ทีมนักวิจัยในอังกฤษค้นพบหลักฐานที่ชี้ว่าสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วกว่าที่เชื่อกันหากต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ศาสตราจารย์ ทิม เบนตั้น อาจารย์ด้านชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ในอังกฤษศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างไร ในรายงานผลการศึกษาของเขาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ecology Letters ศาสตราจารย์เบนตั้นชี้ว่าเขาทำการศึกษาว่าทำไมสัตว์ทะเลหลายชนิดจึงมีขนาดเล็กลงอย่างมากและยังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา
ศาสตราจารย์เบนตั้นกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเกิดคำถามมากมายว่าทำไม อาทิ เป็นไปได้หรือไม่ว่าสัตว์ทะเลต้องปรับตัวเพราะอาหารลดลง หรือ อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากภาวะโลกร้อน หรือว่าเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนสภาวะทางธรรมชาติและวิวัฒนาการทางชีววิทยาตามธรรมชาติของปลา
เพื่อค้นหาคำตอบ ศาสตราจารย์เบนตั้นและทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาทดลองในห้องแลปหลายชุดเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตหลายชนิดรวมทั้งตัวไรดิน (soil mites) ที่มีลักษณะคล้ายกับแมงมุม
ศาสตราจารย์เบนตั้นกล่าวว่าทีมวิจัยได้จับไรดินธรรมชาติมาทดลองด้วยการนำไปใส่ไว้ในหลอดทดลอง แต่ละหลอดบรรจุตัวไรดินไว้ราวหนึ่งพันตัว ทีมงานจะใส่อาหารจำนวนเล็กน้อยลงไปในหลอดแต่ละหลอดเป็นประจำทุกวันและจะจับไรดินที่ยังอายุน้อยออกจากหลอด ในบางหลอดทีมนักวิจัยจะจับตัวไรดินที่โตเต็มวัยออก การทดลองยาวนานกว่าหนึ่งร้อยสัปดาห์ ซึ่งนานพอที่ตัวไรดินจะสามารถผลิตลูกหลานได้ราว 20 รุ่น
ที่อยู่อาศัยในหลอดทดลองซึ่งเล็กกว่าสภาพแวดล้อมในธรรมชาติทำให้ไรดินต้องแก่งแย่งอาหารและคู่ ตลอดจนต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ต่างจากสภาพความเป็นอยู่ในธรรมชาติที่มันเคยอยู่ นักวิจัยพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอัตราการเจริญเติบโต ลักษณะพันธุกรรมและลักษณะการเเพร่พันธุ์ตลอดช่วงเวลาของการทดลองที่ถือว่าเป็นช่วงสั้น
ศาสตราจารย์เบนตั้นกล่าวว่าเมื่อตัวไรดินในหลอดทดลองใช้เวลานานมากกว่าเดิมในการเจริญเติบโต แสดงว่าไรดินปรับตัวต่อสภาพที่อยู่อาศัยและการกินอยู่ใหม่ อัตราการเจริญเติบโตที่ช้าลงส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของจำนวนประชากรและขนาดของมัน
ศาสตราจารย์เบนตั้นกล่าวว่าการศึกษาไรดินครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งแวดล้อมนี้เห็นได้ในผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยาการสัตว์ทะเล
เขากล่าวว่าเมื่อเราจับสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ไปเป็นอาหารอยู่ตลอดเวลา สัตว์ทะเลก็เริ่มลดขนาดตัวลงเพราะเกิดการปรับเปลี่ยนทางวิวัฒนาการของปลาที่ตอบสนองต่อสภาพสิ่งแวดล้อม เขากล่าวว่านี่หมายความว่าแม้ว่าเราจะเลิกทำการประมงเพราะจำนวนปลาในทะเลลดลงและขนาดของปลาลดลง ก็ยังรับประกันไม่ได้ว่าจำนวนปลาจะเพิ่มขึ้นหรือปลาจะเพิ่มขนาดตัวขึ้นเท่าเดิมเพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นวิวัฒนาการที่แก้ไขให้กลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ยาก วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ยังจะมีผลกระทบรุนแรงความพยายามอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าตลอดจนโครงการควบคุมโรคและแมลงด้วย
