องค์การอนามัยโลกชี้ว่าคนเราสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเส้นโลหิตในสมองแตก โรคหัวใจและไตวายได้ด้วยการลดปริมาณเกลือในอาหารส่วนนักวิจัยในอังกฤษชี้ว่าถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นเราควรรับประทานอาหารที่มีโปตัสเซี่ยมมากขึ้นด้วย
องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่าโรคความดันโลหิตสูงคุกคามสุขภาพของคนทั่วโลกราวหนึ่งพันล้านคน ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบเพราะไม่ปรากฏอาการชัดเจน
ข่าวดีคือเราสามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ มีผลการวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่าการลดปริมาณเกลือในอาหารที่เรารับประทานลงจะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการเส้นโลหิตในสมองแตกและโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
ศาสตราจารย์เกรแฮม แม็ค เกร็กเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจที่ มหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตกรรม Barts and London School of Medicine and Dentistry พร้อมกับทีมงานวิจัยได้ประมวลผลการวิจัยหลายชิ้นที่จัดทำก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเกลือในอาหารและทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ครั้งใหม่เพิ่มเติม
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหากเรารับประทานเกลือเข้าไปในปริมาณมาก เกลือจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและทำให้กระหายน้ำ เราจึงดื่มน้ำเข้าไปมากกว่าปกติ เมื่อปริมาณเกลือในร่างกายเพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง ร่างกายจะกระตุ้นให้ไตทำการขับเกลือออกมาในน้ำปัสสาวะเพื่อควบคุมระดับเกลือในร่างกายให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหากคนเรารับประทานเกลือในปริมาณมากเป็นประจำ กระเเสเลือดจะมีเกลืออยู่ในระดับสูงกว่าปกติและทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าร่างกายคนเราต้องการเกลือต่ำกว่าครึ่งกรัมต่อวันแต่คนในประเทศพัฒนาแล้วรับประทานเกลือราว 8 ถึง 10 กรัมต่อวัน
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวว่าคนในประเทศพัฒนาแล้วรับประทานเกลือมากกว่าระดับที่ร่างกายต้องการถึงยี่สิบเท่า ปกติสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะไม่ใส่เกลือลงไปในอาหาร แต่มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวที่ผสมเกลือในอาหาร ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามนุษย์เริ่มใส่เกลือในอาหารเมื่อราวห้าพันปีที่แล้วเพราะเกลือมีคุณสมบัติพิเศษในการถนอมอาหาร นอกจากนี้เกลือยังมีบทบาทต่อวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์ เขากล่าวว่าหากมนุษย์ไม่ค้นพบเกลือในอดีต คนปัจจุบันคงไม่ผสมเกลือลงไปในอาหาร
อาหารแปรรูปส่วนมากมีเกลือผสมในปริมาณสูงและเมื่อผสมโรงกับน้ำตาล ช่วยเพิ่มรสชาดให้อาหารแต่ไม่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
ศาสตราจารย์เเม็คเกร็กเกอร์กล่าวว่าการลดปริมาณเกลือในอาหารลงช่วยลดอาการความดันโลหิตสูงได้ แต่จะดีขึ้นไปอีกหากเพิ่มปริมาณโปตัสเซี่ยมที่รับประทานเข้าไป ผลการศึกษาเรื่องนี้หลายชิ้นพบว่าหากร่างกายได้รับโปตัสเซี่ยมมากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ลงได้ยี่สิบสี่เปอร์เซ็นต์และน่าจะมีผลดีต่อระดับความดันโลหิตในเด็กด้วย
