วิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอนจัดทำการรณรงค์ส่งเสริมให้คนล้างมือกันมากขึ้นเพื่อป้องกันเชื้อโรคโดยเน้นสร้างความรู้สึกขยะแขยงต่อมือสกปรก
นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ส่งเสริมการล้างมือโดยศาสตราจารย์ Val Curtis แห่งวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน ศาสตราจารย์ Curtis จัดทำการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการล้างมือเพื่อป้องกันเชื้อโรคแนวใหม่โดยมุ่งเป้าไปที่การสร้างความรู้สึกขยะเเขยงต่อมือที่สกปรก
ศาสตราจารย์ Curtis กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเมื่อคนเรารู้สึกว่ามือตัวเองสกปรก น่าขยะเเขยง มีเชื้อโรค หรือเหม็น ก็จะไปล้างมือด้วยสบู่ การตอบสนองต่อมือที่สกปรกนี้เป็นการตอบสนองทางความรู้สึกและอารมณ์ไม่ใช่การตอบสนองด้วยเหตุผล
การใช้การตอบสนองทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นยุทธวิธีในการรณรงค์ส่งเสริมการล้างมือ ถือว่าแหวกแนวการรณรงค์ด้านการสาธารณสุขทั่วไป แต่ศาสตราจารย์ Curtis กล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญไม่ประสบความสำเร็จมากนักในการกระตุ้นให้คนล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำหรือก่อนรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคท้องร่วงหรือโรคทางเดินลมหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเด็ก
ทีมงานของศาสตราจารย์ Curtis จัดทำการ์ตูนเพื่อส่งเสริมการล้างมือ การ์ตูนดังกล่าวเป็นเรื่องราวของเเม่ลูกคู่หนึ่ง
ศาสตราจารย์ Curtis กล่าวว่าตัวละครหลักคือ เเม่ที่เรียกว่า SuperAmma เป็นคุณเเม่แบบฉบับที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะเป็น เป็นซุปเปอร์คุณเเม่ที่สั่งสอนลูกชายให้มีมารยาทที่ดี ขยันเล่าเรียนและที่สำคัญที่สุดคือสอนให้รักความสะอาดโดยต้องล้างมือเป็นประจำ
ในฉากตอนท้ายของการ์ตูน เป็นฉากที่คุณแม่ตื้นตันใจมากที่สุดเพราะลูกชายได้เป็นหมอเมื่อโตขึ้น
โครงการรณรงค์นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน กับสถาบัน St John’s Research Institute และบริษัทที่ปรึษาด้านการสื่อสาร Centre of Gravity ใน Bangalore ประเทศ India
ทางทีมงานนำการ์ตูนนี้ไปฉายให้ชาวบ้านในหมู่บ้านสิบสี่แห่งในอินเดีย แล้วพบว่าการ์ตูนรณรงค์นี้ช่วยกระตุ้นให้ชาวบ้านล้างมือด้วยสบู่มากขึ้น
วารสาร Lancet Global Health รายงานว่าอัตราการล้างมือด้วยสบู่ในพื้นที่เป้าหมายการรณรงค์เพิ่มขึ้นจาก 1 หรือ 2 เปอร์เซ็นต์เป็นหนึ่งในสาม หนึ่งปีหลังเริ่มการณรงค์
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ Elli Leeontseenee แห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ชี้ว่าการตอบสนองทางอารมณ์อาจจะมีส่วนช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่อาจจะยังไม่สูงพอที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงสภาพเเวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมให้คนล้างมือมากขึ้น อาทิ จัดทำจุดล้างมือที่สะดวกภายในบ้านหรือให้คุณแม่ปฏิญาณตนว่าจะล้างมือเป็นประจำเพื่อสุขภาพของตนเเละของคนในครอบครัวโดยเฉพาะลูกๆ
ศาสตราจารย์ Elli Leeontseenee กล่าวว่าการปฏิญานตนว่าจะล้างมือเป็นประจำเป็นการสร้างเเรงกดดันทางสังคมและน่าจะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาวได้
นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ส่งเสริมการล้างมือโดยศาสตราจารย์ Val Curtis แห่งวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน ศาสตราจารย์ Curtis จัดทำการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการล้างมือเพื่อป้องกันเชื้อโรคแนวใหม่โดยมุ่งเป้าไปที่การสร้างความรู้สึกขยะเเขยงต่อมือที่สกปรก
ศาสตราจารย์ Curtis กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเมื่อคนเรารู้สึกว่ามือตัวเองสกปรก น่าขยะเเขยง มีเชื้อโรค หรือเหม็น ก็จะไปล้างมือด้วยสบู่ การตอบสนองต่อมือที่สกปรกนี้เป็นการตอบสนองทางความรู้สึกและอารมณ์ไม่ใช่การตอบสนองด้วยเหตุผล
การใช้การตอบสนองทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นยุทธวิธีในการรณรงค์ส่งเสริมการล้างมือ ถือว่าแหวกแนวการรณรงค์ด้านการสาธารณสุขทั่วไป แต่ศาสตราจารย์ Curtis กล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญไม่ประสบความสำเร็จมากนักในการกระตุ้นให้คนล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำหรือก่อนรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคท้องร่วงหรือโรคทางเดินลมหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเด็ก
ทีมงานของศาสตราจารย์ Curtis จัดทำการ์ตูนเพื่อส่งเสริมการล้างมือ การ์ตูนดังกล่าวเป็นเรื่องราวของเเม่ลูกคู่หนึ่ง
ศาสตราจารย์ Curtis กล่าวว่าตัวละครหลักคือ เเม่ที่เรียกว่า SuperAmma เป็นคุณเเม่แบบฉบับที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะเป็น เป็นซุปเปอร์คุณเเม่ที่สั่งสอนลูกชายให้มีมารยาทที่ดี ขยันเล่าเรียนและที่สำคัญที่สุดคือสอนให้รักความสะอาดโดยต้องล้างมือเป็นประจำ
ในฉากตอนท้ายของการ์ตูน เป็นฉากที่คุณแม่ตื้นตันใจมากที่สุดเพราะลูกชายได้เป็นหมอเมื่อโตขึ้น
โครงการรณรงค์นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน กับสถาบัน St John’s Research Institute และบริษัทที่ปรึษาด้านการสื่อสาร Centre of Gravity ใน Bangalore ประเทศ India
ทางทีมงานนำการ์ตูนนี้ไปฉายให้ชาวบ้านในหมู่บ้านสิบสี่แห่งในอินเดีย แล้วพบว่าการ์ตูนรณรงค์นี้ช่วยกระตุ้นให้ชาวบ้านล้างมือด้วยสบู่มากขึ้น
วารสาร Lancet Global Health รายงานว่าอัตราการล้างมือด้วยสบู่ในพื้นที่เป้าหมายการรณรงค์เพิ่มขึ้นจาก 1 หรือ 2 เปอร์เซ็นต์เป็นหนึ่งในสาม หนึ่งปีหลังเริ่มการณรงค์
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ Elli Leeontseenee แห่งมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ชี้ว่าการตอบสนองทางอารมณ์อาจจะมีส่วนช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่อาจจะยังไม่สูงพอที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงสภาพเเวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมให้คนล้างมือมากขึ้น อาทิ จัดทำจุดล้างมือที่สะดวกภายในบ้านหรือให้คุณแม่ปฏิญาณตนว่าจะล้างมือเป็นประจำเพื่อสุขภาพของตนเเละของคนในครอบครัวโดยเฉพาะลูกๆ
ศาสตราจารย์ Elli Leeontseenee กล่าวว่าการปฏิญานตนว่าจะล้างมือเป็นประจำเป็นการสร้างเเรงกดดันทางสังคมและน่าจะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาวได้