ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์จะใช้เทคนิควิศวพันธุกรรมเปลี่ยนช้างให้เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว


นักวิทยาศาสตร์พยายามชุบชีวิตช้างแมมมอธขึ้นใหม่
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:35 0:00

นักวิทยาศาสตร์พยายามชุบชีวิตช้างแมมมอธขึ้นใหม่

นักวิจัยต้องการจะปลุกชีวิตช้างแมมมอธให้ฟื้นกลับคืนมาด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “de-extinction” หรือการฟื้นพันธุ์

Beth Shapiro รองศาสตราจารย์ด้านนิเวศวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียค้นพบกระดูก Woolly Mammoth ซึ่งเป็นช้างสมัยดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์มาราวๆ สี่พันปีแล้วสามชิ้น ในเหมืองทองแห่งหนึ่งใน Yukon Territory ประเทศแคนาดา

นักวิชาการผู้นี้ต้องการจะปลุกชีวิตสัตว์ประเภทนี้ให้ฟื้นกลับคืนมาในกระบวนการที่เรียกว่า “de-extinction” หรือการฟื้นพันธุ์ แม้จะยอมรับว่าเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน และท้าทายในทางเทคนิค จริยธรรมและนิเวศวิทยา

งานวิจัยค้นคว้านี้ มี Swedish Museum of Natural History ในกรุง Stockholm เป็นผู้นำทีมงานที่ได้จัดทำผังพันธุกรรม (genome) ของ Mammoth และ รศ. Beth Shapiro เชื่อว่าน่าจะใช้กระบวนการวิศวพันธุกรรมเปลี่ยนเชื้อพันธุ์บางส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของ Woolly Mammoth ไปแทนที่ในเชื้อพันธุ์ของช้างสมัยนี้ และสร้าง Woolly Mammoth ขึ้นมาใหม่ได้

ทั้งนี้เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ใกล้เคียงมากที่สุดกับ Woolly Mammoth
แต่ Ross Macphee ภัณฑารักษ์ของ American Museum of Natural History ตั้งคำถามว่า ทำไมจึงจะนำสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปนับพันๆ ปีกลับมา ในเมื่อสัตว์ที่ว่านี้ไม่มีบทบาทและความเชื่อมโยงกับระบบนิเวศในปัจจุบัน

รศ. Beth Shapiro ให้เหตุผลว่า ถ้าสามารถสร้างหรือนำลักษณะเฉพาะของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับมาได้ใหม่ อาจช่วยให้มนุษย์หาวิธีอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตขณะนี้ หรือกระตุ้นให้ระบบนิเวศปัจจุบันมีความแข็งขันขึ้นได้

Ross Macphee ไม่คิดว่าการฟื้นพันธุ์สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิวัฒนาการของมนุษย์หรือระบบนิเวศได้ แต่คิดว่า น่าจะมีการโต้อภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดของ รศ. Beth Shapiro เพื่อให้ผู้คนตระหนักในปัญหา และหวังว่าจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคต

XS
SM
MD
LG