ลิ้งค์เชื่อมต่อ

“วัลคิรี” หุ่นยนต์หญิงของนาซ่าเตรียมพร้อมการใช้งานในอวกาศ


ภาพจากการทดลองหุ่นยนต์ Valkyrie ของนาซ่าที่ Johnson Space Center ในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส
ภาพจากการทดลองหุ่นยนต์ Valkyrie ของนาซ่าที่ Johnson Space Center ในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส

ในโลกแห่งการประดิษฐ์หุ่นยนต์ เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งชวนให้คิดว่า งานลักษณะใดบ้างที่ยังเหลืออยู่สำหรับการพัฒนาให้จักรกลสมัยใหม่สามารถเข้ารับภารกิจแทนมนุษย์ได้

ไม่นานนี้นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการปฏิบัติหน้าที่แทนนักบินอวกาศในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก โดยหุ่นตัวนี้มีชื่อว่า “วัลคิรี” (Valkyrie) ตามตัวละครหญิงในปกรณัมนอร์สของภูมิภาคสแกนดิเนเวียยุคโบราณ

“วัลคิรี” มีความสูง 188 ซ.ม. น้ำหนัก 136 กิโลกรัม เเละกำลังอยู่ในช่วงทดสอบเพื่อทำงานให้กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ นาซ่า (NASA)

ขณะนี้อยู่ในขั้นทดลองงานของ "วัลคิรี" ที่ศูนย์ Johnson Space Center ในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส โดยมีจุดเป้าหมายว่าหุ่นยนต์ตัวนี้จะสามารถทำงานในอวกาศได้ในอนาคต หรือในพื้นที่ที่เกิดวิกฤตจากภัยธรรมชาติ

ชอว์น อะซิมิ หัวหน้าทีมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ความชำนาญสูงของนาซ่ากล่าวว่า การใช้หุ่นยนต์ลักษณะนี้ซึ่งมีความสามารถในการตัดสินใจเองเเทนมนุษย์ช่วยให้คนสามารถคิดถึงภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ได้ดีขึ้น

เขายกตัวอย่างงานที่หุ่นยนต์อย่าง "วัลคิรี" สามารถทำได้ในอนาคต เช่นการทำความสะอาดแผงพลังงานเเสงอาทิตย์นอกยานอวกาศ หรือการตรวจอุปกรณ์ภายนอกยาน

หุ่นยนต์อะพอลโลของบริษัท Apptronik ที่เมืองออสตินรัฐเท็กซัส
หุ่นยนต์อะพอลโลของบริษัท Apptronik ที่เมืองออสตินรัฐเท็กซัส

บริษัท Apptronik ที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส เป็นผู้ร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ในโครงการนี้

ในเวลาเดียวกันนี้ บริษัทหวังว่าการสร้างจักรกลที่ทำงานบนโลกได้ จะมีประโยชน์ต่อภารกิจสำรวจอวกาศของมนุษย์

หุ่นอะพอลโล (Apollo) ของบริษัทกำลังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำงานในโรงงาน เช่นเคลื่อนย้ายลังสินค้า และการปฏิบัติงานในสายการผลิตประเภทอื่น ๆ ทางบริษัทหวังว่าจะวางจำหน่ายหุ่นยนต์รุ่นนี้ให้กับภาคเอกชนในต้นปีหน้า

หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Apptronik นิค เพนกล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าการทำงานของระบบออนไลน์สำหรับหุ่นยนต์อะพอลโล ไว้ที่ 22 ชั่วโมงต่อวัน โดยสามารถเปลี่ยนถ่านได้ทุก ๆ 4 ชั่วโมง

อะซิมิ แห่งนาซ่ากล่าวปิดท้ายว่า เทคโนโลยีอย่างอะพอลโลถูกออกแบบมาให้มีสมองที่คิดอย่างเป็นระบบเพื่อการใช้งานได้หลายสถานการณ์

และในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามทำความเข้าใจว่ายังมีช่องโหว่ทางเทคนิคอะไรบ้างที่ต้องทุ่มการลงทุนเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีในอวกาศ อะซิมิกล่าว

  • ที่มา: รอยเตอร์

กระดานความเห็น

XS
SM
MD
LG