ลิ้งค์เชื่อมต่อ

"จิตบำบัดลดอาการปวด" แพทย์ตะวันตกแนะแนวทางใหม่แก้ปวดด้วยวิธีทำสมาธิและโยคะ


Deepika Agarwal, of Jaipur, India, practices yoga during the 13th annual Solstice in Times Square event, June 21, 2015, in New York.
Deepika Agarwal, of Jaipur, India, practices yoga during the 13th annual Solstice in Times Square event, June 21, 2015, in New York.

งานวิจัยเชื่อว่าอำนาจจิตมีบทบาทสำคัญมากในการลดอาการปวดเรื้อรัง รวมทั้งการปวดหลัง

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:46 0:00
Direct link

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐ (CDC) มีคำเตือนแพทย์ที่ออกใบสั่งยาให้คนไข้แก้อาการปวดต่างๆ โดยเฉพาะยาที่อาจเข้าข่ายสารเสพติด ที่อาจนำไปสู่การเสพติดยาและการเสียชีวิตเพราะรับประทานยาเสพติดเกินขนาด และ CDC แนะนำให้แพทย์หาทางเลือกอื่นๆ ในการบำบัดรักษาอาการปวดต่างๆ

นักกีฬาและผู้มีวัยสูงขึ้นมักจะมีอาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะปวดหลัง ซึ่งการบำบัดมีหลายอย่างรวมทั้งการรับประทานยา การนวด และการผ่าตัด

ที่ Group Health Research Institute ในเมือง Seattle รัฐ Washington หัวหน้าคณะนักวิจัย Daniel Cherkin เชื่อว่าอำนาจจิตมีบทบาทสำคัญมากในการลดอาการปวดเรื้อรัง รวมทั้งการปวดหลัง

คณะนักวิจัยชุดนี้ดำเนินการวิจัยซึ่งแบ่งอาสาสมัคร 300 คน ออกเป็นสามกลุ่ม

กลุ่มแรกทดลองการบำบัดอาการปวดดังกล่าว โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Cognitive Behavioral Therapy) ซึ่ง Daniel Cherkin อธิบายว่า มุ่งเน้นในการช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิดในเรื่องอาการปวด และใช้กิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเพื่อจัดการกับอาการของตนให้ดีขึ้น

กลุ่มที่สองฝึกหัดการใช้อำนาจจิต หรือ Mindfulness โดยการทำสมาธิและการบริหารร่างกายแบบโยคะ

Daniel Cherkin หัวหน้าคณะนักวิจัยของสถาบันฯ บอกว่าวิธีนี้ช่วยให้เราเปลี่ยนความตระหนัก โดยเพิ่มความตระหนักในอาการปวดของตน ยอมรับความปวดนั้น และมุ่งเน้นในการใช้พลังอย่างสร้างสรรค์จัดการกับความปวด

อาสาสมัครกลุ่มสุดท้ายดำเนินการบำบัดอาการปวดของตนตามที่แพทย์สั่ง

ผลปรากฏว่า กลุ่มที่สองซึ่งฝึกหัดใช้อำนาจจิต สามารถลดความปวดได้มากกว่าและนานกว่ากลุ่มอื่นๆ

Daniel Cherkin คาดหวังว่า วิธีลดอาการปวดที่อาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้และอำนาจจิต อาจเป็นวิธีที่จะช่วยผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังอื่นๆได้ด้วย

ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์ไว้แล้วในวารสาร Journal of the American Medical Association (JAMA)

XS
SM
MD
LG