นักวิจัยพยายามมาหลายปีแล้วที่จะหาทางป้องกันผู้หญิงจากการติดเชื้อไวรัส HIV ที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ ความพยายามดังกล่าวรวมถึงถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง และวุ้น หรือ Gel ผสมยาต้านเอดส์ Tenofovir ที่ฆ่าเชื้อได้ เป็นที่พิสูจน์มาแล้วว่า ตัวยาขนานนี้ ประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส HIV และมีผู้คนนับล้านๆคนทั่วโลกที่ใช้ยานี้อยู่
รองศาสตราจารย์ Patrick Kiser ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Northwestern ในสหรัฐ บอกว่าได้พยายามหาทางใช้เทคโนโลยีห่วงอนามัยนี้มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว
อาจารย์ Partick Kiser บอกว่า ได้พัฒนาห่วงอนามัยชุดใหม่ขึ้นมาสำหรับการใช้ยาต้านเอดส์ รวมทั้งยังสามารถให้ยาคุมกำเนิดได้ด้วย แต่นักวิจัยผู้นี้บอกว่า ประเภทของยาต้านเอดส์ที่ต้องใช้เป็นปัญหา กล่าวคือ ยา Tenofovir ที่จะใช้มีความแรงมาก ยาขนานนี้เรียกชื่อว่า TDF ย่อมาจาก Tenofovir Disoproxil Fumarate ซึ่งไม่มีความเสถียร และละลายในน้ำได้ด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง ห่วงอนามัยที่ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้วนั้น ทำมาจากสาร Polymer ธรรมดา และไม่เหมาะกับ TDF จึงต้องผลิตห่วงชุดใหม่ขึ้นมา โดยใช้ Polymer ที่จะพองตัวเมื่อถูกของเหลว และปล่อยตัวยาออกมาได้มากกว่าห่วง Silicon ทั่วๆไป
นักวิจัยทดลองห่วงอนามัยใหม่นี้กับลิงแสม ผลปรากฏว่า ลิงแสมกลุ่มที่ใช้ห่วงอนามัย ไม่ติดเชื้อเลย ส่วนลิงกลุ่มที่ไม่ใช้ห่วงติดเชื้อ หลังจากที่นักวิจัยให้เชื้อราวๆ 4 ครั้งโดยเฉลี่ย
การทดลองห่วงอนามัยชุดใหม่กับยา TDF เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์นี้ จะมีผู้หญิงเข้าร่วมโครงการ 60 คน สำหรับการทดลองเป็นเวลา 14 วัน ที่ Albert Einstein College of Medicine ในนครนิวยอร์คในเดือนพฤศจิกายนนี้
เป้าหมาย คือเพื่อตัดสินว่า ห่วงปล่อยยาออกมาได้มากน้อยแค่ไหน ปลอดภัยหรือไม่ และสภาพของห่วงเป็นอย่างไรบ้างเมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง
อาจารย์ Patrick Kiser กล่าวว่า ถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นความก้าวหน้าอย่างสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ นอกจากนี้ ยังอาจรวมตัวยาอื่นๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
รองศาสตราจารย์ Patrick Kiser ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Northwestern ในสหรัฐ บอกว่าได้พยายามหาทางใช้เทคโนโลยีห่วงอนามัยนี้มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว
อาจารย์ Partick Kiser บอกว่า ได้พัฒนาห่วงอนามัยชุดใหม่ขึ้นมาสำหรับการใช้ยาต้านเอดส์ รวมทั้งยังสามารถให้ยาคุมกำเนิดได้ด้วย แต่นักวิจัยผู้นี้บอกว่า ประเภทของยาต้านเอดส์ที่ต้องใช้เป็นปัญหา กล่าวคือ ยา Tenofovir ที่จะใช้มีความแรงมาก ยาขนานนี้เรียกชื่อว่า TDF ย่อมาจาก Tenofovir Disoproxil Fumarate ซึ่งไม่มีความเสถียร และละลายในน้ำได้ด้วย
ในอีกด้านหนึ่ง ห่วงอนามัยที่ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้วนั้น ทำมาจากสาร Polymer ธรรมดา และไม่เหมาะกับ TDF จึงต้องผลิตห่วงชุดใหม่ขึ้นมา โดยใช้ Polymer ที่จะพองตัวเมื่อถูกของเหลว และปล่อยตัวยาออกมาได้มากกว่าห่วง Silicon ทั่วๆไป
นักวิจัยทดลองห่วงอนามัยใหม่นี้กับลิงแสม ผลปรากฏว่า ลิงแสมกลุ่มที่ใช้ห่วงอนามัย ไม่ติดเชื้อเลย ส่วนลิงกลุ่มที่ไม่ใช้ห่วงติดเชื้อ หลังจากที่นักวิจัยให้เชื้อราวๆ 4 ครั้งโดยเฉลี่ย
การทดลองห่วงอนามัยชุดใหม่กับยา TDF เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์นี้ จะมีผู้หญิงเข้าร่วมโครงการ 60 คน สำหรับการทดลองเป็นเวลา 14 วัน ที่ Albert Einstein College of Medicine ในนครนิวยอร์คในเดือนพฤศจิกายนนี้
เป้าหมาย คือเพื่อตัดสินว่า ห่วงปล่อยยาออกมาได้มากน้อยแค่ไหน ปลอดภัยหรือไม่ และสภาพของห่วงเป็นอย่างไรบ้างเมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง
อาจารย์ Patrick Kiser กล่าวว่า ถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นความก้าวหน้าอย่างสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ที่ทำให้เป็นโรคเอดส์ นอกจากนี้ ยังอาจรวมตัวยาอื่นๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ด้วย