IMF หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีคำเตือนออกมาก่อนหน้าการประชุมประจำปีของ IMF กับธนาคารโลกที่กรุงโตเกียว ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 13 ตุลาคมนี้ว่า อัตราการโตทางเศรษฐกิจโลกกำลังชลอตัวลง ในขณะที่ธนาคารโลกกล่าวว่า จะต้องมีการสร้างงานขึ้นอีกหลายร้อยล้านงาน เพื่อสนองรับกำลังแรงงานใหม่ของโลก
ในขณะที่บรรดาผู้นำประเทศต่างๆกำลังเดินทางเพื่อไปร่วมการประชุมประจำปีของ IMF และธนาคารโลกที่กรุงโตเกียว นักเศรษฐศาสตร์หลายรายให้ความเห็นว่า วิกฤติเศรษฐกิจของยุโรปเป็นภัยคุกคามเศรษฐกิจโลกใหญ่ที่สุด และความขุ่นเคืองของประชาชนชาวยุโรปที่แสดงให้เห็นต่อความพยายามของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหา เป็นปัจจัยหนึ่งที่จำกัดความสามารถของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว
นาง Christine Lagarde กรรมการผู้อำนวยการของ IMF กล่าวไว้ว่า การตัดงบประมาณเพื่อแก้ปัญหา จะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และให้สมดุลกับการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างงาน
กรรมการผู้อำนวยการของ IMF ย้ำว่า จะต้องมุ่งเน้นเรื่องการประหยัดอย่างชัดแจ้ง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตได้ด้วย เพราะทั้งสองอย่างนี้แยกออกจากกันไม่ได้
ขณะเดียวกัน รายงานการศึกษาของธนาคารโลกระบุว่า จะต้องมีการสร้างงานขึ้นมาใหม่ 600 ล้านตำแหน่งในช่วง 8 ปีข้างหน้า เพื่อสนองรับแรงงานใหม่ของโลก รายงานฉบับนี้ กล่าวว่า ภาคเอกชนจะเป็นภาคที่สร้างงานใหม่เกือบทั้งหมด แต่นาย Jim Yong Kim ผู้บริหารธนาคารโลกให้ความเห็นว่า รัฐบาลสามารถช่วยได้ด้วยการจัดทำโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกฎข้อบังคับที่ดี
เขากล่าวว่า มีหลายอย่างที่รัฐบาลสามารถทำได้เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจ โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อมจะสามารถสร้างงานดีๆที่ผู้คนต้องการและจำเป็นต้องมีได้
และในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายกล่าวว่า ได้มีการปรับปรุงกฎข้อบังคับเกี่ยวกับสถาบันการเงินให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การเพิ่มอัตราเงินสำรองของธนาคาร นักวิเคราะห์ Daniel Hanson ของสถาบัน American Enterprise ในกรุงวอชิงตัน บอกว่า วิกฤติการเงินของยุโรปชลอกระบวนการปรับปรุงนี้ลง
ส่วนผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ให้ความเห็นว่า วิกฤติการเงินของยุโรปเป็นปัญหาท้าทายสำหรับ IMF ซึ่งประสบการณ์ในอดีตเป็นการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประเทศยากจนเสียมากกว่า
และศจ. Bhaksar Chakravorti แห่งมหาวิทยาลัย Tufts แสดงความคาดหวังส่งท้ายว่า การประชุมประจำปีของ IMF และธนาคารโลกครั้งนี้ อาจจะมีความก้าวหน้าไปเล็กน้อย เพราะปัญหาที่มีอยู่เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก
ในขณะที่บรรดาผู้นำประเทศต่างๆกำลังเดินทางเพื่อไปร่วมการประชุมประจำปีของ IMF และธนาคารโลกที่กรุงโตเกียว นักเศรษฐศาสตร์หลายรายให้ความเห็นว่า วิกฤติเศรษฐกิจของยุโรปเป็นภัยคุกคามเศรษฐกิจโลกใหญ่ที่สุด และความขุ่นเคืองของประชาชนชาวยุโรปที่แสดงให้เห็นต่อความพยายามของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหา เป็นปัจจัยหนึ่งที่จำกัดความสามารถของรัฐบาลที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว
นาง Christine Lagarde กรรมการผู้อำนวยการของ IMF กล่าวไว้ว่า การตัดงบประมาณเพื่อแก้ปัญหา จะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และให้สมดุลกับการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการสร้างงาน
กรรมการผู้อำนวยการของ IMF ย้ำว่า จะต้องมุ่งเน้นเรื่องการประหยัดอย่างชัดแจ้ง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตได้ด้วย เพราะทั้งสองอย่างนี้แยกออกจากกันไม่ได้
ขณะเดียวกัน รายงานการศึกษาของธนาคารโลกระบุว่า จะต้องมีการสร้างงานขึ้นมาใหม่ 600 ล้านตำแหน่งในช่วง 8 ปีข้างหน้า เพื่อสนองรับแรงงานใหม่ของโลก รายงานฉบับนี้ กล่าวว่า ภาคเอกชนจะเป็นภาคที่สร้างงานใหม่เกือบทั้งหมด แต่นาย Jim Yong Kim ผู้บริหารธนาคารโลกให้ความเห็นว่า รัฐบาลสามารถช่วยได้ด้วยการจัดทำโครงสร้างทางเศรษฐกิจและกฎข้อบังคับที่ดี
เขากล่าวว่า มีหลายอย่างที่รัฐบาลสามารถทำได้เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจ โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อมจะสามารถสร้างงานดีๆที่ผู้คนต้องการและจำเป็นต้องมีได้
และในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายกล่าวว่า ได้มีการปรับปรุงกฎข้อบังคับเกี่ยวกับสถาบันการเงินให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การเพิ่มอัตราเงินสำรองของธนาคาร นักวิเคราะห์ Daniel Hanson ของสถาบัน American Enterprise ในกรุงวอชิงตัน บอกว่า วิกฤติการเงินของยุโรปชลอกระบวนการปรับปรุงนี้ลง
ส่วนผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ให้ความเห็นว่า วิกฤติการเงินของยุโรปเป็นปัญหาท้าทายสำหรับ IMF ซึ่งประสบการณ์ในอดีตเป็นการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประเทศยากจนเสียมากกว่า
และศจ. Bhaksar Chakravorti แห่งมหาวิทยาลัย Tufts แสดงความคาดหวังส่งท้ายว่า การประชุมประจำปีของ IMF และธนาคารโลกครั้งนี้ อาจจะมีความก้าวหน้าไปเล็กน้อย เพราะปัญหาที่มีอยู่เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก