ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตรวจสอบข่าว: อดีตปธน.รัสเซีย เล่นเกมจิตวิทยามุ่งป้ายสีผู้นำญี่ปุ่นเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ จริงหรือไม่?


President Joe Biden greets Japanese Prime Minister Fumio Kishida on the South Lawn of the White House in Washington, D.C., on January 13, 2023. (Susan Walsh/AP)
President Joe Biden greets Japanese Prime Minister Fumio Kishida on the South Lawn of the White House in Washington, D.C., on January 13, 2023. (Susan Walsh/AP)
ดมิทรี เมดเวเดฟ

ดมิทรี เมดเวเดฟ

รองประธานสภาความมั่นคงรัสเซีย - อดีตประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีรัสเซีย

“นี่เป็นความน่าละอายครั้งใหญ่ ที่ผมไม่แม้แต่อยากจะให้ความเห็นกรณีอาการวิตกจริตเกี่ยวกับแผนการณ์ด้านนิวเคลียร์ของเรา”

ทำให้สังคมเข้าใจผิด

เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน พบกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ซึ่งเยือนกรุงวอชิงตัน ตามแผนงานการเดินทางเข้าพบผู้นำประเทศพันธมิตรชาติตะวันตก 5 ประเทศ เพื่อหารือประเด็นด้านกลาโหมและความมั่นคงระหว่างกัน

ในแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุม สองผู้นำระบุถึงความท้าทายที่ “อยู่เหนือภูมิศาสตร์” ซึ่งรวมถึง “สงครามอันโหดร้ายและผิดทำนองคลองธรรมในการรุกรานยูเครน” ด้วย

President Joe Biden shakes hands with Japanese Prime Minister Fumio Kishida as they meet in the Oval Office of the White House on January 13, 2023, in Washington, D.C.(Evan Vucci/AP)
President Joe Biden shakes hands with Japanese Prime Minister Fumio Kishida as they meet in the Oval Office of the White House on January 13, 2023, in Washington, D.C.(Evan Vucci/AP)

แถลงการณ์ของปธน.ไบเดน-นายกฯ คิชิดะ แสดงให้เห็นถึง “การสนับสนุนอย่างไม่ย่นย่อต่อยูเครน” ของทั้งสอง และยังเตือน “ว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์ใด ๆ โดยรัสเซียในยูเครน จะเป็นการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อมนุษยชาติและเป็นสิ่งที่หาความชอบธรรมไม่ได้เลยแม้แต่น้อย”

แถลงการณ์นี้นำมาซึ่งการตอบโต้อย่างรุนแรงจาก ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย ทันที

เมดเวเดพ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานสภาความมั่นคงของรัสเซีย ระบุในโพสต์ผ่านบัญชีเทเลแกรมส่วนตัวว่า “นี่เป็นความน่าละอายครั้งใหญ่ ที่ผมไม่แม้แต่อยากจะให้ความเห็นกรณีอาการวิตกจริตเกี่ยวกับแผนการณ์ด้านนิวเคลียร์ของเรา” และว่า “ลองคิดดู หัวหน้ารัฐบาลญี่ปุ่น แสดงความปิติยินดีในความจงรักภักดีอันน่าอดสู ด้วยการพูดจาไร้สาระเกี่ยวกับรัสเซีย (และ)ทรยศต่อความทรงจำของชาวญี่ปุ่นนับแสน ๆ คนที่ถูกแผดเผาในเพลิงนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ และคิชิดะก็ไม่สนใจแม้แต่น้อยว่า ประเทศเดียวที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์เต็มรูปแบบนั้นก็คือสหรัฐอเมริกา”

อดีตปธน.รัสเซียรายนี้ยังเรียก นายกฯ คิชิดะ ว่าเป็นคนรับใช้ของสหรัฐฯ และชี้ว่า ความอัปยศของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะ”ถูกชะล้างไปได้” ด้วย “เซปปุกุ” ซึ่งก็คือ พิธีกรรมฆ่าตัวตายรูปแบบหนึ่ง เท่านั้น

ในความเป็นจริง สิ่งที่เมดเวเดฟพูดออกมานั้นทำให้สังคมเข้าใจผิด เพราะตัวของเขาเองและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของเครมลินต่างหากที่เป็นผู้เริ่มหยิบยกเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาพูด นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มรุกรานยูเครน ขณะที่ การที่สหรัฐฯ ใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อจัดการกับจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น แม้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ก็ถือเป็นประเด็นที่ไม่เกี่ยวกับภัยคุกคามจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียต่อยูเครนเลย

เมื่อมองย้อนกลับไปดูช่วงไม่นานหลังกองทัพมอสโกรุกคืบเข้าไปในยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน สั่งกองกำลังป้องปรามนิวเคลียร์ของรัสเซียให้ “เตรียมระวังภัยขั้นสูง” แล้ว โดยระบุว่า “คำกล่าวดันดุดันก้าวร้าวต่อประเทศเรา” โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก “ประเทศนาโต้ชั้นนำ” ทำให้ต้องมีการเตรียมการ แม้ว่าในความจริง รัสเซียต่างหากที่เป็นผู้เริ่มทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านของตน

ต่อมาในเดือนมีนาคม ดมิทรี เพสคอฟ โฆษกเครมลิน ระบุระหว่างการให้สัมภาษณ์กับ CNN International ว่า รัสเซียอาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ ถ้าต้องเผชิญกับ “ภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของตน”

และในเดือนพฤษภาคมของปีที่แล้ว ปธน.ปูติน กล่าวว่า ใครก็ตามที่เข้ามาขวางทางรัสเซียในยูเครนจะพบกับ “ผลลัพธ์ที่คุณไม่เคยได้ประสบมาก่อนในประวัติศาสตร์ของคุณ” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่หลายคนสรุปความว่า หมายถึง การใช้อาวุธนิวเคลียร์

ในเดือนเดียวกัน อดีตปธน.เมดเวเดฟ เตือนว่า ความช่วยเหลือของชาติตะวันตกต่อยูเครนนั้นได้เพิ่ม “ความน่าจะเป็นของความขัดแย้งโดยตรงอันโจ่งแจ้งระหว่างนาโต้และรัสเซีย” และว่า “ความขัดแย้งเช่นนั้นมักมาพร้อมความเสี่ยงที่จะกลับกลายมาเป็นสงครามนิวเคลียร์เต็มรูปแบบได้”

และเมื่อวันที่ 21 กันยายน ของปีที่แล้วดูเหมือนว่า ปธน.ปูติน จะตั้งใจแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ จากการออกมากล่าวว่า “ถ้าบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศเราถูกคุกคาม ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เราจะใช้ทุกอย่างที่มีเพื่อปกป้องรัสเซียและประชาชนของเรา – นี่ไม่ใช่การบลัฟ ... และพวกที่พยายามจะแบล็กเมล์เราด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ควรรู้ว่า กังหันชี้ทิศทางลมสามารถหันกลับไปชี้ใส่พวกเขาได้”

ที่ผ่านมา ไม่มีประเทศได้ออกมาขู่โจมตีรัสเซียด้วยอาวุธนิวเคลียร์เลย ถึงกระนั้น เมดเวเดฟกล่าวไว้ว่า ความเห็นของปูติน “ไม่ใช่การบลัฟอย่างแน่นอน”

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมดเวเดฟระบุในโพสต์ทางบัญชีสื่อสังคมออนไลน์เทเลแกรมในเดือนกันยายนว่า “ลองจินตนาการดูว่า รัสเซียถูกบีบให้ใช้อาวุธที่มีความน่ากลัวที่สุดกับยูเครน ซึ่งทำการรุกรานขนานใหญ่อันเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของประเทศเรา”

เมดเวเดฟออกมาให้ความเห็นนี้ ในขณะที่รัสเซียกำลังพยายามผนวกอาณาเขตของยูเครนเข้ากับตนเพิ่มเติมโดยผิดกฎหมาย ซึ่งทำให้หลายคนรู้สึกว่า มอสโกอาจสร้างภาพการโจมตีเพื่อยึดคืนดินแดนของยูเครน ว่าเป็นเหมือนการโจมตีรัสเซียเอง

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน หลังจากกองกำลังยูเครนทำการโต้คืนและบีบให้รัสเซียต้องถอนทัพออกจากเมืองเคอร์ซอน (ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเขตปกครองเคอร์ซอนที่รัสเซียประกาศผนวกเข้ากับตนไป) เมดเวเดฟออกมาโพสต์ข้อความทางเทเลแกรมเพื่อเตือนว่า “รัสเซีย มีเหตุผลอันชัดเจน ที่ยังไม่ใช้อาวุธ อุปกรณ์ และกระสุนที่มีอยู่ในคลังทั้งหมด”

ในเดือนต่อมา เมดเวเดฟก็ออกมาพูดขู่เรื่องการใช้อาวุธนิวเคลียร์อีก

รอยเตอร์รายงานข้อความที่เมดเวเดฟเขียนให้กับหนังสือพิมพ์ Rossiskaya Gazetea ของรัฐบาลรัสเซีย ซึ่งระบุว่า “พวกตะวันตกพร้อมที่จะเปิดฉากสงครามเต็มรูปแบบกับเราแล้วหรือยัง หมายถึง สงครามนิวเคลียร์ ด้วยน้ำมือของยูเครน” และว่า “สิ่งเดียวที่จะหยุดยั้งศัตรของเราในวันนี้คือ ความเข้าใจที่ว่า รัสเซียนั้นถูกนำทางด้วยพื้นฐานของนโยบายรัฐ ... ด้านการป้องปรามนิวเคลียร์ ... และในกรณีที่เกิดภัยคุกคามอันแท้จริงขึ้น (รัสเซีย) ก็จะจัดการกับทั้งหมดตามนั้น”

Deputy head of Russia's Security Council and chairman of the United Russia party, Dmitry Medvedev, second left, visits Totsk military garrison in the Orenburg region on August 5, 2022. (Ekaterina Shtukina/Sputnik,/via AP)
Deputy head of Russia's Security Council and chairman of the United Russia party, Dmitry Medvedev, second left, visits Totsk military garrison in the Orenburg region on August 5, 2022. (Ekaterina Shtukina/Sputnik,/via AP)

