ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สื่อต่างชาติวิเคราะห์: ประท้วงฮ่องกงอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในระยะยาว


Hong Kong Protests
Hong Kong Protests
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:51 0:00

หนังสือพิมพ์ วอล สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า การประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงอาจทำให้เศรษฐกิจฮ่องกงเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินโลกเมื่อกว่า 10 ปีก่อน และยิ่งสร้างผลเสียต่อเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่ที่กำลังกระทบกระเทือนจากสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ด้วย

ในขณะที่การประท้วงยังคงยืดเยื้อโดยไม่มีทีท่าจะสงบลง ภาคธุรกิจสำคัญของฮ่องกงอย่างเช่น การท่องเที่ยวและการค้าปลีกกำลังประสบภาวะซบเซา เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติระงับการเดินทางมายังฮ่องกง ร้านค้าต่างๆ ปิดดำเนินการชั่วคราวท่ามกลางการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจฮ่องกง

นักวิเคราะห์เชื่อว่า ในระยะยาว ความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของฮ่องกงจะทำให้นักลงทุนต่างชาติลังเลที่จะเข้าไปลงทุนในฮ่องกง ด้วยเหตุนี้จึงมีการปรับการคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของฮองกงในปีนี้ลงเหลือเพียง 0.5% - 1% เท่านั้น

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์คาดด้วยว่าเศรษฐกิจฮ่องกงอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย หากว่ามีการหดตัวสองไตรมาสติดต่อกัน

A large group of protesters took over a major street in a Hong Kong shopping district late Sunday afternoon, setting up barricades to block off the area and defend it against police.
A large group of protesters took over a major street in a Hong Kong shopping district late Sunday afternoon, setting up barricades to block off the area and defend it against police.

ที่ผ่านมา ฮ่องกงเคยผ่านความวุ่นวายทางการเมืองมาแล้วหลายครั้ง แต่ผู้สังเกตการณ์คาดว่าครั้งนี้อาจมีการแทรกแซงทางทหารจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งจะกระทบต่อภาพพจน์ความเป็นตลาดเสรีของฮ่องกง และนั่นหมายถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในระยะยาวนับสิบปี

คุณทอมมี หวู นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Oxford Economics ในฮ่องกง ให้ความเห็นว่า ดูเหมือนการประท้วงยังไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดง่ายๆ และถึงแม้จะสงบลงได้ในวันนี้พรุ่งนี้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว คือทัศนคติที่ว่าฮ่องกงกำลังเกิดความไม่แน่นอน ซึ่งจะทำให้บริษัทต่างชาติหลายแห่งไม่กล้าเข้ามาลงทุน

ทางด้านผู้บริหารของบริษัทขนาดใหญ่ในฮ่องกง รวมทั้ง สายการบิน Cathay Pacific และเครือโรงแรม Peninsula Hong Kong ต่างแสดงความกังวลต่อเศรษฐกิจของฮ่องกงทั้งในเวลานี้และในอนาคต หลังจากผลประกอบการของบริษัทไม่สู้ดีนักในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

ขณะที่ดัชนีหุ้นของฮ่องกงร่วงดิ่งลงไปแล้ว 9% นับตั้งแต่เกิดการประท้วงเมื่อเดือนมิถุนายน

ปัญหาทางเศรษฐกิจเหล่านี้กำลังเพิ่มแรงกดดันต่อผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง แครี แลม ที่กำลังเผชิญเสียงเรียกร้องให้ลงจากตำแหน่ง สืบเนื่องจากร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนที่เป็นชนวนให้เกิดการประท้วงทั่วฮ่องกงเป็นสัปดาห์ที่ 11 แล้ว

Police officers tear the shirt of a protester during a clash inside a shopping arcade in Sha Tin of Hong Kong after a rally against a controversial extradition law proposal in Sha Tin district of Hong Kong on July 14, 2019.
Police officers tear the shirt of a protester during a clash inside a shopping arcade in Sha Tin of Hong Kong after a rally against a controversial extradition law proposal in Sha Tin district of Hong Kong on July 14, 2019.

เมื่อวันศุกร์ ผู้บริหารสูงสุด แครี แลม กล่าวว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจของฮ่องกงในขณะนี้รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคซาร์สเมื่อปี ค.ศ. 2003 โดยแลมใช้คำว่า "คลื่นสึนามิทางเศรษฐกิจ" ซึ่งเกิดจากผู้ประท้วง

ขณะที่รัฐมนตรีการคลังของฮ่องกง พอล ชาน กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง และหากการหดตัวยังคงเกิดขึ้นในไตรมาสที่สาม ก็หมายความว่าฮ่องกงเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

ส่วนรัฐมนตรีพาณิชย์ฮ่องกง เอ็ดเวิร์ด เหยา เปิดเผยว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนสิงหาคมได้ลดลงถึง 31% เทียบกับปีที่แล้ว หลังจากที่หลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ประกาศเตือนพลเมืองของตนที่จะเดินทางมายังฮ่องกง

ประกอบกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในปัจจุบัน ก็ยิ่งทำให้ภาคการส่งออกของฮ่องกงชะลอตัวไปด้วย และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน

แต่ในมุมของผู้ประท้วงซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและคนหนุ่มสาว ดูเหมือนแรงกดดันของปัญหาทางเศรษฐกิจเหล่านี้จะไม่อยู่ในความกังวลของพวกเขา เท่ากับความต้องการเรียกร้องให้ฮ่องกงเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า

XS
SM
MD
LG