ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตรวจสอบข่าว: ทิศทางเศรษฐกิจรัสเซียดีเหมือนปูตินมองหรือไม่


A model of a pump jack is seen in front of the displayed word "Sanctions;" U.S. and Russian flag colors in this illustration taken March 8, 2022. (Dado Ruvic/REUTERS)
A model of a pump jack is seen in front of the displayed word "Sanctions;" U.S. and Russian flag colors in this illustration taken March 8, 2022. (Dado Ruvic/REUTERS)
วลาดิเมียร์ ปูติน

วลาดิเมียร์ ปูติน

ประธานาธิบดีรัสเซีย

“อย่างที่ทราบกันดี ว่า มีการดำเนินมาตรการลงโทษต่อรัสเซียในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ... โดยมีเป้าหมายที่จะบดขยี้เศรษฐกิจของเรา ... และอย่างที่เห็นกันอยู่ ในความเป็นจริง และนี่คือสิ่งที่ทุกคนรู้ดีกันอยู่ -- แผนดังกล่าวนั้นล้มเหลวไปแล้ว”

เท็จ

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา สมาชิกสภาพัฒนากลยุทธ์ของรัสเซียเข้าร่วมการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ซึ่งกล่าวว่า รัฐบาลของตนได้นำพาประเทศไม่ให้ได้รับผลกระทบจากมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจของชาติตะวันตกต่อรัสเซียได้สำเร็จ โดยกล่าวว่า:

“อย่างที่ทราบกันดี ว่า มีการดำเนินมาตรการลงโทษต่อรัสเซียในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ... โดยมีเป้าหมายที่จะบดขยี้เศรษฐกิจของเรา ... และอย่างที่เห็นกันอยู่ ในความเป็นจริง และนี่คือสิ่งที่ทุกคนรู้ดีกันอยู่ – แผนดังกล่าวนั้นล้มเหลวไปแล้ว”

ปธน.ปูตินและเจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียรายอื่น ๆ พร่ำบอกมาเสมอว่า มอสโกสามารถลบล้างผลกระทบด้านลบของมาตรการลงโทษต่าง ๆ ต่อเศรษฐกิจของรัสเซียได้แล้ว

แต่คำกล่าวอ้างนั้นเป็นการบิดเบือนความจริง

มาตรการลงโทษในส่วนที่พุ่งเป้าไปยังเศรษฐกิจนั้นครอบคลุมหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจของรัสเซีย และมีจุดประสงค์ที่จะส่งสัญญาณว่า เหล่าชาติตะวันตกนั้นมีความสามัคคีเป็นปึกแผ่นในการสนับสนุนยูเครน และเพื่อจำกัดความสามารถของเครมลินในการนำส่งเสบียงคลังเพื่อการทำสงครามด้วยการลดทรัพยากรในประเทศและการสกัดการค้าระหว่างประเทศ

และแม้มาตรการเหล่านี้จะนำมาซึ่งผลกระทบชั่วคราวและย้อนกลับไปสร้างปัญหาให้บางประเทศบ้าง ในระยะยาวนั้น มาตรการลงโทษต่าง ๆ บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้เป็นอย่างดี

นับตั้งแต่มีการดำเนินมาตรการลงโทษต่อรัสเซียที่ทำการสั่นคลอนเสถียรภาพพื้นที่ภาคตะวันออกของยูเครนและผนวกคาบสมุทรไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนในปี ค.ศ. 2014 ชาติตะวันตกได้ขยายการดำเนินการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อมอสโกส่งกองทัพรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจาก Yale Chief Executive Leadership Institute (CELI) ให้ความเห็นระหว่างเข้าร่วมการแถลงข่าวของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมว่า ผลกระทบของมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจของรัสเซียนั้น “สร้างความเสียหายในระดับทำลายล้างได้” เลย

ข้อมูลที่ CELI รวบรวมมาเพื่อทำการศึกษาภาพรวมเศรษฐกิจรัสเซียและสรุปว่า “จากการวิเคราะห์ของเรา มีความชัดเจนแล้วว่า: มาตรการลงโทษและการถอนตัวของภาคธุรกิจทำให้เศรษฐกิจรัสเซียทรุดโทรมแทบย่อยยับแล้ว”

