ลิ้งค์เชื่อมต่อ

บทบรรณาธิการ

บทบรรณาธิการ: การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ไม่เป็นธรรมในเบลารุส 

Belarusian opposition supporters light phones lights during a protest rally in front of the government building at Independence Square in Minsk, Belarus, Saturday, Aug. 22, 2020. Demonstrators are taking to the streets of the Belarusian capital and…
Belarusian opposition supporters light phones lights during a protest rally in front of the government building at Independence Square in Minsk, Belarus, Saturday, Aug. 22, 2020. Demonstrators are taking to the streets of the Belarusian capital and…

อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก (Alexander Lukashenka) ประธานาธิบดีที่ครองอำนาจยาวนานของเบลารุส ผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 กล่าวอ้างว่าตนได้รับชัยชนะอีกครั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ด้วยคะแนนเสียงที่ถล่มทลาย

คำกล่าวอ้างของเขาเรื่องชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 80 เปอร์เซ็นต์นั้น ถูกโต้แย้งโดยพลเมืองเบลารุสหลายแสนคน ซึ่งพากันเดินขบวนประท้วงตามท้องถนนเพราะเชื่อว่าผลการเลือกตั้งนั้นถูกบิดเบือน กองกำลังของรัฐบาลตอบโต้การประท้วงนี้อย่างรวดเร็วและไร้ความปราณี ด้วยการทำร้ายร่างกาย จับกุม และการกักขังผู้ประท้วง นักข่าว และสมาชิกของฝ่ายค้าน เป็นจำนวนหลายพันคน และมีผู้ประท้วงอย่างน้อยสี่คนที่ถูกสังหาร

หลังการเลือกตั้ง ผู้นำฝ่ายค้านของเบลารุส 2 คนหลบหนีออกนอกประเทศ รวมถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งของฝ่ายค้าน สเวียตลานา ซิคานูสกายา (Sviatlana Tsikhanouskaya) ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี หลังจากที่ เซอร์เก (Sergei) สามีของเธอ ซึ่งเป็นบล็อกเกอร์ทางด้านการเมือง ถูกจำคุกและถูกห้ามไม่ให้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

การประท้วงยังคงดำเนินต่อไปในหลายเมืองของเบลารุส ผู้ประท้วงกว่า 100,000 คนรวมตัวกันที่กรุงมินสก์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเบลารุส โดยผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการณรงค์ที่มีชื่อว่า "สตรีในชุดขาว" ที่ออกไปตามท้องถนนเพื่อประท้วงการปราบปรามที่รุนแรงและเรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลอันเป็นที่รักที่ถูกตำรวจควบคุมตัวไว้

ผู้หญิงเหล่านั้นสวมชุดสีขาวและมักจะถือดอกไม้เอาไว้ พวกเธอเริ่มปรากฏตัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในกรุงมินสก์ และมีการประท้วงในลักษณะเดียวกันนี้ที่ประเทศเยอรมนี โปแลนด์ เบลเยียม ยูเครน และรัสเซีย

เห็นได้ชัดจากการตอบสนองของชาวเบลารุสต่อการเลือกตั้งที่มีต่อข้อโต้แย้งในการเลือกตั้งว่า พวกเขาปรารถนาในบางสิ่งบางอย่างที่ อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ไม่เคยมีให้ ในตลอดระยะเวลากว่า 26 ปีที่เขาครองอำนาจ ประชาคมระหว่างประเทศได้ยินเสียงเรียกร้องของชาวเบลารุสและยืนหยัดร่วมกับพวกเขาในความต้องการอธิปไตย

ผู้นำสหรัฐฯ และผู้นำยุโรปได้แสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อการดำเนินการเลือกตั้งในเบลารุส ที่ไม่มีทั้งเสรีภาพหรือความยุติธรรม รวมทั้งการตอบโต้การประท้วงอย่างรุนแรงของรัฐบาล ซึ่งกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนไปที่บรรดานักข่าว การทำร้ายร่างกายผู้ถูกคุมขังอย่างรุนแรง และการปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ต