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโปตัสเซี่ยมมีคุณสมบัติช่วยคานผลเสียต่อสุขภาพจากเกลือ โปตัสเซี่ยมมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและการควบคุมกล้ามเนื้อ วิธีที่ดีที่สุดคือการรับประทานอาหารที่มีโปตัสเซี่ยม แทนการกินโปตัสเซี่ยมเสริม คนในประเทศพัฒนาเเล้วได้รับโปตัสเซี่ยมจากอาหารวันละ 3 กรัมต่อวัน
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวว่าคนเราควรได้รับโปตัสเซี่ยมวันละสี่กรัม หากต้องการเพิ่มโปตัสเซี่ยมหนึ่งกรัม ควรรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้นราวสองถึงสามครั้งต่อวัน โดยอาจจะรับประทานกล้วยสามลูกต่อวัน หรือ ส้มสามลูกต่อวัน หรืออาจจะรับประทานกล้วย แอปเปิล และ ส้ม อย่างละหนึ่งลูกต่อวัน หรืออาจจะรับประทานผักหนึ่งครั้งต่อวันและผลไม้อย่างน้อยสองลูกต่อวัน
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวว่าราว 80 สิบเปอร์เซ็นต์ของเกลือที่ร่างกายได้รับมาจากอาหารแปรรูปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในสหราชอณาจักร ทางการได้กำหนดให้บริษัทแปรรูปอาหารลดปริมาณเกลือที่ผสมในอาหารลงทีละน้อย ปัจจุบันปริมาณเกลือที่คนในอังกฤษได้รับผ่านอาหารแปรรูปได้ลดลงจาก 9.5 กรัมต่อวันเป็น 8.1 กรัม ถือว่าลดลงมาได้สิบห้าเปอร์เซ็นต์แล้ว ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตกและอาการหัวใจวายได้ถึงปีละเก้าพันราย
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวว่า การค่อยๆลดปริมาณเกลือในอาหารลงทีละเล็กทีละน้อย จะทำให้คนไม่รู้สึกว่าอาหารจืดลง
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแสดงความกังวลต่อสุขภาพของคนในประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตว่าคนในประเทศกำลังพัฒนาเริ่มนิยมรับประทานอาหารแบบเดียวกับคนในประเทศพัฒนาแล้ว เป็นอาหารที่เค็ม หวาน และมัน ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าคนในประเทศกำลังพัฒนาจะป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจกันเพิ่มมากขึ้น พอๆกับโรคที่มีสาเหตุจากโรคอ้วน
องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่าโรคความดันโลหิตสูงคุกคามสุขภาพของคนทั่วโลกราวหนึ่งพันล้านคน ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบเพราะไม่ปรากฏอาการชัดเจน
ข่าวดีคือเราสามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ มีผลการวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่าการลดปริมาณเกลือในอาหารที่เรารับประทานลงจะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการเส้นโลหิตในสมองแตกและโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
ศาสตราจารย์เกรแฮม แม็ค เกร็กเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจที่ มหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตกรรม Barts and London School of Medicine and Dentistry พร้อมกับทีมงานวิจัยได้ประมวลผลการวิจัยหลายชิ้นที่จัดทำก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเกลือในอาหารและทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ครั้งใหม่เพิ่มเติม
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหากเรารับประทานเกลือเข้าไปในปริมาณมาก เกลือจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและทำให้กระหายน้ำ เราจึงดื่มน้ำเข้าไปมากกว่าปกติ เมื่อปริมาณเกลือในร่างกายเพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง ร่างกายจะกระตุ้นให้ไตทำการขับเกลือออกมาในน้ำปัสสาวะเพื่อควบคุมระดับเกลือในร่างกายให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหากคนเรารับประทานเกลือในปริมาณมากเป็นประจำ กระเเสเลือดจะมีเกลืออยู่ในระดับสูงกว่าปกติและทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าร่างกายคนเราต้องการเกลือต่ำกว่าครึ่งกรัมต่อวันแต่คนในประเทศพัฒนาแล้วรับประทานเกลือราว 8 ถึง 10 กรัมต่อวัน