ศาสตราจารย์ ทิม เบนตั้น อาจารย์ด้านชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ในอังกฤษศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างไร ในรายงานผลการศึกษาของเขาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Ecology Letters ศาสตราจารย์เบนตั้นชี้ว่าเขาทำการศึกษาว่าทำไมสัตว์ทะเลหลายชนิดจึงมีขนาดเล็กลงอย่างมากและยังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา
ศาสตราจารย์เบนตั้นกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเกิดคำถามมากมายว่าทำไม อาทิ เป็นไปได้หรือไม่ว่าสัตว์ทะเลต้องปรับตัวเพราะอาหารลดลง หรือ อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากภาวะโลกร้อน หรือว่าเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนสภาวะทางธรรมชาติและวิวัฒนาการทางชีววิทยาตามธรรมชาติของปลา
เพื่อค้นหาคำตอบ ศาสตราจารย์เบนตั้นและทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาทดลองในห้องแลปหลายชุดเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตหลายชนิดรวมทั้งตัวไรดิน (soil mites) ที่มีลักษณะคล้ายกับแมงมุม
ศาสตราจารย์เบนตั้นกล่าวว่าทีมวิจัยได้จับไรดินธรรมชาติมาทดลองด้วยการนำไปใส่ไว้ในหลอดทดลอง แต่ละหลอดบรรจุตัวไรดินไว้ราวหนึ่งพันตัว ทีมงานจะใส่อาหารจำนวนเล็กน้อยลงไปในหลอดแต่ละหลอดเป็นประจำทุกวันและจะจับไรดินที่ยังอายุน้อยออกจากหลอด ในบางหลอดทีมนักวิจัยจะจับตัวไรดินที่โตเต็มวัยออก การทดลองยาวนานกว่าหนึ่งร้อยสัปดาห์ ซึ่งนานพอที่ตัวไรดินจะสามารถผลิตลูกหลานได้ราว 20 รุ่น
ที่อยู่อาศัยในหลอดทดลองซึ่งเล็กกว่าสภาพแวดล้อมในธรรมชาติทำให้ไรดินต้องแก่งแย่งอาหารและคู่ ตลอดจนต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ต่างจากสภาพความเป็นอยู่ในธรรมชาติที่มันเคยอยู่ นักวิจัยพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอัตราการเจริญเติบโต ลักษณะพันธุกรรมและลักษณะการเเพร่พันธุ์ตลอดช่วงเวลาของการทดลองที่ถือว่าเป็นช่วงสั้น
ศาสตราจารย์เบนตั้นกล่าวว่าเมื่อตัวไรดินในหลอดทดลองใช้เวลานานมากกว่าเดิมในการเจริญเติบโต แสดงว่าไรดินปรับตัวต่อสภาพที่อยู่อาศัยและการกินอยู่ใหม่ อัตราการเจริญเติบโตที่ช้าลงส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของจำนวนประชากรและขนาดของมัน
ศาสตราจารย์เบนตั้นกล่าวว่าการศึกษาไรดินครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งแวดล้อมนี้เห็นได้ในผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยาการสัตว์ทะเล
เขากล่าวว่าเมื่อเราจับสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ไปเป็นอาหารอยู่ตลอดเวลา สัตว์ทะเลก็เริ่มลดขนาดตัวลงเพราะเกิดการปรับเปลี่ยนทางวิวัฒนาการของปลาที่ตอบสนองต่อสภาพสิ่งแวดล้อม เขากล่าวว่านี่หมายความว่าแม้ว่าเราจะเลิกทำการประมงเพราะจำนวนปลาในทะเลลดลงและขนาดของปลาลดลง ก็ยังรับประกันไม่ได้ว่าจำนวนปลาจะเพิ่มขึ้นหรือปลาจะเพิ่มขนาดตัวขึ้นเท่าเดิมเพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นวิวัฒนาการที่แก้ไขให้กลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ยาก วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ยังจะมีผลกระทบรุนแรงความพยายามอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าตลอดจนโครงการควบคุมโรคและแมลงด้วย