยที่ 11%

(ที่มา: รอยเตอร์ และเอพี)

XS
SM
MD
LG