ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยสหรัฐฯพบข้อบ่งชี้ว่ากรดไขมัน DHA ในน้ำมันปลาหรือ Fish Oilไม่มีผลต่อการชะลอการเกิดโรคอัลซไฮเมอร์


นักวิจัยสหรัฐฯพบข้อบ่งชี้ว่ากรดไขมัน DHA ในน้ำมันปลาหรือ Fish Oilไม่มีผลต่อการชะลอการเกิดโรคอัลซไฮเมอร์
นักวิจัยสหรัฐฯพบข้อบ่งชี้ว่ากรดไขมัน DHA ในน้ำมันปลาหรือ Fish Oilไม่มีผลต่อการชะลอการเกิดโรคอัลซไฮเมอร์

ผลการวิจัยในเรื่องคุณค่าของน้ำมันปลาที่สามารถลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งทรวงอก ,การป้องกันภาวะหลอดเลือดตีบตัน-โรคจิตและโรคความจำเสื่อม หรือ อัลซไฮเมอร์ กำลังได้รับการท้าทายจากผลการวิจัยชิ้นใหม่ ที่แสดงให้เห็นว่าน้ำมันตับปลาอาจจะไม่มีผลต่อการชะลอการเกิดอัลซไฮเมอร์ได้

นายแพทย์โจเซฟ ควิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาโรคสมองเสื่อม แห่งมหาวิทยาลัยOregon Health and Science ใช้วิธีการถามคำถามง่ายๆเป็นประจำเพื่อทดสอบสภาวะความจำของ นายโจ มีโชด์ (Joe Michaud) ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม หรือ อัลซไฮเมอร์ (Alzheimer’s) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ป่วยที่เข้ามารักษาและร่วมในโครงการวิจัยกับคุณหมอท่านนี้

องค์การโรค Alzheimer’s ระหว่างประเทศ หรือ Alzheimer's Disease International ระบุว่าขณะนี้มีผู้ป่วยโรค Alzheimer’s มากกว่า 35 ล้านคน และกว่าร้อยละ 60 อาศัยอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วนอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า และ 3 เท่าหรือมากกว่า100 ล้านคนในอีก 40 ปีข้างหน้า

งานวิจัยของนายแพทย์ควิน มุ่งศึกษาไปที่ส่วนผสมสำคัญของน้ำมันตับปลา คือกรดไขมัน D-H-A นายแพทย์โจเซฟ ควินอธิบายว่ามีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงถึงภาวะการขาดสาร D-H-A ในสมองของผู้ป่วย Alzheimer’s เขาจึงมุ่งเน้นศึกษาไปที่กรดไขมันโดยเฉพาะ ซึ่งก็คือกรดไขมันโอเมกา 3

นายแพทย์ผู้นี้ทำการวิจัยร่วมกับนักวิจัยคนอื่นๆ ศึกษาผู้ป่วยโรค Alzheimer’s ที่มีอาการอ่อนๆไปจนถึงปานกลาง 400 คน โดยแบ่งให้ผู้ป่วยร้อยละ 60 ได้รับประทานน้ำมันตับปลา ขณะที่อีกร้อยละ 40 ได้รับยาหลอกๆหรือ Placebo โดยใช้เวลา 18 เดือนเพื่อทำการทดลองก่อนที่จะพบกับผลการทดลองไม่สมหวังตามที่คาดไว้

นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาโรคสมองเสื่อม กล่าวว่า น้ำมันตับปลาไม่ได้มีผลต่อการชะลออาการโรค Alzheimer’s ให้กับผู้ที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคดังกล่าว แต่ผลวิจัยที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังนี้น่าจะมีคุณค่าบางด้านสำหรับการวิจัยในอนาคตเพื่อที่จะค้นหาวิธีชะลอหรือยับยั้งโรคความจำเสื่อมนี้ได้

ผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมแพทย์อเมริกัน (Journal of the American Medical Association)

XS
SM
MD
LG