ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รู้จัก 'กิ้งก่าแคระ' สัตว์เลื้อยคลานใกล้สูญพันธุ์แห่งแอฟริกาใต้


Madagascar Tiny Chameleon
Madagascar Tiny Chameleon
Rare Pygmy Chameleon Found
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:09 0:00


Krystal Tolley ไม่แน่ใจว่ากิ้งก่าแคระสายพันธุ์ Chapman's pygmy chameleon ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่หายากและใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งนั้น ได้สูญพันธุ์ไปแล้วหรือไม่ เมื่อเธอและเพื่อนร่วมงานอีกสองคนได้เดินทางไปค้นหาพวกมันในแอฟริกาตะวันออกเมื่อปี 2016

ไม่มีใครรายงานการพบเห็นกิ้งก่าชนิดนี้ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เมื่อมันถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ยิ่งไปกว่านั้น ป่าฝนที่พวกมันอาศัยอยู่ได้สูญเสียพื้นที่ครอบคลุมป่าไปมากมายในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

เจ้าสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆ ที่น่าทึ่งนี้มีความยาวสูงสุดเพียง 6.2 เซนติเมตร และเป็นหนึ่งในหลายสายพันธุ์ในสกุล Rhampholeon หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นกิ้งก่าแคระ มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาตะวันออก แต่ที่หย่อมป่าแห่งหนึ่งซึ่งยังไม่มีการบุบสลายในมาลาวีมีการพบเห็นเจ้า Chameleons ตัวแรกในป่าแห่งนี้ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ที่หายไปนั้นยังคงหลงเหลืออยู่

ส่วนในป่าอื่นๆ ก็มีการค้นพบสัตว์ชนิดนี้มากขึ้น

Tolley นักเพาะพันธุ์สัตว์จากสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติแอฟริกาใต้ และเป็นหัวหน้าการเขียนรายงานการศึกษาใหม่ใน Oryx ที่รายงานการพบเห็นกิ้งก่าแคระกล่าวว่า การค้นพบนี้ทำให้เกิดความโล่งใจอย่างมาก

Chameleons เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทหนึ่งที่ส่วนใหญ่พบทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในแอฟริกา มีความสามารถพิเศษในการเปลี่ยนสีผิวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม สามารถสื่อสารหรือควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวเองได้ กว่าหนึ่งในสามของกิ่งก่าแคระในโลกมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ตามรายงานขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ซึ่งโดยมากเกิดจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย นอกจากนี้การเผาป่า และการตัดไม้ เพื่อการเกษตรก็ส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อจำนวนประชากรของกิ้งก่าแคระด้วย

ในปี 2013 Tolley ได้เริ่มช่วยประเมินสถานะความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของ Chameleons มากกว่า 200 สายพันธุ์ เพื่อเพิ่มลงในบัญชีสีแดงของ IUCN ในเรื่องของสัตว์ที่ถูกคุกคาม ขณะดูภาพถ่ายดาวเทียมของป่าฝนซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ากิ้งก่าแคระอาศัยอยู่นั้น Tolley ตระหนักว่าพื้นที่ป่าฝนได้ลดลงประมาณ 80% ตั้งแต่ปี 1984 ซึ่งเธอและเพื่อนร่วมงานเกรงว่าเมื่อพิจารณาจากจำนวนป่าที่เหลืออยู่ จะไม่มีกิ้งก่าสายพันธุ์นี้หลงเหลืออยู่แล้ว

ในป่าฝนทางตอนใต้ของมาลาวีนั้น สมาชิกในทีมต้องเดินผ่านป่าในตอนกลางคืนอย่างระมัดระวังเพื่อค้นหากิ้งก่าแคระด้วยแสงไฟฉาย เพราะในตอนกลางวันยากที่จะมองเห็นกิ้งก่าแคระตัวเล็กๆ พวกมันมักซ่อนตัวอยู่บนพื้นป่าโดยการทำตัวให้เป็นสีน้ำตาลฝุ่นที่กลมกลืนไปกับใบไม้แห้ง แต่ในตอนกลางคืนพวกมันจะขึ้นไปนอนบนพุ่มไม้เตี้ยๆ เพื่อให้พ้นอันตรายจากงูและสัตว์อื่นๆ ที่เลื้อยคลานไปมาอยู่ด้านล่าง ในตอนกลางคืน จะสามารถมองเห็นเจ้ากิ้งก่าแคระได้ชัดเจนกว่า เมื่อแสงจากไฟฉายของนักวิจัยตกกระทบไปที่ตัวกิ้งก่า พวกเขาก็จะมองเห็นมันทันที

นอกจากนี้แล้ว นักวิจัยยังได้เก็บตัวอย่างจากหางของกิ้งก่าแคระบางตัวเพื่อวิเคราะห์ดีเอ็นเอของพวกมัน ความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรกิ้งก่า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการที่พวกมันจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้พบความแตกต่างใน DNA ระหว่างประชากรกิ้งก่าที่ค้นพบในหย่อมป่าที่แยกจากกัน ผลลัพธ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ป่าที่กระจัดกระจายอาจจะแบ่งสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประชากรขนาดใหญ่เพียงกลุ่มเดียวออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างอย่างชัดเจนมากขึ้น และมีการแยกตัวออกไป แม้ว่านักวิจัยจะทราบว่าพวกเขาไม่สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปโดยปราศจากตัวอย่าง DNA ในอดีต แต่ผลลัพธ์เหล่านี้ยังคงบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ได้ในอนาคต

ทั้งนี้ นักวิจัยได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับกิ้งก่าสายพันธุ์ Chapman's pygmy chameleon และการอยู่รอดของพวกมัน แต่การลดลงของแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่คุกคามเจ้ากิ้งก่าแคระชนิดนี้ ตลอดจนสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ และภูมิทัศน์ด้วย

การศึกษานี้ค้นพบสิ่งที่บ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกและในส่วนที่เป็นป่าของแอฟริกาตะวันออก เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเรื่องแหล่งที่อยู่อาศัย การแปลงพื้นที่ป่าเพื่อการใช้งานอันหลากหลายของมนุษย์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกิ้งก่าแคระและสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่า

นักวิจัยกล่าวว่า การขยายเขตแดนของเขตอนุรักษ์ที่ครอบคลุมป่ามาลาวีบางส่วนหรือการบังคับใช้ที่เคร่งครัดอาจเป็นก้าวแรกในการปกป้องกิ้งก่าแคระ การฟื้นฟูสัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยที่หายไปในขณะนี้ถือเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งซึ่งอาจต้องอาศัยการร่วมด้วยช่วยกันของชุมชนในท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ องค์กรอนุรักษ์ระหว่างประเทศ และหน่วยงานอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Tolley จะตื่นเต้นไปกับการค้นพบนี้ แต่เธอก็ยังคงกังวลเกี่ยวกับการทำลายป่าที่อาจเกิดขึ้นโดยกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาระดับโลก การกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติให้หมดไปนั้น ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีของมวลมนุษย์

XS
SM
MD
LG