งานวิจัยชิ้นใหม่ที่เกี่ยวกับการนอนของมนุษย์กับแสงสว่างจากดวงจันทร์ พบว่าแสงธรรมชาติยามค่ำคืน ก่อนวันพระจันทร์เต็มดวงมีผลต่อชั่วโมงการเข้านอน
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of Washington ระบุว่า เมื่อเข้าใกล้วันที่พระจันทร์จะเต็มดวง มนุษย์จะเข้านอนช้าลงและใช้เวลานอนน้อยกว่าปกติ
ผลการศึกษาชิ้นนี้ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Science Advances เก็บข้อมูลการเข้านอนของผู้ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 98 คน ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เปลี่ยนจากข้างเเรมเป็นข้างขึ้นอย่างสมบูรณ์สองรอบ ซึ่งใช้เวลาในเเต่ละรอบ 29 วันครึ่ง
กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้อยู่ในประเทศอาร์เจนตินา โดยแบ่งเป็นสามชุมชน ของกลุ่มวัฒนธรรมชาวโทบาซึ่งเป็นคนท้องถิ่น โดยเเต่ละชุมชนมีระดับการเข้าถึงไฟฟ้าที่เเตกต่างกัน
ในช่วงเวลาดังกล่าว นักวิจัยวัดระดับการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่างทั้งสามกลุ่ม และพบข้อมูลที่วัดจากอุปกรณ์สวมข้อมือ ซึ่งชี้ว่าผู้ร่วมการทดลองนอนน้อยลงเฉลี่ย 52 นาทีในช่วงคืนที่ใกล้ถึงวันที่พระจันทร์จะเต็มดวง โดยเข้านอนดึกกว่าปกติประมาณครึ่งชั่วโมง
และคนจะใช้เวลานอนสั้นที่สุด ในคืนที่เข้าใกล้พระจันทร์เต็มดวง สามถึงห้าวัน
การวิจัยชิ้นนี้และการศึกษาในอดีตต่างพบว่า ชุมชนที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อยจะไรับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการเข้าสู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง
นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาอีกชิ้นหนึ่ง โดยเก็บข้อมูลจาก นักศึกษามหาวิทยลัยที่เขตเมืองใหญ่ คือนครซีเเอตเติล รัฐวอชิงตัน ในสหรัฐฯ และพบเช่นกับว่า คืนพระจันทร์เต็มดวงมีผลต่อการนอนของมนุษย์ในลักษณะเดียวกับการวิจัยกลุ่มตัวอย่างในอาร์เจนตินา
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยอื่นๆที่อาจมีผลต่อการนอนของมนุษย์ในคืนใกล้พระจันทร์เต็มดวง เพื่อหาคำอธิบายในเรื่อง ปัจจัยทางกายภาพของแต่ละบุคคลและอิทธิพลจากตัวเเปรทางสังคมในแต่ละชุมชนต่อการนอน