ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จากห้องแล็บมหาวิทยาลัยสู่สตาร์ทอัพไบโอเทค: เส้นทาง 'สร้างกระดูก' ของ 'เอพิโบน'


A sample of bioreactor, used to grow living bone inside at lab, at NY-based startup EpiBone
A sample of bioreactor, used to grow living bone inside at lab, at NY-based startup EpiBone

การใช้สเต็มเซลล์สร้างกระดูกมนุษย์ขึ้นมาใหม่ในห้องทดลอง ฟังดูคล้ายนิยายวิทยาศาสตร์-ไซไฟ แต่เทคโนโลยีดังกล่าว ได้ขยับเข้าใกล้ความจริงมากขึ้น โดยมี "เอพิโบน" (EpiBone) สตาร์ทอัพในมหานครนิวยอร์กเป็นบริษัทนำร่อง และยังเป็นสตาร์ทอัพที่มีนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ดร. สารินทร์ ภูมิรัตน เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและควบคุมงานทดลองวิจัยทั้งหมด

please wait

No media source currently available

0:00 0:05:18 0:00


ความสำเร็จจากการสร้างกระดูกขากรรไกรหมูขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยการเลี้ยงสเต็มเซลล์ในห้องแล็บ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหานครนิวยอร์ก ทำให้ ดร. สารินทร์ ภูมิรัตน ก้าวกระโดดจากการเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ขึ้นมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “เอพิโบน” (EpiBone) สตาร์ทอัพที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีสร้างกระดูก ที่อาจจะช่วยพลิกโฉมการซ่อมแซม และการรักษาความผิดปกติของกระดูกมนุษย์ในอนาคตอันใกล้

ดร. สารินทร์ หรือ ดร. อิ๊ก วัย 36 ปี บอกวีโอเอไทยว่า “เอพิโบน” ใช้เวลาหนึ่งปีในการระดมทุน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก ๆ ที่สตาร์ทอัพส่วนใหญ่ต้องทำ และเงินก้อนแรก หรือ seed funding จาก แองเจิล อินเวสเตอร์ (angel investor) ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถตั้งไข่ พัฒนาความคิดและแผนธุรกิจ ให้กลายเป็นความจริงได้

"แองเจิล อินเวสเตอร์" เป็นคำที่ใช้เรียกนักลงทุนรายบุคคลที่ให้เงินสนับสนุนสตาร์ทอัพ หรือบริษัทเล็ก ๆ ในระยะเริ่มต้น โดยยอมรับความเสี่ยงเพื่อแลกกับผลตอบแทนในภายหลัง เช่น การถือหุ้นของสตาร์ทอัพนั้น เป็นต้น

เป็นมุมมองที่เปลี่ยนไปจากเดิมเยอะเหมือนกัน คือเราต้องโฟกัสกับการพัฒนา product จริง ๆ แล้วก็ต้อง manage ทีมให้เห็นเป้าหมายเดียวกัน จะทำยังไงให้เราเอาความรู้ความสามารถของเขา มา apply กับ goal ของเราให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุด

หนึ่งใน แองเจิล อินเวสเตอร์ คนสำคัญของเอพิโบน ก็คือ ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) นักธุรกิจอเมริกันผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal บริษัทธุรกรรมการเงินออนไลน์ยักษ์ใหญ่ และยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้เงินสนับสนุนสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ ซึ่ง เอพิโบน ก็เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่เข้าตา และได้เงินสนับสนุนจากมูลนิธิ Thiel Foundation

“Thiel Foundation เขามีโปรแกรมที่ชื่อว่า เบรกเอ้าท์ แลบส์ (Breakout Labs) คือเขาต้องการ push สิ่งที่อยู่ในแล็บให้ออกมาได้ใช้จริง ๆ สิ่งที่ cutting-edge มาก ๆ สิ่งที่ innovative มาก ๆ ซึ่งเราก็เป็นหนึ่งในโพรไฟล์ที่เขาต้องการ...ก็ดีใจครับ เป็นจุดเริ่มหลัก ๆ หนึ่งเลยที่ช่วยให้เราได้ push ให้มันเกิดบริษัทนี้ขึ้นจริง ๆ”

Sarindr Bhumiratana, co-founder and chief scientific officer of Epibone, at a lab
Sarindr Bhumiratana, co-founder and chief scientific officer of Epibone, at a lab

ในการระดมระยะเริ่มต้นมื่อ 6 ปีก่อน เอพิโบนต้องการเงินทุนประมาณ 700,000 ดอลล่าร์ แต่กลับได้มาถึง 4 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งนอกจากมูลนิธิของ ปีเตอร์ ธีล แล้ว ยังมีนักลงทุนหลักอย่าง ราทัน ทาทา (Ratan Tata) มหาเศรษฐีอินเดียแห่ง ทาทากรุ๊ป (Tata Group) เครือข่ายธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย Henry Kravis นักลงทุนและนักธุรกิจมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ตลอดจนนักลงทุนชาวไทย อาจารย์และคณบดีที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียอีกด้วย

