ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าภาวะโลกร้อนคุกคามต่อโภชนาการในอาหารของมนุษย์โดยระบุว่าการเพิ่มขึ้นของระดับแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกส่งผลให้แร่ธาตุและสารอาหารที่มีประโยชน์ในธัญพืชและพืชตระกูลถั่วลดลง
ทีมนักวิทยาศาสตร์แห่งภาควิชาการแพทย์มหาวิทยาลัย Harvard เปิดเผยในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อเร็วๆ นี้ว่าภายในปีคริสตศักราช 2050 หรืออีกเกือบสี่สิบปีข้างหน้า ธาตุสังกะสีและธาตุเหล็กในข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง พืชตระกูลถั่วประเภทต่างๆ และข้าวฟ่างจะลดลงอย่างมากเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
ทีมนักวิจัยประมาณว่าคนทั่วโลกราวสองถึงสามพันล้านคนจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจากข้าว ข้าวสาลีและพืชประเภทเม็ดถั่วชนิดต่างๆ โดยเฉพาะคนในประเทศกำลังพัฒนา
Samuel Myers นักวิจัยแห่งแผนกสุขภาพสิ่งเเวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัย Harvard ในเมืองบอสตั้นกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าผลการศึกษาของทีมงานชี้ว่าเมื่อปริมาณเเก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มสูงขึ้นภายในอีกสี่สิบปีข้างหน้า เเร่ธาตุในธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคนเราจะลดลงอย่างมาก
คุณ Myers นักวิจัยกล่าวว่าเเร่สังกะสีมีความสำคัญต่อความสมบูรณ์ของระบบภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยต่อต้านโรคท้องร่วง โรคปอดบวม ในขณะที่การขาดธาตุเหล็ก มีผลให้เกิดโรคโลหิตจาง และเกิดอาการระดับไอคิวลดลงในเด็ก มารดาที่เป็นโรคโลหิตจางรุนแรงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง นักวิจัยชี้ว่ามีคนทั่วโลกราวสองพันล้านคนที่เป็นโรคขาดธาตุสังกะสีและธาตุเหล็ก
ในการศึกษา ทีมนักวิจัยนำสารอาหารที่ได้จากธัญพืชที่ต้องการศึกษาไปสัมผัสกับแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในระดับสูง แล้วนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับสารอาหารที่ได้จากพืชชนิดเดียวกันที่ปลูกตามธรรมชาติในแปลงปลูกที่อยู่ใกล้เคียง
นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว 41 สายพันธุ์ โดยเป็นพืชจากหลากหลายพื้นที่ อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา การทดลองนี้จัดทำในสหรัฐ
ผลการวิเคราะห์ชี้ว่าปริมาณธาตุสังกะสีและเหล็กลดลงในข้าวสาลี ข้าว และพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ ที่ต้นพืชได้รับแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในระดับสูง นอกจากนี้นักวิจัยยังพบด้วยว่าพืชบางชนิดมีปริมาณโปรตีนลดลงด้วย
คุณ Myers นักวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการป้องกันน่าจะทำได้ด้วยการพัฒนาสายพันธุ์พืชเหล่านี้ให้สามารถทนทานต่อแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์
เขากล่าวว่าทีมวิจัยพบว่าในพันธุ์ข้าวสิบแปดสายพันธุ์ที่ทีมงานศึกษา มีหลายสายพันธุ์ที่ไม่สามารถทนทานต่อแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ทำให้ทีมงานเชื่อว่าเป็นไปได้ว่าอาจจะมีวิธีพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีความทนทานต่อผลเสียจากแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในอนาคต
แต่คุณ Myers ย้ำในตอนท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าในขณะที่ต้องหาทางพัฒนาธัญพืชเสริมธาตุอาหารและพืชที่ทนทานต่อแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ เขาเชื่อว่ามีวิธีเดียวที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้พืชสูญเสียเเร่ธาตุและสารอาหารที่มีประโยชน์ นั่นก็คือต้องจำกัดไม่ให้ระดับแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น
ทีมนักวิทยาศาสตร์แห่งภาควิชาการแพทย์มหาวิทยาลัย Harvard เปิดเผยในรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อเร็วๆ นี้ว่าภายในปีคริสตศักราช 2050 หรืออีกเกือบสี่สิบปีข้างหน้า ธาตุสังกะสีและธาตุเหล็กในข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง พืชตระกูลถั่วประเภทต่างๆ และข้าวฟ่างจะลดลงอย่างมากเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
ทีมนักวิจัยประมาณว่าคนทั่วโลกราวสองถึงสามพันล้านคนจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจากข้าว ข้าวสาลีและพืชประเภทเม็ดถั่วชนิดต่างๆ โดยเฉพาะคนในประเทศกำลังพัฒนา
Samuel Myers นักวิจัยแห่งแผนกสุขภาพสิ่งเเวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัย Harvard ในเมืองบอสตั้นกล่าวถึงเรื่องนี้ว่าผลการศึกษาของทีมงานชี้ว่าเมื่อปริมาณเเก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มสูงขึ้นภายในอีกสี่สิบปีข้างหน้า เเร่ธาตุในธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคนเราจะลดลงอย่างมาก
คุณ Myers นักวิจัยกล่าวว่าเเร่สังกะสีมีความสำคัญต่อความสมบูรณ์ของระบบภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยต่อต้านโรคท้องร่วง โรคปอดบวม ในขณะที่การขาดธาตุเหล็ก มีผลให้เกิดโรคโลหิตจาง และเกิดอาการระดับไอคิวลดลงในเด็ก มารดาที่เป็นโรคโลหิตจางรุนแรงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง นักวิจัยชี้ว่ามีคนทั่วโลกราวสองพันล้านคนที่เป็นโรคขาดธาตุสังกะสีและธาตุเหล็ก
ในการศึกษา ทีมนักวิจัยนำสารอาหารที่ได้จากธัญพืชที่ต้องการศึกษาไปสัมผัสกับแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในระดับสูง แล้วนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับสารอาหารที่ได้จากพืชชนิดเดียวกันที่ปลูกตามธรรมชาติในแปลงปลูกที่อยู่ใกล้เคียง
นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว 41 สายพันธุ์ โดยเป็นพืชจากหลากหลายพื้นที่ อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา การทดลองนี้จัดทำในสหรัฐ
ผลการวิเคราะห์ชี้ว่าปริมาณธาตุสังกะสีและเหล็กลดลงในข้าวสาลี ข้าว และพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ ที่ต้นพืชได้รับแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในระดับสูง นอกจากนี้นักวิจัยยังพบด้วยว่าพืชบางชนิดมีปริมาณโปรตีนลดลงด้วย
คุณ Myers นักวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการป้องกันน่าจะทำได้ด้วยการพัฒนาสายพันธุ์พืชเหล่านี้ให้สามารถทนทานต่อแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์
เขากล่าวว่าทีมวิจัยพบว่าในพันธุ์ข้าวสิบแปดสายพันธุ์ที่ทีมงานศึกษา มีหลายสายพันธุ์ที่ไม่สามารถทนทานต่อแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ทำให้ทีมงานเชื่อว่าเป็นไปได้ว่าอาจจะมีวิธีพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีความทนทานต่อผลเสียจากแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในอนาคต
แต่คุณ Myers ย้ำในตอนท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าในขณะที่ต้องหาทางพัฒนาธัญพืชเสริมธาตุอาหารและพืชที่ทนทานต่อแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ เขาเชื่อว่ามีวิธีเดียวที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้พืชสูญเสียเเร่ธาตุและสารอาหารที่มีประโยชน์ นั่นก็คือต้องจำกัดไม่ให้ระดับแก๊สคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น