นอกจากนั้น เมดเวเดฟยังเปรียบเทียบเจ้าหน้าที่ยูเครนเป็นเหมือนแมลงสาบและเรียกร้องให้มีการ “กำจัดล้างบาง” ความเป็นรัฐของยูเครนได้แล้ว

ในเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว รามซาน คาดีรอฟ หัวหน้าผู้ดูแลแคว้นเชชเนียของรัสเซีย ซึ่งได้รับการเลื่อนขั้นให้มาช่วยดูแลกองทัพของตนในสงครามในยูเครน แนะให้ “ใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่มีแรงระเบิดต่ำ” ดู หลังฝ่ายมอสโกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำในสนามรบ

แต่ความเห็นดังกล่าวถูกเครมลินออกมายิงตกอย่างนุ่มนวลทันที

ต่อมาในวันที่ 17 มกราคมของปีนี้ คาดีรอฟกล่าวว่า รัสเซียจะไม่ยอมปล่อยให้ตนเองต้องพ่ายแพ้ในการสู้รบ และกล่าวเสริมว่า “เราสามารถกดปุ่มและ “ซาลาม มาเลย์กุม” [ซึ่งแปลได้ว่า ‘ขอให้สันติภาพบังเกิดแก่คุณ’]

ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำจากสื่อรัฐบาลรัสเซียก็ออกมาขู่รื่องการใช้อาวุธนิวเคลียร์อยู่เป็นประจำ

สื่อ The New York Timesรายงานว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายรายกล่าวว่า ผู้นำอาวุโสของกองทัพรัสเซียหารือเรื่องการใช้อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีในยูเครนกันบ้าง แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่า รัสเซียนั้นกำลังเตรียมการโจมตีเช่นนั้นอยู่จริง

นักวิเคราะห์บอกกับสถานีโทรทัศน์ Deutsche Welle ของเยอรมนี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้วว่า การยกระดับการขู่การใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นการเตือนให้โลกระลึกได้ถึงคลังนิวเคลียร์ของรัสเซีย ซึ่งน่าจะทำให้กรุงมอสโกสามารถทำการเรียกร้องต่าง ๆ ได้โดยปูติน “ไม่ต้องเจ็บตัวเลย”

เป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจที่ เมดเวดเดฟอ้างประเด็นสงครามระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมาวิจารณ์ผู้นำกรุงโตเกียว เมื่อดูจากกระบวนการสร้างข้อมูลบิดเบือนของรัสเซียที่มักหยิบยกเรื่องที่อดีตสหภาพโซเวียตสู้รบกับนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเป็นข้ออ้างในการทำสงครามในยูเครน โดยรัสเซียยังอ้างอย่างผิด ๆ ว่า ตนรุกรานยูเครนเพื่อ “กำจัดนาซี” และทำให้ประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้ “ปลอดทหาร”

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในรายงานที่ออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้วว่า “เครมลินหวังว่า การหยิบยกลัทธินาซีและความสยดสยองที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ขึ้นมาพูด จะทำลายความชอบธรรมและสร้างภาพของยูเครนให้ดูชั่วร้ายในสายตาประชาชนชาวรัสเซียและชาวโลก”

ก่อนหน้านั้นในเดือนพฤษภาคม ทูตรัสเซียประจำญี่ปุ่นได้ออกมาชี้ว่า รัฐบาลกรุงโตเกียวนั้นไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ มากเท่าใดต่อการทิ้งระเบิดปรมาณูลงเมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ในปี ค.ศ. 1945 และยังออกมาทำการเปรียบเทียบอย่างผิด ๆ ในเรื่องที่ชาติตะวันตกและญี่ปุ่นคัดค้านการทำสงครามของรัสเซียในยูเครนกับการที่จักรวรรดิญี่ปุ่นเข้าข้างนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย

Japanese Prime Minister Fumio Kishida and U.S. Ambassador to Japan Rahm Emanuel visit Hiroshima's Peace Memorial Park on March 26, 2022. (Kyodo News via Reuters)
Japanese Prime Minister Fumio Kishida and U.S. Ambassador to Japan Rahm Emanuel visit Hiroshima's Peace Memorial Park on March 26, 2022. (Kyodo News via Reuters)

การอภิปรายถกเถียงว่า การใช้ระเบิดปรมาณูจัดการกับญี่ปุ่นเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ และว่า สหรัฐฯ ควรออกมาขอโทษต่อสิ่งที่ตนกระทำหรือไม่ ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง

แต่ไม่ว่ารัฐบาลมอสโกจะปั่นประเด็นมากเท่าใด เรื่องของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลญี่ปุ่นที่ปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตยสนับสนุนยูเครนในวันนี้ และไม่ได้เกี่ยวกับความกังวลที่ว่า รัสเซียอาจใช้อาวุธนิวเคลียร์หรือไหม่ ถ้าตนรู้สึกว่า กำลังจะพ่ายแพ้ให้กับยูเครน

ที่มา: ฝ่าย Polygraph วีโอเอ

XS
SM
MD
LG