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวว่าคนในประเทศพัฒนาแล้วรับประทานเกลือมากกว่าระดับที่ร่างกายต้องการถึงยี่สิบเท่า ปกติสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะไม่ใส่เกลือลงไปในอาหาร แต่มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวที่ผสมเกลือในอาหาร ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามนุษย์เริ่มใส่เกลือในอาหารเมื่อราวห้าพันปีที่แล้วเพราะเกลือมีคุณสมบัติพิเศษในการถนอมอาหาร นอกจากนี้เกลือยังมีบทบาทต่อวิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์ เขากล่าวว่าหากมนุษย์ไม่ค้นพบเกลือในอดีต คนปัจจุบันคงไม่ผสมเกลือลงไปในอาหาร
อาหารแปรรูปส่วนมากมีเกลือผสมในปริมาณสูงและเมื่อผสมโรงกับน้ำตาล ช่วยเพิ่มรสชาดให้อาหารแต่ไม่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
ศาสตราจารย์เเม็คเกร็กเกอร์กล่าวว่าการลดปริมาณเกลือในอาหารลงช่วยลดอาการความดันโลหิตสูงได้ แต่จะดีขึ้นไปอีกหากเพิ่มปริมาณโปตัสเซี่ยมที่รับประทานเข้าไป ผลการศึกษาเรื่องนี้หลายชิ้นพบว่าหากร่างกายได้รับโปตัสเซี่ยมมากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการความดันโลหิตสูงในผู้ใหญ่ลงได้ยี่สิบสี่เปอร์เซ็นต์และน่าจะมีผลดีต่อระดับความดันโลหิตในเด็กด้วย
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโปตัสเซี่ยมมีคุณสมบัติช่วยคานผลเสียต่อสุขภาพจากเกลือ โปตัสเซี่ยมมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและการควบคุมกล้ามเนื้อ วิธีที่ดีที่สุดคือการรับประทานอาหารที่มีโปตัสเซี่ยม แทนการกินโปตัสเซี่ยมเสริม คนในประเทศพัฒนาเเล้วได้รับโปตัสเซี่ยมจากอาหารวันละ 3 กรัมต่อวัน
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวว่าคนเราควรได้รับโปตัสเซี่ยมวันละสี่กรัม หากต้องการเพิ่มโปตัสเซี่ยมหนึ่งกรัม ควรรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้นราวสองถึงสามครั้งต่อวัน โดยอาจจะรับประทานกล้วยสามลูกต่อวัน หรือ ส้มสามลูกต่อวัน หรืออาจจะรับประทานกล้วย แอปเปิล และ ส้ม อย่างละหนึ่งลูกต่อวัน หรืออาจจะรับประทานผักหนึ่งครั้งต่อวันและผลไม้อย่างน้อยสองลูกต่อวัน
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวว่าราว 80 สิบเปอร์เซ็นต์ของเกลือที่ร่างกายได้รับมาจากอาหารแปรรูปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในสหราชอณาจักร ทางการได้กำหนดให้บริษัทแปรรูปอาหารลดปริมาณเกลือที่ผสมในอาหารลงทีละน้อย ปัจจุบันปริมาณเกลือที่คนในอังกฤษได้รับผ่านอาหารแปรรูปได้ลดลงจาก 9.5 กรัมต่อวันเป็น 8.1 กรัม ถือว่าลดลงมาได้สิบห้าเปอร์เซ็นต์แล้ว ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตกและอาการหัวใจวายได้ถึงปีละเก้าพันราย
ศาสตราจารย์แม็ค เกร็กเกอร์กล่าวว่า การค่อยๆลดปริมาณเกลือในอาหารลงทีละเล็กทีละน้อย จะทำให้คนไม่รู้สึกว่าอาหารจืดลง
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแสดงความกังวลต่อสุขภาพของคนในประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตว่าคนในประเทศกำลังพัฒนาเริ่มนิยมรับประทานอาหารแบบเดียวกับคนในประเทศพัฒนาแล้ว เป็นอาหารที่เค็ม หวาน และมัน ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าคนในประเทศกำลังพัฒนาจะป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจกันเพิ่มมากขึ้น พอๆกับโรคที่มีสาเหตุจากโรคอ้วน