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ (Mike Pompeo) กล่าวในระหว่างการเยือนโปแลนด์ เมื่อไม่นานมานี้ว่า "วัตถุประสงค์ร่วมกันคือการสนับสนุนชาวเบลารุสให้บรรลุอำนาจอธิปไตยของตนเอง เสรีภาพของตนเอง ซึ่งสร้างขึ้นมาจากสิ่งที่เห็นว่าเกิดขึ้นในการประท้วงเหล่านี้ ประชาชนเหล่านี้เรียกร้องสิ่งเรียบง่ายที่มนุษย์ทุกคนต้องการ นั่นคือสิทธิที่จะสามารถตัดสินใจเลือกรัฐบาลของพวกเขาเอง ดังนั้นเราจึงเรียกร้องให้ผู้นำของเบลารุสได้เปิดโอกาสให้กว้างขึ้นเพื่อโอบรับภาคประชาสังคมในลักษณะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจที่ตรงกันกับสิ่งที่ชาวเบลารุสกำลังเรียกร้องอยู่ในขณะนี้"

See all News Updates of the Day

บทบรรณาธิการ: ราคาที่ต้องจ่ายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน

Chen Quanguo, right, Communist Party secretary of China's Xinjiang Uighur Autonomous Region.
Chen Quanguo, right, Communist Party secretary of China's Xinjiang Uighur Autonomous Region.

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ข่มเหงชาวอุยกูร์ ชนเผ่าคาซัค คีร์กีซและสมาชิกของชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมกลุ่มอื่น ๆ ในมณฑลซินเจียงกันมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากการแต่งตั้งสมาชิกของคณะกรรมการโปลิตบูโร เฉิน ฉังกั๋ว ให้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ในปี ค.ศ. 2016 นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งผู้บริหารที่ Xinjiang Production and Construction Corps หรือ XPCC ซึ่งเป็นองค์กรทางเศรษฐกิจและหน่วยเสริมการทหารในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของรัฐบาลกลางของจีน และยังปฏิบัติภารกิจของรัฐบาลจีนอีกมากมายในซินเจียงด้วย

หลังจากที่ เฉิน ฉังกั๋ว มาถึงเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ได้ไม่นาน เขาก็เริ่มดำเนินการโครงการเฝ้าระวัง กักขัง และปลูกฝังผู้คนที่นั่น โดยมีเป้าหมายที่ชาวอุยกูร์และสมาชิกของชนกลุ่มน้อยทางศาสนาและชาติพันธุ์อื่น ๆ ขณะนี้ชาวอุยกูร์ ชาวคาซัค ชาวคีร์กีซ และชาวมุสลิมเชื้อสายเติร์กอื่น ๆ หลายแสนคนถูกจับกุมในข้อหาละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น ไว้หนวดเครา หรือปฏิเสธที่จะดื่มแอลกอฮอล์ และถูกกักขังอยู่ในค่ายกักขัง

สหรัฐอเมริกาและรัฐบาลของ ปธน.ทรัมป์ มุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกกดขี่ที่อยู่ทุกหนทุกแห่ง

กระทรวงการคลังและการทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้คว่ำบาตรนาย เฉิน ฉังกั๋ว, ผู้อำนวยการสำนักงานรักษาความปลอดภัยสาธารณะมณฑลซินเจียง หวัง หมิงซาน, สมาชิกพรรคอาวุโสในมณฑลซินเจียง จู ไห่หลุน, อดีตเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ฮั้ว หลิวจวิ้น, อดีตเลขาธิการ XPCC ซุน จินหลง และรองเลขาธิการ XPCC เป็ง เจียรุย สืบเนื่องจากความเชื่อมโยงของพวกเขากับการทารุณกรรมอย่างร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในซินเจียง

กระทรวงการคลังยังกำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อ PSB และ XPCC โดยตรง ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของกระทรวงการคลังตามคำสั่งฝ่ายบริหารที่ 13818 ซึ่งต่อยอดและดำเนินการตามกฎหมาย Global Magnitsky Human Rights Accountability Act ที่ห้ามไม่ให้บุคคลที่ถูกคว่ำบาตรเข้ามาในสหรัฐฯ และการคว่ำบาตรเหล่านี้ยังอายัดทรัพย์สินที่อยู่ในสหรัฐฯ ของบุคคลและองค์กรเหล่านั้นอีกด้วย

สหรัฐฯ ได้ดำเนินการอย่างรุนแรงที่สุดกว่าชาติใด ๆ ในโลก เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชนทุกคนในประเทศจีน

รมต. ต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ ระบุในแถลงการณ์ว่า "การละเมิดสิทธิมนุษยชนในมณฑลซินเจียงที่มีต่อชาวอุยกูร์ และชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมกลุ่มอื่น ๆ โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น เป็นรอยด่างแห่งศตวรรษ" และว่า “รัฐบาลของ ปธน. ทรัมป์ เป็นผู้นำความพยายามของชาวโลกในการเปิดเผยความเสียหายที่ชัดเจนของการรณรงค์ปราบปรามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน การกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้คนจำนวนมากโดยพลการ การเฝ้าระวังที่ล้ำเส้น การบังคับใช้แรงงาน การบังคับควบคุมประชากร การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านชีวภาพโดยไม่สมัครใจ และการวิเคราะห์พันธุกรรมที่กำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่มคนเหล่านี้”

“วันนี้ สหรัฐฯ กำลังดำเนินการตามหลักการต่อไป”

บทบรรณาธิการ: ต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์

Fighting Cybercrime
Fighting Cybercrime

อาชญากรรมไซเบอร์และการก่ออาชญากรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในภัยคุกคามด้านความปลอดภัยที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก การระบาดใหญ่ของโควิด-19 มีแต่ทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก ข้อมูลของ FBI ระบุว่า นับตั้งแต่มีการแถลงการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส อาชญากรรมไซเบอร์ได้เพิ่มขึ้นราว 400%

การล่วงล้ำทางไซเบอร์กลายเป็นเรื่องที่พบเห็นบ่อยมากขึ้น อันตรายมากขึ้น และซับซ้อนมากขึ้น และมีการกำหนดเป้าหมายทั้งเครือข่ายภาคเอกชนและภาครัฐ บรรดาธุรกิจและบริษัทต่างๆ ตกเป็นเป้าหมายด้านความลับทางการค้า และข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ส่วนมหาวิทยาลัยและห้องปฏิบัติการทดลองต่าง ๆ ล้วนตกเป็นเป้าหมายด้านการวิจัยและการพัฒนา ในขณะที่ภาคเอกชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพและการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล

ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศรางวัลสูงถึง 1 ล้านดอลลาร์สำหรับข้อมูลที่นำไปสู่การจับกุมหรือการตัดสินลงโทษชาวยูเครนที่ชื่อ อาร์เท็ม เวียเชสลาโนวิช ราดเชนโก (Artem Viacheslavovich Radchenko) และ โอเล็กซานเดอร์ วิทาลเยวิช เลเรเมนโก (Oleksandr Vitalyevich Ieremenko) ซึ่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมในอาชญากรรมไซเบอร์ข้ามชาติ

จากการตรวจสอบกิจกรรมต่าง ๆ ของพวกเขา พบว่านายราดเชนโก และนายเลเรเมนโก ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เจาะเข้าไปในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ และถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการฉ้อโกงหลักทรัพย์ การโอนเงิน และการฉ้อโกงคอมพิวเตอร์ แฮกเกอร์ทั้งสองถูกฟ้องร้องทั้งหมด 16 ข้อหา จากข้อกล่าวหาว่าทั้งสองขโมยไฟล์ที่เป็นความลับหลายพันไฟล์ แล้วนำไปขายอย่างผิดกฎหมายเพื่อหากำไร นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ยังได้ฟ้องร้องนายเลเรเมนโก รวมทั้งบุคคลและหน่วยงานอื่น ๆ ในคดีแพ่งด้วย

รางวัลนำจับดังกล่าวอยู่ในโครงการรางวัลนำจับอาชญากรรมข้ามชาติของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับโครงการรางวัลนำจับด้านยาเสพติด ซึ่งได้นำอาชญากรข้ามชาติจำนวน 75 คนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนับตั้งแต่โครงการเหล่านี้เริ่มมีขึ้นในปี ค.ศ. 1986

ข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวกับอาชญากรไซเบอร์เหล่านี้ควรถูกส่งไปยังหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา ทางอีเมลที่ Rewards@usss.dhs.gov ผู้ใดก็ตามที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีของนายราดเชนโก และนายเลเรเมนโก หรือโครงการรางวัลอาชญากรรมข้ามชาติ สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.state.gov/artem-viacheslavovich-radchenko/

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ (Mike Pompeo) มีแถลงการณ์ว่า "อาชญากรไซเบอร์คือผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหรือไม่เคารพหลักนิติธรรมของประเทศใด ๆ และเมื่อการก่ออาชญากรรมของพวกเขาส่งผลไปทั่วโลก สหรัฐฯ ยินดีให้ความร่วมมือและการประสานงานกับรัฐบาลของทุกประเทศ เพื่อนำอาชญากรเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและเพื่อปกป้องพลเมืองผู้บริสุทธิ์ทั่วโลก"

"สหรัฐฯ มุ่งมั่นในความพยายามดังกล่าวผ่านโครงการรางวัลนำจับอาชญากรรมข้ามชาติของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อนำอาชญากรไซเบอร์และอาชญากรข้ามชาติอื่น ๆ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม"

บทบรรณาธิการ: รัฐมนตรีพอมเพโอกล่าวคำปราศรัยเรื่องเสรีภาพทางศาสนา

U.S. Secretary of State Mike Pompeo
U.S. Secretary of State Mike Pompeo

ในการกล่าวคำปราศรัยครั้งล่าสุดเกี่ยวกับเสรีภาพทางศาสนาที่รัฐไอโอวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ เรียกเสรีภาพทางศาสนาว่าเป็นเสรีภาพอันดับแรกของสหรัฐฯ อ้างอิงตามรัฐธรรมนูญ และว่าความเคารพอย่างสูงต่อสิทธิที่ไม่สามารถยึดครองได้นี้เป็นแนวทางในการบริหารงานของสหรัฐฯ

ปัจจุบัน เสรีภาพทางศาสนายังคงถูกคุกคามในหลายประเทศ รมต.พอมเพโอ ชี้ให้เห็นว่า สี่ในห้าของประชากรโลกไม่ได้มีความพึงพอใจกับเสรีภาพทางศาสนาอย่างเต็มที่

และเพื่อยกระดับสภาพการณ์สำหรับผู้แสวงหาเสรีภาพทางศาสนาในประเทศต่าง ๆ สหรัฐฯ ได้ใช้เครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่ในการจัดการ รวมถึการระบุชื่อประเทศที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานนี้:

"สหรัฐฯ ต่อต้านสงครามด้านศาสนาในประเทศจีน การกักขังชาวอุยกูร์จำนวนมาก การตัดสินใจโดยที่ไม่คำนึงถึงพระผู้เป็นเจ้าในการแทนที่บัญญัติสิบประการของศาสนจักร ด้วยถ้อยคำของเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน สี จิ้นผิง"

ในช่วงสองปีที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อความก้าวหน้าด้านเสรีภาพทางศาสนามาแล้วสองครั้ง ซึ่งมีบรรดาผู้นำประเทศและผู้นำทางศาสนาจากทั่วโลกมารวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของเสรีภาพทางศาสนา

รมต. พอมเพโอ กล่าวว่า อเมริกามุ่งมั่นที่จะปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้คนทั่วโลก นี่เป็นมรดกอันน่าภาคภูมิใจของผู้ก่อตั้งประเทศ ซึ่งสร้างสหรัฐฯ ขึ้นมาด้วยความมุ่งมั่นที่จะรับประกันว่าคนอเมริกันมีสิทธิที่ได้มาแต่กำเนิด ตามที่ระบุไว้ในคำประกาศอิสรภาพและรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ

"นโยบายต่างประเทศของประเทศของสหรัฐฯ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน นั่นคือความมุ่งมั่นที่ทำให้สหรัฐฯ เป็นดวงดาวแห่งอิสรภาพที่เจิดจรัสอยู่บนในโลกใบนี้ นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ ถูกสร้างขึ้นบนหินที่แข็งแรง ตามหลักการของข้อเท็จจริงที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ตอนที่ก่อตั้งประเทศนี้" รมต.พอมเพโอกล่าว

บทบรรณาธิการ: จีนเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ

ตามบทบาทที่กำหนดไว้ในกฎบัตรขององค์กร

วอยซ์ ออฟ อเมริกา ต้องถ่ายทอดมุมมองที่หลากหลายในประเด็นต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเผยแพร่บทบรรณาธิการที่แสดงนโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯ และบทความอื่นๆ เกี่ยวกับอุดมการณ์และสถาบันต่างๆ ของอเมริกา:

นายคริสโตเฟอร์ เวรย์ ผู้อำนวยการหน่วยงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ กล่าวในสุนทรพจน์ ที่สถาบัน Hudson Institute ไว้ว่า จีนเป็น “ภัยคุกคามระยะยาวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” ต่อความเเข็งเเกร่งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงเเห่งชาติของสหรัฐฯ

เขากล่าวว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนดำเนินการหลายยุคสมัยในหลายระดับ เพื่อที่จะเป็นผู้นำโลกด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ

“แต่การต่อสู้นี้ของจีนมิได้กระทำผ่านนวัตกรรมที่ชอบธรรม และมิได้เป็นไปตามการเเข็งขันที่ยุติธรรรมและถูกกฎหมาย ส่วนประชาชนจีนก็มิได้รับเสรีภาพทางความคิดและเสรีภาพในการมีความคิดสร้างสรรค์ อย่างที่เราเห็นคุณค่าในสหรัฐฯ แต่ที่จีนกระทำเป็นความพยายามให้ได้มาซึ่งการเป็นมหาอำนาจของโลกแต่เพียงผู้เดียวโดยหนทางใดก็ได้ที่จำเป็น” คริสโตเฟอร์ เวรย์ กล่าว

เขากล่าวว่า จีนดำเนินการสอดเเนมทางเศรษฐกิจ เจาะล้วงระบบข้อมูล ขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ให้สินบน และเปิดเผยข้อมูลที่ให้ร้าย และบังคับผู้อื่นในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะส่งอิทธิพลต่อนโยบายสหรัฐฯ บิดเบือนการหารือที่เปิดเผย และบั่นทอนความมั่นใจในกระบวนการและค่านิยมที่เป็นประชาธิปไตยของสหรัฐฯ

ผู้อำนวยการเอฟบีไอย้ำว่า การกระทำที่ประสงค์ร้ายและเป็นอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นฝีมือของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

“เรื่องนี้มิได้เกี่ยวกับประชาชนชาวจีน และเเน่นอนว่าไม่เกี่ยวกับคนอเมริกันเชื้อสายจีน เป็นเวลาหลายชั่วอายุคนที่คนเหล่านี้เดินทางมาสหรัฐฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพต่อพวกเขาและครอบครัวของพวกเขา และสังคมอเมริกันของเราดีขึ้นได้เพราะสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อสังคมของเรา”

นายคริสโตเฟอร์ เวรย์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลจีนและพรรคคอมมิวนิสต์จีน กระทำการอย่างไม่ละะอาย ที่จะละเมิดบรรทัดฐานที่มีมายาวนาน และหลักกฎหมาย

เขาเรียกโครงการต่อต้านคอร์รัปชั่นของประธานาธิบดี สี จินผิง ว่า คือการ “ล่าสุนัขจิ้งจอก” ที่ มุ่งเป้าไปที่ชาวจีนที่อยู่นอกประเทศ เช่น ผู้ที่เป็นคู่แข่งทางการเมือง นักเคลื่อนไหว และผู้เห็นต่างที่ต้องการเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน ตัวอย่างเช่น จีนเคยขู่บุคคลรายหนึ่งให้กลับมายังประเทศจีน หรือให้ปลิดชีพตนเอง

ผู้อำนวยการเอฟบีไอ กล่าวว่า การกระทำของรัฐจีนอย่างเต็มรูปแบบควรได้รับการตอบโต้อย่างเดียวกัน “การเผชิญหน้ากับจีนอย่างได้ผล ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ควรทำธุรกิจกับจีน แต่หมายความว่าเมื่อจีนละเมิดกฎหมายอาญาและบรรทัดฐานของนานาชาติ เราไม่ควรอดทนต่อเหตุการณ์เหล่านั้น เอฟบีไอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการให้จีนรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และจะปกป้องนวัตกรรม แนวทางความคิดและรูปแบบการดำเนินชีวิตของสหรัฐฯ ด้วยความร่วมมือจากชาวอเมริกันที่ช่วยกันสอดส่องเหตุการณ์ต่าง ๆ”

ท่านสามารถเข้าไปอ่านบทบรรณาธิการที่เป็นภาษาอังกฤษ ของเราได้ที่ https://editorials.voa.gov

และรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทขององค์กร U.S. Agency for Global Media ผ่านคลิปวิดีโอ

ถ้าสามารถแสดงความคิดเห็นและคำถามมาได้ที่ editorials@voanews.com

หรือเขียนจดหมายส่งมาที่

Editorials

The Voice Of America

330 Independence Avenue, SW

Room 2137

Washington, D.C. 20237

XS
SM
MD
LG