ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ชนกลุ่มน้อยทั่วอเมริกาหวั่นผลกระทบจากนโยบายว่าที่ประธานาธิบดี ‘โดนัลด์ ทรัมป์’


Protesters hold banners during a rally in opposition to President-elect Donald Trump, in the Hollywood section of Los Angeles, California, Nov .13, 2016. Rallies in various U.S. cities entered their fifth day on Sunday.
Protesters hold banners during a rally in opposition to President-elect Donald Trump, in the Hollywood section of Los Angeles, California, Nov .13, 2016. Rallies in various U.S. cities entered their fifth day on Sunday.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:33 0:00

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ผ่านมาสร้างทั้งความผิดหวังและสมหวังให้กับผู้สนับสนุนจากทั้งสองพรรคการเมืองใหญ่

ขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบในวงกว้าง ถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในแง่บวกและในแง่ลบ ในสมัยของประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยต่างๆ ทั้งชาวมุสลิม ชาวละติน และชาวเอเชียในอเมริกา ที่เริ่มวิตกกังวลในอนาคตของตัวเอง

ชาวรัฐเพนซิลเวเนียเลือกตัวแทนพรรคเดโมแครตเป็นประธานาธิบดีมาตลอด 30 ปี แต่ในครั้งนี้ พวกเขาคือหนึ่งในรัฐที่เป็นสวิงสเตทตัวจริง เมื่อเสียงส่วนใหญ่หันเลือกนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน อย่างเหนือคาดหมายด้วยเหตุผลที่หลากหลาย

Alex Taylor ผู้ลงคะแนนจาก Bucks County รัฐเพนซิลเวเนีย บอกว่าหมดเวลา 8 ปีของเดโมแครตแล้ว และถึงเวลาของริพับลิกันเสียที ขณะที่ Dave Sonners อาสาสมัครรณรงค์เลือกตั้งของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ใน Bucks County บอกว่า เพราะผู้คนที่นี่ต้องการอนุรักษ์ความเป็นอเมริกันเอาไว้ มากกว่าจะกลายเป็นแบบยุโรป เหมือนที่บารัค โอบามา และฮิลลารี คลินตัน อยากให้เป็น

ด้าน Linda Crozier สุภาพสตรีผิวขาวจาก Bucks County รัฐเพนซิลเวเนีย พูดกันตรงๆ ว่า "ไม่คิดว่าผู้หญิงจะมีสิทธิ์ใดๆ ที่จะเป็นประธานาธิบดี เพราะว่ามักตัดสินใจด้วยอารมณ์"

ผู้สนับสนุนนายโดนัล ทรัมป์ ส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว และอยู่ตามเขตชนบท เหมือนในแถบเขตปกครอง Bucks County แห่งนี้ ที่ออกมาใช้สิทธิ์มากกว่าการเลือกตั้งหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา จนสร้างความแตกต่างของผลคะแนนอย่างไม่มีใครคาดคิด

ในทางกลับกัน ความรู้สึกของชาวมุสลิม ชนกลุ่มน้อยในเมืองเดียร์บอร์น รัฐมิชิแกน แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

Abdullah Hammoud ผู้สมัครเลือกตั้งสภาท้องถิ่นรัฐมิชิแกน บอกว่าการหาเสียงด้วยการเหยียดเชื้อชาติและคลั่งศาสนา การบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศาสนาอิสลามเพื่อแลกกับเสียงโหวต ทำให้ชาวมุสลิมกังวลกับผลเลือกตั้งที่ออกมา

Abdullah เพิ่งได้รับเลือกตั้งสู่สภาของรัฐมิชิแกน แต่หลังจากยุคของยุคประธานาธิบดีทรัมป์ ทำให้เขาจำเป็นต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของสมาชิกในครอบครัวให้มากขึ้นและเตือนทุกคนระวังตัวเมื่อต้องสวมอิจาบหรือผ้าคลุมหัวของชาวมุสลิม ยามต้องออกไปนอกบ้าน

ความกลัวและความกังวลในยุคของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐจากริพับลิกัน ยังสะท้อนผ่านกิจกรรมของชาวผู้อพยพจากละตินอเมริกา ในลอส แองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย

Predo Truijillo ชาวอเมริกนเชื้อสายละติน ลูกหลานผู้อพยพจากเอกวาดอร์ ยืนยันที่จะสู้กับนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งประกาศจุดยืนจะเนรเทศผู้อพยพที่เข้าเมืองผิดกฏหมายหลายล้านคนออกนอกประเทศ

Predo ได้รับอนุญาตทำงานอย่างถูกกฏหมายในสหรัฐฯ เพราะอยู่ในข่ายของการได้รับการผ่อนผันร่วมกับผู้อพยพจำนวนมากโดยคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีโอบามา เพราะเข้าประเทศมาตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ในสมัยของประธานาธิบดีคนต่อไป หลายคนอาจได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน หากมีการประกาศยกเลิกคำสั่ง

ขณะเดียวกัน คุณ Jonathan Paik เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลชาวเกาหลีในแคลิฟอร์เนีย บอกว่า หากมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว กลุ่มผู้อพยพชาวเอเชียและชาวหมู่เกาะแปซิฟิกจำนวนไม่น้อย ก็จะได้รับผลกระทบด้วยเป็นกลุ่มแรกๆ เช่นกัน

การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองจากพรรคเดโมแครตที่ครองอำนาจมายาวนานกว่า 8 ปี ไปสู่มือของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนจากพรรคริพับลิกัน ที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงทั้งเชิงบุคลิก และนโยบายทางการเมืองที่แตกต่างอย่างสุดขั้ว มีส่วนสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อผู้คนหลากหลายกลุ่มในสังคมอเมริกัน

แต่กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจ ที่ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มต้นอย่างเป็นขั้นตอนและราบรื่น จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยทำให้กระบวนการและกลไกต่างๆ ค่อยๆ กลับมาสร้างการยอมรับและเดินหน้าต่ออีกครั้ง ก่อนถึงพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีคนต่อไป ในวันที่ 20 มกราคม พุทธศักราช 2560

XS
SM
MD
LG