ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จีเอ็ม-ฟอร์ด-กูเกิล จับมือพัฒนา 'โรงไฟฟ้าเสมือน'


FILE - The new GM logo is seen on the facade of the General Motors headquarters in Detroit, Michigan, March 16, 2021.
FILE - The new GM logo is seen on the facade of the General Motors headquarters in Detroit, Michigan, March 16, 2021.

บริษัทรถยนต์ เจเนรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และ ฟอร์ด จับมือกับบริษัทเทคโนโลยี กูเกิล และผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อีกหลายแห่ง เปิดเผยโครงการจัดทำมาตรฐานสำหรับยกระดับการใช้ โรงไฟฟ้าเสมือนจริง หรือ Virtual Power Plant (VPP) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยผ่อนเพลาภาระการผลิตไฟฟ้าในกรณีที่ขาดแคลนปัจจัยการผลิต

บริษัทพลังงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร RMI เป็นผู้เริ่มจัดทำโครงการที่มีชื่อว่า Virtual Power Plant Partnership (VP3) ที่มีเป้าหมายจัดทำนโยบายเพื่อสนับสนุนระบบดังกล่าว โดยรวมศูนย์แหล่งพลังงานหลายพันแห่งเข้าด้วยกันซึ่งควบคุมด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น เนสต์ เทอร์โมสแตท (Nest Thermostat) ของกูเกิล

โครงการนี้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ล้ำสมัยและวิธีการต่าง ๆ ในการจัดการกับปัญหาไฟตกหรือไฟดับ เช่น การเปิด-ปิดแบตเตอรีของรถยนต์ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือการเปลี่ยนระบบการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าไปเป็นแบบประหยัดพลังงานในทันที โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคเสียก่อน

ในช่วงที่เกิดวิกฤติคลื่นความร้อนในสหรัฐฯ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว บริษัทขายส่งไฟฟ้าในรัฐแคลิฟอร์เนีย System Operator สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาไฟดับได้ด้วยการจัดสรรไฟฟ้าทดแทนจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้ง VPP เพื่อให้สามารถจ่ายไฟได้เพียงพอภายใต้ภาวะฉุกเฉิน โดยมีเทคโนโลยี Nest ของกูเกิล เป็นตัวช่วยในการจัดสรรไฟฟ้า

โครงการโรงไฟฟ้าเสมือนจริงนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในอเมริกา ด้วยการสนับสนุนภายใต้กฎหมาย Inflation Reduction Act ซึ่งผ่านรัฐสภาเมื่อปี 2021 ที่ได้มอบผลประโยชน์ทางภาษีแก่เทคโนโลยีพลังงานทางเลือกต่าง ๆ

RMI คาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 โรงไฟฟ้าเสมือนจริง หรือ VPP จะช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของคนอเมริกันในช่วงสูงสุดได้ราว 60 กิกะวัตต์ หรือเพียงพอป้อนความต้องการไฟฟ้าโดยเฉลี่ยของ 50 ล้านครัวเรือน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 200 กิกะวัตต์ภายในปี 2050

  • ที่มา: รอยเตอร์
XS
SM
MD
LG