ในช่วงบ่ายของวันที่ 15 พฤศจิกายน ทางการโปแลนด์เปิดเผยว่า เกิดเหตุขีปนาวุธลูกหนึ่งระเบิดขึ้นใกล้ ๆ กับหมู่บ้านเชโวดู ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพรมแดนที่ติดกับยูเครน และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย
ในเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ยูเครนและสื่อบางแห่งรายงานว่า เหตุที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือของรัสเซียซึ่งทำการยิงขีปนาวุธจำนวนมากเข้าใส่โครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าและเป้าหมายอื่น ๆ มากมายทั่วยูเครน ขณะที่ ประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี เรียกการโจมตีใส่โปแลนด์ว่า เป็น “การยกระดับสงครามอย่างมีนัยสำคัญ”
ทางฝ่ายรัสเซีย กระทรวงกลาโหมในมอสโกออกคำปฏิเสธคำกล่าวหานี้ทันที ผ่านแอปพลิเคชั่น เทเลแกรม ว่า “สื่อและเจ้าหน้าที่รัฐบาลโปแลนด์ทำการยั่วยุอย่างจงใจเพื่อยกระดับสถานการณ์ ด้วยคำแถลงที่กล่าวอ้างถึงจรวด 'รัสเซีย' ในเชโวดู”
ประเด็นนี้ถือเป็นการทำให้สังคมเข้าใจผิด
ความเป็นจริงนั้น ในวันต่อมา ทางการโปแลนด์เปิดเผยว่า เหตุระเบิดนั้นน่าจะเกิดจากขีปนาวุธป้องกันทางอากาศของยูเครนและไม่ได้เป็นการโจมตีอย่างจงใจโดยรัสเซีย และการที่รัสเซียจะโจมตีโปแลนด์อย่างจงใจนั้นทำให้เกิดกระแสความกลัวว่า สหรัฐฯ และพันธมิตรองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ซึ่งรวมถึงโปแลนด์ จะถูกลากเข้ามาร่วมความขัดแย้งกับรัสเซียทันที
แต่ทั้งนี้ เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโต้ กล่าวได้ถูกต้องว่าการยั่วยุนั้นเป็นฝีมือของรัสเซีย ไม่ใช่ของโปแลนด์หรือของยูเครน โดยระบุว่า “ผมขอพูดให้ชัดเลย รัสเซียต้องเป็นผู้รับผิดชอบทุกอย่าง ขณะที่ยังคงเดินหน้าทำสงครามอันผิดกฎหมายในยูเครนต่อไปอยู่”
ปธน.เซเลนสกี กล่าวว่า ในการโจมตีครั้งล่าสุดนี้ รัสเซียยิงขีปนาวุธราว 85 ลูกเข้าใส่โรงไฟฟ้าทั่วยูเครน ซึ่งทำให้เกิดไฟฟ้าดับในหลายจุด ขณะที่ กองกำลังปกป้องยูเครนอ้างว่า ตนยิงขีปนาวุธรัสเซียตกไปราว 70 ลูก
รายงานข่าวระบุว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัสเซียพุ่งเป้าการโจมตีไปยังพลเรือน โดยหลังทำการระดมยิงคล้าย ๆ กันด้วยขีปนาวุธแบบร่อนและโดรนของอิหร่านไปเมื่อกลางเดือนตุลาคม เออร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า รัสเซียได้ก่ออาชญากรรมสงครามไปแล้ว
ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ระบุว่า “การโจมตีโดยพุ่งเป้าไปยังโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนด้วยจุดประสงค์อันชัดเจนที่จะต้องการตัดขาดน้ำ ไฟฟ้า และระบบทำความร้อน ออกจาก ชาย หญิง และเด็ก ๆ ในขณะที่ฤดูหนาวกำลังจะมาถึง – การกระทำทั้งหมดนี้คือ การก่อการร้ายอันแท้จริงและเราก็ต้องเรียกสิ่งนี้ตามที่เป็น”
มาตรา 8 ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้คำจำกัดความสำหรับคำว่า อาชญากรรมสงคราม ไว้ดังนี้:
"การทำลายล้างและการเข้ายึดครองทรัพย์สินอย่างกว้างขวาง โดยไม่มีเหตุผลความจำเป็นทางทหารและเกิดขึ้นอย่างผิดกฎหมายและเอาแต่ใจตนเอง"
และ:
"การดำเนินการโจมตีอย่างจงใจเข้าใส่กลุ่มพลเรือน หรือบุคคลที่เป็นพลเรือนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบใด ๆ;
"การดำเนินการโจมตีอย่างจงใจเข้าใส่เป้าหมายของพลเรือน ซึ่งก็คือ เป้าหมายที่ไม่ได้เป็นของทหาร;"
และ:
"การดำเนินการโจมตีโดยรู้ดีว่า การโจมตีนั้นจะทำให้เกิดเหตุการสูญเสียชีวิต หรืออาการบาดเจ็บในกลุ่มพลเรือน หรือความเสียหายต่อเป้าหมายทางพลเรือน หรือความเสียหายอย่างรุนแรง ในระยะยาว และเป็นวงกว้างต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นระดับที่มากเกินกว่าที่มีการประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินการทางทหารไว้อย่างชัดเจน;
"การโจมตีหรือการระดมยิง ไม่ว่าจะด้วยอะไร เข้าใส่เมือง หมู่บ้าน ที่อยู่อาศัย หรืออาคารที่ไม่สามารถป้องกันตนเองได้ หรือที่ไม่ใช่เป้าหมายทางทหาร"
ทั้งรัสเซียและยูเครนไม่ได้หนึ่งใน 123 ภาคีของสนธิสัญญาธรรมนูญกรุงโรม แม้ว่ายูเครนจะตกลงยอมรับขอบเขตของกฎหมายอย่างจำกัดของธรรมนูญนี้ ต่อกรณีการก่ออาชญากรรมสงครามในดินแดนของตน
ศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮกได้ดำเนินการไต่สวนคดีอาชญากรรมสงครามภายใต้อำนาจของธรรมนูญกรุงโรมและทำการสืบสวนข้อกล่าวหาที่มีผู้ฟ้องทั้งฝ่ายรัสเซียและยูเครนอยู่ แต่ทางศาลฯ ต้องพึ่งความร่วมมือจากรัฐต่าง ๆ ในการควบคุมตัวของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากในกรณีของรัสเซีย
ในเดือนกันยายนที่ผ่าน คณะกรรมาธิการสืบสวนขององค์การสหประชาชาติสรุปความว่า มีการก่ออาชญากรรมสงคนามขึ้นจริง โดยส่วนใหญ่เป็นฝีมือของกองกำลังรัสเซีย และสรุปผลการสืบสวนของคณะกรรมาธิการที่ได้มาจากการเยือนพื้นที่ 27 เมืองและชุมชนถิ่นที่อยู่ชั่วคราว มีรายละเอียดดังนี้:
“... การก่อเหตุสังหารอย่างผิดกฎหมายที่มีการบันทึกไว้ได้ ซึ่งรวมถึง การประหารชีวิตพลเรือนอย่างรวบรัดในชุมชนถิ่นที่อยู่ชั่วคราวกว่า 30 แห่ง ในกรุงเคียฟ และเขตปกครองเชอร์นิฮิฟ คาร์คิฟ และซูมี โดยกองกำลังติดอาวุธรัสเซีย ขณะที่กำลังควบคุมพื้นที่เหล่านี้อยู่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์และในเดือนมีนาคม
“... กรณี ‘การประหารชีวิตของคนเป็นจำนวนมาก’ จนน่ากลัวในพื้นที่เมืองและชุมชนถิ่นที่อยู่ชั่วคราว 16 แห่ง ที่ซึ่ง 'องค์ประกอบร่วม’ ของการก่ออาชญากรรมประกอบด้วย ‘สัญญาณของการประหารชีวิตที่เห็นได้ชัดเจนในร่างกาย เช่น มือที่ถูกมัดไพล่หลัง แผลที่เกิดจากกระสุนปืนที่ศีรษะ และแผลของการใช้ของมีคมปาดคอ’
“... กองกำลังสหพันธรัฐรัสเซียใช้อาวุธระเบิด ‘โดยไม่ได้แยกแยะว่าเป็นพลเรือนหรือทหารในพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากมาย’”
พาโบล เดอ เกรฟ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลการสืบสวนนี้ กล่าวว่า:
“เราพบ 2 กรณีที่ทหารยูเครนทำทารุณกรรมต่อทหารของสหพันธรัฐรัสเซีย และเราได้พูดถึงเรื่องนี้ในคำแถลงของเราแล้ว เรายังพบกรณีที่สามารถชี้ว่าเป็นการก่ออาชญากรรมสงครามโดยฝีมือของสหพันธรัฐในจำนวนที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัดด้วย”
ในเดือนตุลาคม การร่วมสืบสวนโดยองค์กรสื่อ Bellingcat และ The Insider รวมทั้ง De Spiegel ระบุว่า มีทหารของรัสเซียจำนวน 33 นายจากหน่วยกองทัพพิเศษที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อการใช้ขีปนาวุธพุ่งเป้าโจมตีเข้าใส่ยูเครน
ขณะเดียวกัน สื่ออิสระ Kyiv Post รายงานข่าวเกี่ยวกับผลการสืบสวนข้างต้นว่า:
“ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นทหารช่างที่มีการศึกษาสูงและเจ้าหน้าที่ประจำการซึ่งมีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างซอฟต์แวร์ หรือในบางรายที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ ตามเนื้อหาของรายงาน
“กลุ่มปกป้องสิทธิในยุโรปกล่าวว่า รายงานนี้เป็นหลักฐานอันชัดเจนอันจะนำไปสู่การดำเนินคดีอาชญากรรมสงครามต่อบุคคลเฉพาะกลุ่ม
“ผู้คนที่รับผิดชอบการตั้งโปรแกรมยิงขีปนาวุธ (ให้พุ่งเป้าไปยัง) สนามเด็กเล่น อาคารอพาร์ตเมนต์ และโรงผลิตไฟฟ้า มีทั้งชื่อและใบหน้า ... หน่วยงาน International Society of Human Rights ระบุไว้ในคำแถลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม”
และเมื่อเดือนกันยายน เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัสเซียได้ส่งรายชื่อคนกว่า 200 คนที่ถูกกล่าวหาว่า ทำการยิงปืนใหญ่เข้าใส่พลเรือน ไปให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ พร้อม ๆ กับรายงาน 3,000 ฉบับเกี่ยวกับคำกล่าวหาการก่ออาชญากรรมสงครามในเขตปกครองดอนบาสของยูเครน
และในระหว่างร่วมประชุมคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ รมต.ลาฟรอฟ อ้างว่า:
"ในกรณีอาชญากรรมต่อประชาชนของสหราชอาณาจักร แคนาดา สหรัฐฯ และเนเธอร์แลนด์ ได้เริ่มมีการสอบสวนกรณีการใช้ทหารรับจ้างและอาชญากรรมสงครามแล้ว ผมขอยืนยันว่า ทุกคนที่มีความผิดจะต้องออกมารับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นพลเรือนประเทศใดก็ตาม"
ในเรื่องนี้ สื่อรอยเตอร์รายงานว่า เจมส์ คเลฟเวอร์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษได้เรียกร้องให้คณะมนตรีฯ ออกมาโต้ “แคตตาล็อกคำโกหก” ของเครมลินได้แล้ว โดยระบุว่า “เราต้องทำให้ [ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์] ปูติน เข้าใช้ชัดเจนว่า การโจมตีประชาชนชาวยูเครนต้องหยุดลงได้แล้ว และว่า จะไม่มีใครที่ก่อเหตุความโหดร้ายป่าเถื่อนเหล่านี้จะได้รับการยกเว้นโทษแม้แต่คนเดียว
- ที่มา: ฝ่าย Polygraph วีโอเอ
But as Reuters reported, British Foreign Secretary James Cleverly urged the council to counter the “catalogue of lies” from the Kremlin.
"We must make clear to [Russian] President [Vladimir] Putin that his attack on the Ukrainian people must stop, that there can be no impunity for those perpetrating atrocities," Cleverly said.