การศึกษานั้นระบุด้วยว่า มีธุรกิจเอกชนราว 1,100 แห่งที่ตัดสินใจถอนตัวออกจากรัสเซียเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับยูเครน

ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ ซอนเนนเฟลด์ จาก Yale Chief Executive Leadership Institute กล่าวว่า “จนถึงบัดนี้ ไม่เคยมีเรื่องแบบนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์โลกที่บริษัทข้ามชาติกว่า 1,100 แห่งอาสาถอนตัวออกมา”

นอกจากนั้น รายงานจาก Institute for the Study of War ในกรุงวอชิงตันซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ระบุว่า “ปูตินนั้นยังคงเดินหน้าถลุงงบประมาณไปกับการทำสงครามในยูเครน” และว่า ผู้นำรัสเซีย “อาจต้องลดงบประมาณสำหรับโครงการท้องถิ่นหรือระหว่างประเทศอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน” และ “เสี่ยงที่จะประสบกับสถานการณ์ฉุกเฉินทางการเงินในแบบที่ว่า จะไม่สามารถสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายแบบจัดเต็ม-ไปให้สุดในสงครามยูเครน กับเป้าหมายการเป็นมหาอำนาจโลกของตนเอง” ได้

นอกจากจะประกาศความอยู่ยงคงกระพันทางเศรษฐกิจต่อมาตรการลงโทษต่าง ๆ แล้ว ปธน.ปูติน ยังระบุในคำปราศรัยต่อสภาพัฒนากลยุทธ์ด้วยว่า เงินรูเบิลของรัสเซียนั้น เป็น “สกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกสกุลหนึ่ง” ด้วย

A one hundred rubles banknote is pictured in front of a one US dollar banknote. April 25, 2022. Russia's currency went down and up again since Russia's war in Ukraine and intensified Western sanctions. (AP Photo/Martin Meissner)
A one hundred rubles banknote is pictured in front of a one US dollar banknote. April 25, 2022. Russia's currency went down and up again since Russia's war in Ukraine and intensified Western sanctions. (AP Photo/Martin Meissner)

เมื่อดูเผิน ๆ คำกล่าวอ้างของปธน.ปูตินเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเงินรูเบิลนั้นไม่ผิดจากความจริงนัก หากพิจารณาข้อมูลของรายงานจากตลาดเงินโลกอย่างน้อยในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้

แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นั่น “ไม่ใช่ความจริงเสียทีเดียว” อย่างที่ สตีเฟน เทียน จาก Yale Chief Executive Leadership Institute อธิบายไว้ดังนี้:

“ปูตินชอบที่จะพูดเกี่ยวกับเงินรูเบิลของรัสเซียและความแข็งแกร่งของสกุลเงินนี้ นั่นไม่ได้จริงเสียทีเดียว มันเป็นเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนเทียม มันเป็นภาพสะท้อนของมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนของภาครัฐ

ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ คือ ถ้าคุณอยู่ในรัสเซียตอนนี้ คุณไม่มีหนทางที่ถูกกฎหมายใดที่จะหาเงินดอลลาร์มาได้เลย คุณไม่มีทางเข้าถึงบัญชีเงินฝากสกุลดอลลาร์ คุณไม่สามารถซื้อเงินดอลลาร์จากธนาคารได้ ... และคุณก็จะเห็นว่าปริมาณการซื้อขายเงินรูเบิลร่วงหนัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ต้องมีการจ่ายเงินเพิ่มอย่างมากในตลาดมืด

หนึ่งในมาตรการที่รัสเซียดำเนินการเพื่อสนับสนุนสกุลเงินของตนก็คือ การบอกกับผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียให้ชำระค่าสินค้าด้วยเงินรูเบิล แต่ในเดือนมีนาคม สมาชิกกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ จี-7 ปฏิเสธคำร้องขอนี้โดยระบุว่า เป็นสิ่งที่รัสเซียเลือก “ทำฝ่ายเดียว” และเป็น “การละเมิดสัญญาที่มีอยู่อย่างชัดเจน”

รายงานของสื่อ NPR อธิบายไว้ว่า รัสเซียใช้ “ช่องโหว่ของกำแพงมาตรการลงโทษ” มาตลอด อย่างเช่น การเดินหน้ารับเงินดอลลาร์เข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยการหันไปค้าขายกับประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้ร่วมลงโทษตน เช่น จีน อินเดีย และตุรกี แทน

นอกจากนั้น รัฐบาลมอสโกยังสั่งดำเนินนโยบายจำกัดต่าง ๆ เช่น การบังคับให้ภาคธุรกิจรัสเซียต้องโอน 80% ของเงินที่มีอยู่ในต่างประเทศกลับเข้ารัสเซียในรูปของเงินรูเบิล และห้ามนายหน้ารัสเซียไม่ให้ขายหลักทรัพย์ที่ถือครองโดยคนต่างชาติ ซึ่งมีผลให้สามารถเก็บเงินไว้ในประเทศและทำให้ค่าเงินรูเบิลไม่ร่วงหนัก

NPR ระบุด้วยว่า “การเล่นแร่แปรธาตุทางการเงิน” แบบนั้นมีความเสี่ยงอยู่ เพราะการทำเช่นนั้นสร้างภาพลวงตาเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเงิน โดยเฉพาะในรูปแบบที่เรียกว่าเป็น “Potemkin currency” ซึ่งเป็นนิยามที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียรายหนึ่งในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่สร้างหมู่บ้านปลอม ๆ ขึ้นมาเพื่อโน้มน้าวสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีน ให้เชื่อว่า แผนงานกระตุ้นความแข็งแกร่งของค่าเงินรูเบิลนั้นประสบความสำเร็จจริง

“ประธานธนาคารกลางของรัสเซีย เอลวิรา นาบิวลินา กำลังเล่นตามเกม ‘โพเตมคิน’ ของปูติน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับแคทเธอรีน ด้วยการใช้เครื่องมือมากมายที่ทำให้เงินรูเบิลดูเหมือนเป็นสกุลเงินที่มีค่าอยู่ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว มีคนไม่กี่คนนอกรัสเซียที่ยังต้องการซื้อเงินรูเบิล ถ้าหากพวกเขาไม่ต้องซื้อจริง ๆ ในขณะที่ คนหลายคนในรัสเซียเองก็ไม่ได้ต้องการเงินรูเบิลอยู่เช่นกัน”

ยิ่งไปกว่านั้น บทวิเคราะห์ล่าสุดโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ชี้ว่า ความพยายามของรัสเซียที่จะสร้างภาพลวงตาว่าเงินสกุลรูเบิลนั้นแข็งแกร่งดูจะค่อย ๆ หมดแรงลง เมื่อดูจากที่สกุลเงินรัสเซียอ่อนค่าจนถึงจุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม

ทั้งนี้ มีผู้ที่ออกมาให้ความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ว่า แรงกดดันจากมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียนั้นน่าจะเริ่มถดถอยลงในเร็ว ๆ นี้ โดยชี้ว่า การจำกัดน้ำมันและก๊าซของรัสเซียกลับมาเป็นปัจจัยผลักดันให้กลุ่มประเทศยุโรปต้องเร่งหาแหล่งพลังงานอื่น ๆ มาทดแทน นอกจากนั้น การลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียยังทำให้เกิดวิกฤตพลังงานในยุโรป และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งด้วย

อย่างไรก็ดี โดยนักวิเคราะห์ชี้ว่า อิสรภาพจากการไม่ต้องพึ่งพาพลังงานของรัสเซียทำให้ยุโรปมีโอกาสจะเลือกหุ้นส่วนที่เชื่อถือได้ และมุ่งความสนใจไปยังการเปลี่ยนถ่ายไปใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น และมาตรการต่าง ๆ นี้ยิ่งจะทำให้มอสโกไม่มีโอกาสใช้น้ำมันและก๊าซของตนเป็นเบี้ยเพื่อทำการแบล็คเมล์เพื่อประโยชน์ทางการเมืองได้อีกในอนาคต

  • ที่มา: ฝ่าย Polygraph วีโอเอ
XS
SM
MD
LG