ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หน่วยงานด้านสุขภาพของสหรัฐฯ เดินหน้าผลักดันนโยบายลดการบริโภคเกลือ


A mixture of salty snacks and chips is shown left on a table in Pittsburgh's Market Square on Tuesday, Feb. 7, 2012. In a government report released Tuesday, Feb. 7, 2012, that includes a list of the top 10 sources of sodium. Salty snacks actually came…
A mixture of salty snacks and chips is shown left on a table in Pittsburgh's Market Square on Tuesday, Feb. 7, 2012. In a government report released Tuesday, Feb. 7, 2012, that includes a list of the top 10 sources of sodium. Salty snacks actually came…
Push For Less Salt in Food
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:34 0:00


ปัญหาการบริโภคโซเดียม หรือ เกลือ มากเกินไปในสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับหน่วยงานด้านสุขภาพของประเทศ ที่ยังไม่กล้าบังคับให้ผู้ผลิตอาหารที่เกี่ยวข้องทำการลดสารอาหารประเภทนี้ ที่การศึกษาหลายชิ้นชี้แล้วว่า เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง แต่ขอความร่วมมือให้ช่วยกันดูแลประเด็นนี้แทน

สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เรียกร้องให้บริษัทผลิตอาหารลดปริมาณเกลือในอาหารกว่า 150 ชนิด เพื่อให้ชนชาวอเมริกันมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยทางหน่วยงานเจาะจงไปยังผู้ผลิตที่ขายอาหารที่ทำจากธัญพืช มันฝรั่งทอดกรอบ และเฟรนช์ฟรายส์ เป็นหลัก

สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ทำบัญชีรายชื่ออาหารดังกล่าวขึ้นมาซึ่งมีทั้งหมด 163 รายการ และกล่าวว่า พฤติกรรมการบริโภคโซเดียมหรือเกลือมากเกินไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นจากการทานอาหารสำเร็จรูปหรือการทานอาหารนอกบ้าน

FDA แนะนำให้บริษัทอาหารต่างๆ ค่อยๆ ลดปริมาณเกลือที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของตนลง โดยการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จะทำให้คนอเมริกันคุ้นเคยกับการบริโภคเกลือน้อยลง นอกจากนี้ หน่วยงานดังกล่าวยังเรียกร้องให้ค่อยๆ ลดปริมาณเกลือลง 12% ในช่วงระยะเวลา 2 ปีครึ่ง และหากบริษัทเหล่านั้นตกลงทำตามข้อเรียกร้องนี้ได้ ก็จะช่วยลดการบริโภคโซเดียมโดยเฉลี่ยของชาวอเมริกันจาก 3,400 มิลลิกรัมต่อวัน ลงเหลือ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ทั้งนี้ สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ แนะนำให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 14 ปี บริโภคเกลือเพียง 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน แม้ว่า เป้าหมายที่ตั้งใจคือ การลดปริมาณโซเดียมลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป

ซูซาน เมน (Susan Mayne) หัวหน้าแผนกความปลอดภัยของอาหารและโภชนาการของ FDA กล่าวว่า การลดปริมาณเกลือลงทีละน้อยน่าจะเป็นการลดเสียงตอบรับในเชิงลบจากผู้ผลิตอาหารและผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของตน

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพบางคนวิพากษ์วิจารณ์การที่ FDA ไม่ได้จัดทำแผนรายระยะเวลา 10 ปีเต็ม สำหรับการลดปริมาณโซเดียมออกมาดำเนินการ

ดร. ดาเรียช โมซัฟฟาเรียน (Dr. Dariush Mozaffarian) แห่ง University’s school of Nutrition Science and Policy กล่าวว่า การศึกษาล่าสุดสองชิ้นชี้ให้เห็นว่า FDA ควรจะมีความเด็ดขาดกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการลดการบริโภคเกลือมากกว่าที่เป็นอยู่

การศึกษาในปี 2019 จากสถาบัน National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine พบว่า ปริมาณโซเดียมที่น้อยลงช่วยลดปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ ขณะที่ การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ในประเทศจีนยังแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ใช้สิ่งทดแทนเกลือในการปรุงอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดในสมองแตกและปัญหาหัวใจเมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้เกลือในระดับปกติ

ดร. โมซัฟฟาเรียน กล่าวด้วยว่า ผลกระทบของแนวทางการลดปริมาณโซเดียมนั้น ขึ้นอยู่กับว่า FDA จะติดตามตรวจสอบบริษัทอาหารและความคืบหน้าของบริษัทเหล่านั้นได้ดีมากน้อยแค่ไหนด้วย

อย่างไรก็ตาม องค์กรธุรกิจบางแห่ง เช่น American Frozen Food Institute กล่าวว่า ตนมีผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมน้อยเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคอยู่แล้ว

สำหรับในตอนนี้ แนวทางปฏิบัติดังกล่าวเป็นแผนงานแบบใช้ความสมัครใจเท่านั้น และ ดร.ปีเตอร์ ลูรี (Dr. Peter Lurie) ผู้อำนวยการศูนย์ Center for Science in the Public Interest แนะนำว่า หากผู้ผลิตอาหารไม่แสดงความเต็มใจที่จะลดปริมาณเกลือในผลิตภัณฑ์ของตนลง ก็อาจจะต้องเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติให้เป็นข้อบังคับแทน

(ที่มา: สำนักข่าว เอพี)

XS
SM
MD
LG