ลิ้งค์เชื่อมต่อ

Graphene: สารมหัศจรรย์แห่งศตวรรษที่ 21


เมื่อปี 2553 นักวิทยาศาสตร์อังกฤษสองคนที่ University of Manchester ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากการสังเคราะห์ Graphene สารสองมิติซึ่งมีธาตุคาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลักในปี 2547 โดย Graphene ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสารมหัศจรรย์แห่งศตวรรษที่ 21 นี้มีความหนาเท่ากับอะตอมหนึ่งอะตอมของธาตุคาร์บอนบริสุทธิ์เท่านั้น แต่ด้วยโครงสร้างโมเลกุลที่เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบและเกาะตัวกันแน่นทำให้ Graphene มีความแข็งแกร่งมากกว่าแผ่นเหล็กกล้าซึ่งมีความหนาเท่ากันถึง 200 เท่าตัว

คุณสมบัติพิเศษของ Graphene นี้ยังรวมถึงการงอและยืดได้ ความโปร่งแสง รวมทั้งเป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้อย่างดีด้วย คุณสมบัติดังกล่าวทำให้ Graphene มีประโยชน์หลายด้าน เช่นสำหรับการทำจอภาพระบบสัมผัสที่ดัดรูปได้ หรือแบตเตอรี่ที่สามารถชาร์ทไฟได้เต็มภายในไม่กี่วินาที เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ของ Graphene ขณะนี้คือการม้วนตัว หรือการเข้าเกาะตัวกับวัตถุอื่นซึ่งเกิดขึ้นได้ง่าย และนักวิจัยกำลังพยายามพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแผ่นหรือชั้นของ Graphene ที่มีความกว้างและไม่เกาะตัวเข้ากับสิ่งอื่นๆ ซึ่งหากสามาถทำได้สำเร็จและมีการผลิต Graphene ในเชิงอุตสาหกรรม ก็จะทำให้เรามีโอกาสนำ Graphene ไปใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ นับตั้งแต่จอโทรศัพท์สมาร์ทโฟน แบตเตอรี่ ไปจนถึงเสารับ-ส่งสัญญาณวิทยุในอุปกรณ์ขนาดเล็กจิ๋ว เป็นต้น
XS
SM
MD
LG