ผลการศึกษาทางการแพทย์สองชิ้นค้นพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ผลการศึกษาชิ้นแรกพบว่าการผ่าตัดนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น ส่วนผลการศึกษาชิ้นที่สองยืนยันว่าการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารช่วยแก้ปัญหาโรคเบาหวานประเภทที่สองที่มีสาเหตุจากภาวะอ้วนได้
การผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักเริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐมานานราวสิบปีแล้ว การผ่าตัดดังกล่าวช่วยผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากลดน้ำหนักลงได้ ผู้ป่วยสามารถกลับไปมีรูปร่างที่อยู่ในระดับมาตราฐาน คุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น ผู้ป่วยบางคนพบว่าหลังการผ่าตัด พวกเขาปลอดจากโรคเบาหวานประเภทที่สอง
แต่มีคำถามว่าการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักปลอดภัยแค่ไหน หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยบางคนติดเชื้อและอาการเส้นเลือดขอดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ในอดีตการผ่าตัดนี้มีเฉพาะในโรงพยาบาลบางแห่งที่เรียกว่า centers for excellence ที่บริการผู้ป่วยในโครงการสุขภาพที่รัฐบาลสหรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย โรงพยาบาลเหล่านี้เคยถูกกำหนดให้ทำการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักแก่ผู้ป่วยอย่างน้อยปีละ 125 ราย
การศึกษาชิ้นแรกนำโดยด็อกเตอร์จัสติน ดีมิค แห่งมหาวิทยาลัย University of Michigan
ได้ศึกษาถึงผลดีของการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารที่โรงพยาบาลเหล่านี้ว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่
ด็อกเตอร์ดีมิคกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเมื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดจากศูนย์์ centers for excellence กับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลอื่นๆแล้ว ปรากฏว่าได้ผลเท่าๆกัน แสดงว่าการผ่าตัดที่ centers for excellence ไม่ได้ดีไปกว่าการผ่าตัดที่โรงพยาบาลอื่นๆ
ด็อกเตอร์ดีมิครายงานผลการศึกษานี้ในวารสาร the Journal of the American Medical Association โดยชี้ว่าผลการผ่าตัดเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ก่อนทีมงานเริ่มการศึกษาเนื่องจากบรรดาศัลยแพทย์มีประสบการณ์ในการผ่าตัดด้านนี้มากขึ้นจากการฝึกทำงานประจำในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยและจากโครงการฝึกอบรมต่างๆ
ขณะที่เทคนิคในการผ่าตัดพัฒนาก้าวหน้าขึ้นและศัลยแพทย์ด้านนี้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ทีมวิจัยอีกทีมหนึ่งค้นพบข้อมูลที่ยืนยันได้เป็นครั้งแรกว่าการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารสามารถแก้ไขอาการโรคเบาหวานประเภทที่สอง ซึ่งเป็นสภาวะที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
ด็อกเตอร์เซ็งกีต้า คาชอ็อพ แห่ง Cleveland Clinic เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยชุดที่สองที่ทำการศึกษาประเด็นนี้ ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าการศึกษาพบว่าการการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหารช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนทำงานไ้ด้เป็นปกติอีกครั้ง
ทีมวิจัยพบว่าอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ตับอ่อนสามารถทำงานได้เป็นปกติก่อนหน้าที่ผู้ป่วยจะลดน้ำหนักตัวที่เกินได้ทั้งหมดเสียอีก ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าสาเหตุน่าจะมาจากการผ่าตัดไม่ให้อาหารที่รับประทานเข้าไปในลำใส้เล็กและฮอร์โมนต่างๆที่ผลิตออกมา
ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าการบายพาสอาหารไม่ให้เข้าไปในลำใส้เล็กมีผลดีอย่างมากในการปรับให้ระบบการเผาผลาญพลังงานกลับไปทำงานได้เป็นปกติอีกครั้ง
ทีมวิจัยพบว่าผู้ป่วยสามารถลดน้ำหนักตัวลงได้เพราะการผ่าตัดบายพาสลำใส้ แต่นักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาว่าทำไมผู้ป่วยบางคนจึงหายขาดจากโรคเบาหวานหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยล่วงหน้าว่าใครจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการผ่าตัดและเพื่อศึกษาดูว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่วันหนึ่งในอนาคตการผ่าตัดแบบนี้จะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
การผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักเริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐมานานราวสิบปีแล้ว การผ่าตัดดังกล่าวช่วยผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากลดน้ำหนักลงได้ ผู้ป่วยสามารถกลับไปมีรูปร่างที่อยู่ในระดับมาตราฐาน คุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น ผู้ป่วยบางคนพบว่าหลังการผ่าตัด พวกเขาปลอดจากโรคเบาหวานประเภทที่สอง
แต่มีคำถามว่าการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักปลอดภัยแค่ไหน หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยบางคนติดเชื้อและอาการเส้นเลือดขอดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ในอดีตการผ่าตัดนี้มีเฉพาะในโรงพยาบาลบางแห่งที่เรียกว่า centers for excellence ที่บริการผู้ป่วยในโครงการสุขภาพที่รัฐบาลสหรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย โรงพยาบาลเหล่านี้เคยถูกกำหนดให้ทำการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารเพื่อลดน้ำหนักแก่ผู้ป่วยอย่างน้อยปีละ 125 ราย
การศึกษาชิ้นแรกนำโดยด็อกเตอร์จัสติน ดีมิค แห่งมหาวิทยาลัย University of Michigan
ได้ศึกษาถึงผลดีของการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารที่โรงพยาบาลเหล่านี้ว่าช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่
ด็อกเตอร์ดีมิคกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเมื่อเปรียบเทียบผลการผ่าตัดจากศูนย์์ centers for excellence กับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลอื่นๆแล้ว ปรากฏว่าได้ผลเท่าๆกัน แสดงว่าการผ่าตัดที่ centers for excellence ไม่ได้ดีไปกว่าการผ่าตัดที่โรงพยาบาลอื่นๆ
ด็อกเตอร์ดีมิครายงานผลการศึกษานี้ในวารสาร the Journal of the American Medical Association โดยชี้ว่าผลการผ่าตัดเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ก่อนทีมงานเริ่มการศึกษาเนื่องจากบรรดาศัลยแพทย์มีประสบการณ์ในการผ่าตัดด้านนี้มากขึ้นจากการฝึกทำงานประจำในโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยและจากโครงการฝึกอบรมต่างๆ
ขณะที่เทคนิคในการผ่าตัดพัฒนาก้าวหน้าขึ้นและศัลยแพทย์ด้านนี้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ทีมวิจัยอีกทีมหนึ่งค้นพบข้อมูลที่ยืนยันได้เป็นครั้งแรกว่าการผ่าตัดอวัยวะย่อยอาหารสามารถแก้ไขอาการโรคเบาหวานประเภทที่สอง ซึ่งเป็นสภาวะที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
ด็อกเตอร์เซ็งกีต้า คาชอ็อพ แห่ง Cleveland Clinic เป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยชุดที่สองที่ทำการศึกษาประเด็นนี้ ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าการศึกษาพบว่าการการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหารช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนทำงานไ้ด้เป็นปกติอีกครั้ง
ทีมวิจัยพบว่าอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ตับอ่อนสามารถทำงานได้เป็นปกติก่อนหน้าที่ผู้ป่วยจะลดน้ำหนักตัวที่เกินได้ทั้งหมดเสียอีก ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าสาเหตุน่าจะมาจากการผ่าตัดไม่ให้อาหารที่รับประทานเข้าไปในลำใส้เล็กและฮอร์โมนต่างๆที่ผลิตออกมา
ด็อกเตอร์คาชอ็อพกล่าวว่าการบายพาสอาหารไม่ให้เข้าไปในลำใส้เล็กมีผลดีอย่างมากในการปรับให้ระบบการเผาผลาญพลังงานกลับไปทำงานได้เป็นปกติอีกครั้ง
ทีมวิจัยพบว่าผู้ป่วยสามารถลดน้ำหนักตัวลงได้เพราะการผ่าตัดบายพาสลำใส้ แต่นักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาว่าทำไมผู้ป่วยบางคนจึงหายขาดจากโรคเบาหวานหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยในการวินิจฉัยล่วงหน้าว่าใครจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการผ่าตัดและเพื่อศึกษาดูว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่วันหนึ่งในอนาคตการผ่าตัดแบบนี้จะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น