ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ผู้ประกอบการนับร้อยถอนโฆษณาในเฟสบุ๊ค กดดันร่วมต่อต้านการแสดงความเห็นเชิงเกลียดชัง


FILE - The logo for Facebook appears on screens at the Nasdaq MarketSite, in New York's Times Square, March 29, 2018.
FILE - The logo for Facebook appears on screens at the Nasdaq MarketSite, in New York's Times Square, March 29, 2018.
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:35 0:00

ผู้ผลิตสินค้าชั้นนำกว่า 400 รายซึ่งรวมถึง โคคา-โคลา และ สตาร์บัคส์ ประกาศคว่ำบาตรไม่ลงโฆษณากับ เฟซบุ๊ก (Facebook) ตั้งแต่วันพุธนี้ตามเวลาในสหรัฐฯ หลังบริษัทสื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่แห่งนี้ไม่ยืนยันที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวต่อต้านประทุษวาจา หรือ การใช้ถ้อยคำโจมตีบุคคลหรือกลุ่มใด ก็ตามด้วยเหตุผลด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือรสนิยมทางเพศ

เหตุที่เกิดขึ้นล่าสุดเพื่อกดดัน เฟซบุ๊ก ครั้งนี้ เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวที่นำโดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้บริษัทข้ามชาติทั้งหลายร่วมมือกันผลักดันให้บริษัทสื่อสังคมออนไลน์แห่งนี้ดำเนินการปิดกั้นการโพสประทุษวาจาต่างๆ ที่เริ่มมีมากขึ้นหลังการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันผิวสี ระหว่างการถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจผิวขาวในเมืองมินนีแอโปลิส เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงต่อต้านการใช้ความรุนแรงโดยตำรวจและการเหยียดสีผิวทั้งในสหรัฐฯ และหลายประเทศทั่วโลก

แหล่งข่าวบอกกับรอยเตอร์สว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ผู้บริหารของเฟซบุ๊กเข้าร่วมประชุมกับลูกค้าผู้ลงโฆษณาหลายรายกับบริษัทเพื่อหวังเปลี่ยนใจไม่ร่วมแผนคว่ำบาตรที่มีกำหนดนาน 1 เดือนนี้ แต่การประชุมไม่ได้นำเสนอข้อมูลและรายละเอียดใดๆ ที่ทำให้เชื่อว่า เฟซบุ๊ก จะดำเนินการตามข้อเรียกร้องของกลุ่มสิทธิมนุษยชน หรือมีแผนการใหม่ที่จะจัดการกับประเด็นนี้แต่อย่างใด

รายงานข่าวที่อ้างคำพูดของโฆษกเฟซบุ๊ก ระบุว่า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ของบริษัทตกลงที่จะเข้าพบกับตัวแทนของกลุ่มผู้นำการเคลื่อนไหวคว่ำบาตรนี้ เพื่อถกประเด็นดังกล่าวในเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ กลุ่มที่ผลักดันการคว่ำบาตรได้เสนอข้อเรียกร้อง 10 ข้อให้เฟซบุ๊กดำเนินการ อาทิ การอนุญาตให้ผู้ที่เป็นเหยื่อของการล่วงละเมิดต่างๆ ได้พบและพูดคุยกับพนักงานของบริษัท และการคืนเงินค่าโฆษณาให้กับบริษัทที่ลงโฆษณาซึ่งอยู่ติดกับข้อความที่ไม่เหมาะสมและถูกลบออกไป เป็นต้น

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กกล่าวว่า ทางบริษัทจะจัดให้มีการตรวจสอบ (audit) ระบบการควบคุมการโพสประทุษวาจา และพิจารณาทำการเพิ่มเติมเพื่อระบุเนื้อหาที่ขัดต่อนโยบายของบริษัท ดังเช่นที่บริษัทสื่อสังคมออนไลน์บางแห่ง เช่น ทวิตเตอร์ ดำเนินการมาแล้ว

ในส่วนของการคว่ำบาตรครั้งนี้ นักวิเคราะห์ประเมินว่า ไม่น่าจะส่งผลในด้านของรายได้ต่อเฟซบุ๊กมาก เพราะข้อมูลชี้ว่า แบรนด์สินค้าระดับต้น 100 แบรนด์ของโลกที่ลงโฆษณากับเฟซบุ๊กในปี ค.ศ. 2019 ทำรายได้เพียงราว 6 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมที่ราว 70,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งบริษัทบันทึกได้เท่านั้น ขณะที่เฟซบุ๊ก เปิดเผยว่า รายได้จากผู้ลงโฆษณา 100 อันดับแรกของบริษัทในปีที่แล้วคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากค่าโฆษณา

XS
SM
MD
LG