ที่เอพิโบน ดร. สารินทร์ สวมหมวกหลายใบ โดยมีหน้าที่หลัก คือ Chief Scientific Officer คอยควบคุมดูแลงานพัฒนาและวิจัยทั้งหมด ในขณะที่ นีนา แทนดอน (Nina Tandon) เพื่อนร่วมห้องแล็บที่กลายมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอีกคนหนึ่งของเอพิโบน รับหน้าที่เป็น CEO ดูแลงานด้านบริหาร

Sarindr Bhumiratana, co-founder and chief scientific officer of Epibone, a NY-based startup
Sarindr Bhumiratana, co-founder and chief scientific officer of Epibone, a NY-based startup

อดีตนักศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์บอกว่า เขาต้องเรียนรู้และทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น การวางแผนธุรกิจ การบริหาร และการระดมทุน ที่เขาบอกว่าเป็นความท้าทายที่สนุก

“เป็นมุมมองที่เปลี่ยนไปจากเดิมเยอะเหมือนกัน คือเราต้องโฟกัสกับการพัฒนา product จริง ๆ แล้วก็ต้อง manage ทีมให้เห็นเป้าหมายเดียวกัน จะทำยังไงให้เราเอาความรู้ความสามารถของเขามา apply กับ goal ของเราให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุด งานมัันน่าสนใจแต่มันก็เยอะ สิ่งที่สำคัญ เราอยากให้ทุกคนทำงานแล้วสนุก สนุกกับงาน สนุกกับผลของงาน”

ความฝันความหวังจริง ๆ ก็คือมี product line หลาย ๆ ตัว ที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอ็นขาด เอ็นเสื่อม กระดูกอ่อนฉีก หรือว่าหมอนรองกระดูกฉีก

จากที่มีสมาชิกเพียง 3 คน เอพิโบนค่อย ๆ เติบโตขึ้นเป็นสตาร์ทอัพขนาด 14 คน ซึ่ง ดร. สารินทร์บอกว่า เขามีแผนที่จะขยายเพิ่มเป็น 20 คน ในปีหน้า ซึ่งเป็นปีสำคัญ เพราะเอพิโบนวางแผนจะนำกระดูกที่เลี้ยงจากสเต็มเซลล์ในห้องทดลอง ไปทดลองใช้กับคนจริง ๆ หลังจากที่ได้รับไฟเขียวจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ หรือ Food and Drug Administration (FDA) เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ดร. สารินทร์ หรือ ดร. อิ๊ก บอกว่า เป้าหมายระยะยาวของเขา คือต้องไปให้ไกลกว่ากระดูก สมกับชื่อของ เอพิโบน ที่แปลว่ายิ่งกว่ากระดูก หรือ above bone หรือ beyond bone

“ตอนนี้เราก็มี product อื่นละ มีกระดูกอ่อน มี injectible product (แพคเกจเซลล์ที่ฉีดเข้าไปในร่างกาย) แล้วเรามองว่าเราคงไม่หยุดแค่นี้ เพราะ potential ของสเต็มเซลล์ สามารถเป็นอวัยวะต่าง ๆ ได้ เรามีความรู้ด้านกระดูก กระดูกอ่อนอยู่แล้ว เซลล์ชนิดเดียวกัน สามารถไปเป็นอย่างอื่นได้อีกเยอะ...ความฝันความหวังจริง ๆ ก็คือมี product line หลาย ๆ ตัว ที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอ็นขาด เอ็นเสื่อม กระดูกอ่อนฉีก หรือว่าหมอนรองกระดูกฉีก คาดว่ามีความเป็นไปได้สูง”

A piece of bone grown from stem cells inside a lab at EpiBone, NY-based startup.
A piece of bone grown from stem cells inside a lab at EpiBone, NY-based startup.

ทุกวันนี้ ดร. สารินทร์ บอกว่าเขาทำงานหนัก และในหัวก็คิดเรื่องงานอยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยความชอบความสนใจ การมาทำงานจึงเหมือนการมาเล่น มาทดลอง และค้นพบอะไรบางอย่าง

ตอนยังเด็ก ดร. สารินทร์ เคยคิดอยากจะเป็นหมอ และอยากใช้ความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยเหลือคนอื่น มาวันนี้เขาบอกว่าเขาเลือกไม่ผิด และหวังว่า นวัตกรรมสร้างกระดูกในห้องแล็บของเอพิโบน จะพาเขาไปให้ถึงเป้าหมายนั้น

XS
SM
MD
LG