ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสหรัฐฯบริจาคไตเป็นรายแรก


HIV cure
HIV cure
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:12 0:00

ทีมเเพทย์อเมริกันที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตครั้งนี้ได้เเถลงข่าวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมาเพื่ออธิบายเหตุผลว่าทำไมจึงตัดสินใจรับบริจาคไตจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ด็อกเตอร์ ดอร์รี่ เซเกฟ (Dr. Dorry Segev) ศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมที่ภาควิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอจอนส์ ฮ็อกกินส์ (Johns Hopkins) กล่าวว่าโรคเอดส์ไม่ได้เป็นโรคที่เป็นเเล้วต้องเสียชีวิตเสมอไปเหมือนในอดีต 30-40 ปีที่แล้วเพราะความก้าวหน้าทางการแพทย์ช่วยควบคุมโรคนี้ได้ ทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถบริจาคไตให้ผู้ติดเชื้อคนอื่นได้

ด็อกเตอร์เซเกฟอธิบายว่าเป็นที่รู้กันดีว่าเอชไอวีก่อให้เกิดโรคไตและในกรณีนี้ เขาต้องการสร้างความมั่นใจว่าในกรณีนี้ ผู้ติดเชื้อที่บริจาคไตคนแรกนี้จะไม่ก่อให้ความเสี่ยงนี้

ด็อกเตอร์เซเกฟกล่าวว่าตนเองเเละทีมงานได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี 40,000 กว่าคนโดยเน้นศึกษาสุขภาพไตของผู้ติดเชื้อเเละพบว่าคนที่สามารถควบคุมปริมาณเชื้อเอชไอวีในร่างกายให้ลดลง มีความเสี่ยงต่อโรคไตในระดับเดียวกันกับคนทั่วไปเเละเเข็งเเรงพอที่จะบริจาคไตได้

การบำบัดเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสได้เปลี่ยนโฉมหน้าโรคนี้ การบำบัดด้วยยาช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีอายุขัยปกติเหมือนคนทั่วไป

ด้านด็อกเตอร์คริสตีน ดูแรน (Dr. Christine Durand) ผู้เชี่ยวชาญโรคติดต่อเเละมะเร็งที่มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอบกินส์ กล่าวว่าการปลูกถ่ายไตระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีนี้สร้างความก้าวหน้าแก่การแพทย์ขณะที่ช่วยกำจัดความรังเกียจทางสังคมที่มากกับโรคนี้ ท้าทายแพทย์แและคนทั่วไปให้มองการติดเชื้อเอชไอวีเในมุมมองที่เปลี่ยนไป

ด็อกเตอร์ดูแรนกับด็อกเตอร์เซเกฟเป็นหักหอกในโครงการ HOPE in Action ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญระดับชาติหลายด้านเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ความปลอดภัยเเละความมีประสิทธิภาพของการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะระหว่างผู้บริจาคเเละผู้รับบริจาคที่ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองคนกำลังดูแลการทดลองสองกรณีที่ได้รับเงินสนับสนุนจาสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (National Institutes of Health) ซึ่งผ่าตัดปลูกถ่ายไตเเละตับระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้บริจาคไตผู้นี้ชื่อ นีน่า มาร์ตีเนซ (Nina Martinez) ซึ่งติดเชื้อตั้งเเต่ยังเป็นเด็กเล็ก เธอตัดสินใจที่จะบริจาคไตหลังจากชมละครทีวีเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีคนหนึ่งที่บริจาคไตขณะที่ยังมีชีวิต

มาร์ตีเนส เป็นนักเรียกร้องทางนโยบายเพื่อกำจัดความรังเกียจทางสังคมที่มีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี เธอกล่าวว่าหลายคนคิดว่าคนที่ติดเชื้อเอชไอวีจะล้มป่วยหรือดูออกว่าป่วยเเละในฐานะนักรณรงค์ทางนโยบาย ตนเองอยากให้คนเปลี่ยนแนวความคิดนี้เกี่ยวกับเอชไอวี เธอไม่ต้องการเป็นวีรบุรุษของใครเเต่อยากเป็นตัวอย่างแก่คนอื่นให้พิจารณาที่จะบริจาคอวัยวะ
เเละหลังจากได้ติดต่อกับด็อกเตอร์เซเกฟ มาร์ตีเนซได้เดินทางไปยังบัลติมอร์เมื่อปีที่แล้วเพื่อทำการตรวจร่างกาย ทีมศัลยแพทย์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอบกินส์พบว่ามาร์ตีเนซมีสุขภาพไตดีเเละมีปริมาณเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดที่ต่ำมาก

คนที่ควบคุมระดับเชื้อเอชไอวีในเลือดได้ดีเเละไม่มีประวัติของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตหรือมีโปรตีนในปัสสาวะ ถือว่าเเข็งเเรงพอที่จะบริจาคอวัยวะ

ด็อกเตอร์ดูแรนกล่าวว่าการบริจาคไตจากผู้ติดเชื้อแก่ผู้ไม่ติดเชื้อไม่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่เธอกล่าวว่าหากการปลูกถ่ายช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเอาไว้ ตนเองก็ต้องการรับบริจาคไตจากคนที่ติดเชื้อเอชไอวี แม้ว่าผู้รับบริจาคอาจต้องใช้ยาต้านไวรัสตลอดชีวิตก็ตาม

ด็อกเตอร์เซเกฟกล่าวว่าทั้งผู้บริจาคเเละผู้รับบริจาคไตมีอาการเป็นปกติดีหลังการผ่าตัดเเละผู้รับบริจาคไตไม่ต้องการเปิดเผยชื่อเพื่อความเป็นส่วนตัว

ด็อกเตอร์เซเกฟเเละด็อกเตอรดูแรนกล่าวว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายไตระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีครั้งนี้ถือว่าเป็นความคืบหน้าที่สำคัญทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้มีจำนวนผู้ที่ต้องการบริจาคไตเพิ่มมากขึ้น

ในสหรัฐฯ มีคนรอรับบริจาคไตราว 113,000 คน ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดเเละมีชาวอเมริกันราว 20 คนที่เสียชีวิตทุกวันขณะรอรับบริจาคไต

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG