ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ตรวจสอบข่าว: จริงหรือไม่ จีนใช้ข้อผิดพลาดในข่าวฉลองปีใหม่ไต้หวัน-ไทย โดยซีเอ็นเอ็น โจมตีสหรัฐฯ


Fireworks explode over Wat Arun during New Year celebrations in Bangkok on January 1, 2023. (Athit Perawongmetha/Reuters)
Fireworks explode over Wat Arun during New Year celebrations in Bangkok on January 1, 2023. (Athit Perawongmetha/Reuters)
หัว ชุนยิง

หัว ชุนยิง

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน

“ดูเหมือนเป็นบทเรียนภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ให้กับพวกที่สาบานว่าจะปกป้องไต้หวัน แต่ไม่รู้ว่า(เกาะนี้)อยู่ที่ไหน”

ทำให้สังคมเข้าใจผิด

เมื่อวันสิ้นปีที่เพิ่งพ้นไป สถานีข่าว ซีเอ็นเอ็น (CNN) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย นำเสนอข้อมูลผิดพลาดหลายจุดในรายงานการฉลองต้อนรับปีใหม่ที่ไต้หวันและที่ประเทศไทย และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ภาคภาษาอังกฤษ Taiwan News ก็รวบรวมข้อผิดพลาดทั้งหมดมาเสนออย่างรวดเร็ว

ในเรื่องนี้ วิล ริปลีย์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสของซีเอ็นเอ็น ที่ประจำอยู่ที่กรุงไทเป และร่วมรายงานงานเฉลิมฉลองคืนข้ามปีด้วย ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านแพลตฟอร์มทวิตเตอร์เรียบร้อยแล้ว

Fireworks explode over the Chao Phraya River during New Year celebrations in Bangkok on January 1, 2023. (Sakchai Lalit/AP)
Fireworks explode over the Chao Phraya River during New Year celebrations in Bangkok on January 1, 2023. (Sakchai Lalit/AP)

ริปลีย์ ยอมรับว่า ความสับสนของการพูดถึงไต้หวันและประเทศไทยสลับกันเป็น “หัวข้อที่อ่อนไหวสำหรับคนหลายคน” และกล่าวด้วยว่า คริสตี ลู สเตาท์ ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ประจำฮ่องกง ซึ่งร่วมรายงานการถ่ายทอดสดในคืนนั้นด้วย “ไม่มีทางที่จะสับสน” ระหว่างประเทศไทยและไต้หวันเป็นอันขาด

ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นรายนี้ชี้ว่า ความผิดพลาดของการขึ้นรายละเอียดประกอบภาพฟุตเทจที่ปรากฏออกมานั้น เป็น “ปัญหาทางเทคนิค” และบอกว่า การทำรายการสดทางโทรทัศน์นั้นเป็นเรื่อง “ซับซ้อนจนอาจเกิดความผิดพลาดได้”

แต่ หัว ชุนยิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ใช้ประเด็นความผิดพลาดของซีเอ็นเอ็นในครั้งนี้ ออกมาโจมตีนโยบายของสหรัฐฯ เกี่ยวกับไต้หวันอยู่ดี โดยทวีตภาพที่ถ่ายจากหน้าจอที่แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดที่ว่า ซึ่งเป็นภาพของการจุดพลุฉลองปีใหม่พร้อมข้อความที่ชี้ว่า สถานที่นั้นคือ “กรุงเทพฯ, ไต้หวัน”

โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศจีนรายนี้ เขียนข้อความประกอบภาพที่ทวีตออกมาว่า “ดูเหมือนเป็นบทเรียนภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ให้กับพวกที่สาบานว่าจะปกป้องไต้หวัน แต่ไม่รู้ว่า(เกาะนี้)อยู่ที่ไหน”

ในความเป็นจริง การออกมาวิพากษ์วิจารณ์ซีเอ็นเอ็นนั้นเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็มีสิทธิ์กระทำใด เช่นเดียวกับกรณีความผิดพลาดที่บริษัทสื่ออื่น ๆ เคยทำมา แต่การที่โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนฉวยโอกาสนำประเด็นความผิดพลาดของสถานีข่าวเอกชนมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของสหรัฐฯ นั้นถือเป็นการทำให้สังคมเข้าใจผิด

การออกมาผูกเรื่องเช่นนี้ สะท้อนภาพความตึงเครียดในด้านความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่เกี่ยวเนื่องกับไต้หวันที่ยกระดับขึ้นมาสักพักแล้ว

เมื่อวันที่ 18 กันยายนของปีที่แล้ว ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์กับรายการ ’60 Minutes’ ทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส (CBS) ว่า กองกำลังสหรัฐฯ จะปกป้องไต้หวันที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ถ้าหากจีนทำการ “โจมตีอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

คำกล่าวที่ว่านี้ทำให้กรุงปักกิ่งไม่พอใจทันที และออกมายืนยันว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนภายใต้ “นโยบายจีนเดียว”

ทั้งนี้ กรุงวอชิงตันยอมรับรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ในกรุงปักกิ่งว่าเป็น “รัฐบาลจีนที่ถูกต้องตามกฎหมายแห่งเดียว” แต่ให้การรับรองเพียง “จุดยืนของกรุงปักกิ่งที่ว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน” โดยสหรัฐฯ ไม่สนใจประเด็นอธิปไตยของไต้หวัน

ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศยกระดับขึ้นอย่างชัดเจนเมื่ออดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐน แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวันเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมของปีที่แล้ว โดยผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติสหรัฐฯ อ้างว่า เป็นเพื่อ “แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ไม่สั่นคลอนของอเมริกาในการสนับสนุนประชาธิปไตยอันมีชีวิตชีวาของไต้หวัน”

จีนมีปฏิกิริยาตอบโต้ค่อนข้างดุเดือดต่อการเยือนไต้หวันของเพโลซี ด้วยการจัดการซ้อมรบโดยใช้กระสุนจริงและปฏิบัติการฝึกซ้อมทางทหารอื่น ๆ ทั้งทางน้ำและทางอากาศรอบ ๆ ไต้หวันทันที

Then U.S. House of Representatives Speaker Nancy Pelosi attends a meeting with Taiwan President Tsai Ing-wen at the presidential office in Taipei on August 3, 2022. (Taiwan Presidential Office/ via Reuters)
Then U.S. House of Representatives Speaker Nancy Pelosi attends a meeting with Taiwan President Tsai Ing-wen at the presidential office in Taipei on August 3, 2022. (Taiwan Presidential Office/ via Reuters)

แต่ประเด็นนี้เกี่ยวอะไรกับการถ่ายทอดภาพการฉลองปีใหม่ของซีเอ็นเอ็น?

จีนนั้นก็เหมือนประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการอื่น ๆ มักปฏิบัติต่อสื่อตะวันตกเสมือนว่า ทุกรายนั้นเป็นกระบอกเสียงสะท้อนตัวตนของรัฐบาลสหรัฐฯ เสมอ

ในความเป็นจริง สื่อสหรัฐฯ (เช่นเดียวกัน เพื่อนร่วมวงการจาก “ตะวันตก”) มีโครงสร้างการสนับสนุนด้านการเงินและผู้เป็นเจ้าของที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น วีโอเอ เป็นส่วนหนึ่งของ U.S. Agency for Global Media (USAGM) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ดูแลงานด้านการกระจายเสียงระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการด้านทหารใด ๆ โดยมีการปกป้องทางกฎหมาย หรือ ระบบไฟร์วอลล์ทางกฎหมาย ที่ห้ามไม่ให้มีการแทรกแซงทางการเมืองในการรายงานข่าวใด ๆ ของวีโอเอ

และอย่างที่ฝ่าย Polygraph เคยรายงานก่อนหน้านี้ การที่จีนออกมาโจมตีสื่อตะวันตกนั้นมักเกิดขึ้นจากสมมติฐาน (หรือการตีความผิดโดยตั้งใจ) ว่า สื่อเหล่านี้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับสื่อของรัฐในประเทศจีน

เมื่อปี ค.ศ. 2016 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สั่งการให้สื่อของรัฐติดตามรายงานข่าวของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Party – CCP) อย่างเข้มข้นและให้มุ่งเน้น “การทำรายงานเชิงบวก” ด้วย

สำนักข่าวซินหัวของรัฐบาลจีน เคยรายงานว่า ปธน.สี เคยพูดว่า “หน่วยงานสื่อทั้งหมดภายใต้พรรค(คอมมิวนิสต์)ต้องทำงานเพื่อถ่ายทอดเจตนารมย์ของพรรคและโจทย์ทั้งหลาย และปกป้องเจ้าหน้าที่และความสามัคคีของพรรค”

รายงานดังกล่าวระบุว่า ผู้นำจีนยังร้องขอ “การศึกษาด้านสื่อสารมวลชนแบบลัทธิมากซ์” ให้มีการ “ส่งเสริมในหมู่ผู้สื่อข่าว” ด้วย

คนบางกลุ่มในจีนมองสื่อตะวันตกว่า “มีอคติต่อจีนเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว” ซึ่งเป็นเพราะการรายงานข่าวเชิงวิพาษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ในทิเบต ซินเจียง ประเด็นความกังวลด้านสิทธิมนุษยชน และประเด็นอ่อนไหวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน

คำกล่าวล่าสุดของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนบ่งชี้ประเด็นความเชื่อว่า ซีเอ็นเอ็น ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน ทำงานเฉกเช่นเดียวกับสื่อรัฐของจีน

ในกรณีนี้ ความผิดพลาดของซีเอ็นเอ็นไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของผู้สื่อข่าวที่ร่วมบรรยายภาพบรรยากาศขณะออกอากาศเลย

วิล ริปลีย์ ผู้สื่อข่าวของซีเอ็นเอ็น รายงานสดออกมาจากอาคาร Taipei 101 ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดของไต้หวัน ที่มีการจัดการแสดงพลุฉลองวันปีใหม่ ขณะที่ คริสตี ลู สเตาท์ ผู้สื่อข่าวอีกคนก็รายงานสดมาจากฮ่องกง โดยในคลิปวิดีโอที่ ริปลีย์ ทวีตออกมา แสดงให้เห็นภาพขณะที่ สเตาท์ บอกกับ ริปลีย์ ว่า “ดิฉันรู้ว่าคุณอยู่ที่ไทเป แต่เรากำลังพูดถึงกรุงเทพอยู่ในตอนนี้” ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังก้าวข้ามสู่ปีใหม่อยู่ โดยเวลาที่ไทยนั้นช้ากว่าที่ไทเปและฮ่องกง 1 ชั่วโมง

สิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นเรื่องของความผิดพลาดของฝ่ายผลิตระหว่างการออกอากาศมากกว่า

ผู้สื่อข่าวทั้งสองคนยังได้พูดถึงประสบการณ์ของตนที่กรุงเทพฯ และยังพูดถึงสถานที่สำคัญ ๆ ของเมืองหลวงของไทยในการสนทนาด้วย โดย สเตาท์ ยังได้พูดถึงอาคารคิงพาวเวอร์มหานคร ว่าเป็นจุดที่ดีในการชมพลุวันขึ้นปีใหม่ในกรุงเทพฯ และ ริปลีย์ ก็พูดถึง Sky Bar ซึ่งเป็นบาร์ค็อกเทลของโรงแรม เลอ บัว บนยอดตึก สเตท ทาวเวอร์ ว่าเป็นจุดชมวิวที่ดีด้วย

ถึงกระนั้น แอนดี บอร์แฮม นักเขียนคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์ Shanghai Daily ของรัฐบาลจีน ตอบโพสต์ทางทวิตเตอร์ของริปลีย์ โดยเขียนว่า “แต่ก็ไม่มีข้อแก้ตัวนะ วิล – ผมรับประกันได้ว่า คุณไม่มีทางชี้จุดที่ตั้งของทั้งสองแห่งในแผ่นที่เปล่า (ที่ไม่มีการเขียนชื่อระบุไว้) ได้อยู่ดี”

จากนั้น หนังสือพิมพ์ Global Times ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็ตีพิมพ์ประวัติสรรเสริญ บอร์แฮม ว่า เป็นผู้ที่ “มีความปรารถนามุ่งมั่นที่จะนำเสนอจีนที่แท้จริง” และกล่าวด้วยว่า รายการ “Reports on China” ของ บอร์แฮม ทาง YouTube “นำเสนอเรื่องราวที่เป็นความจริงในจีน และวิเคราะห์ว่า แหล่งที่มาจากสื่อตะวันตกทำการบิดเบือนรายงานดังกล่าวอย่างไรบ้าง”

ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ ระบุว่า บอร์แฮม เป็น “สื่อที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน”

ขณะเดียวกัน รัสเซียก็มองสื่อตะวันตกแบบเดียวกับที่จีนทำ โดยสื่อโทรทัศน์ RT (อดีตคือ Russia Today) ของทางการรัสเซีย มักคอยรายงานความผิดพลาดที่ซีเอ็นเอ็นทำออกมาเป็นประจำ

ตัวอย่างของรายงานที่ว่านั้น สามารถติดตามดูได้จากลิงค์นี้ รวมทั้งลิงค์นี้ และลิงค์นี้

RT ยังระบุในรายงาน “สุดยอดคู่มือแนะแนว” สำหรับ “สื่อหลัก” ด้วยว่า “มุมมองโลกของซีเอ็นเอ็นนั้น สามารถถอดรหัสออกมาจากการศึกษาสุนทรพจน์ของ ฮิลลารี คลินตัน”

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย มีมุมมองขัดแย้งมากมายกับ คลินตัน ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ วุฒิสมาชิก และตัวแทนพรรคเดโมแครตลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยในปัจจุบัน คลินตัน เป็นประชาชนคนธรรมดาแล้ว ขณะที่ ไม่มีความชัดเจนว่า RT เขียนคู่มือแนะแนวที่ว่านี้ ตั้งแต่สมัยเมื่อเธอยังคงทำงานในรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่หรือไม่

ขณะที่ ซีเอ็นเอ็น เป็นบริษัทเอกชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลเลย สื่อ RT นั้นปฏิบัติงานคล้าย ๆ กับกระบอกเสียงของเครมลิน

ในรายงานที่ออกมาเมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2022 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า สื่อ RT และสื่อ Sputnik ในเครือของตน ใช้ “การปิดบังซ่อนเร้นว่า ตนเป็นสื่อระหว่างประเทศแบบปกติธรรมดาทั่วไป ในการให้การสนับสนุนด้านข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลโฆษณาชวนเชื่อแก่เป้าหมายด้านนโยบายต่างประเทศของเครมลิน”

รายงานนี้ยังกล่าวด้วยว่า “เจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียและผู้นำสื่อเหล่านี้ มีการหารือบทบาทของ RT และ Sputnik ในฐานะเครื่องมือด้านโฆษณาชวนเชื่อของรัฐอย่างโจ้งแจ้งด้วย”

  • ที่มา: ฝ่าย Polygraph วีโอเอ
XS
SM
MD
LG