ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ พัฒนาอุปกรณ์ช่วยผู้บกพร่องด้านการพูดให้ ’เปล่งเสียง’ อีกครั้ง


อุปกรณ์ “แผ่นเยื่อแม่เหล็ก” ช่วยจับความสั่นสะเทือนและแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าให้กลายเป็นเสียงคำพูด
อุปกรณ์ “แผ่นเยื่อแม่เหล็ก” ช่วยจับความสั่นสะเทือนและแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าให้กลายเป็นเสียงคำพูด

“การเปล่งเสียงพูด” เกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ในร่างกาย องค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งคือ “เส้นเสียง” และสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องบางรายส่งเสียงพูดไม่ได้แต่ยังสามารถขยับเส้นเสียง นักวิจัยในรัฐแคลิฟอร์เนียได้ทำการศึกษาเพื่อแปลงสัญญาณนี้ให้กลายเป็นเสียงพูดแล้ว

ทีมวิศวกรจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแอนเจลิส (UCLA) ได้เริ่มพัฒนาอุปกรณ์เพื่อจับสัญญาณไฟฟ้าจากการสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อเส้นเสียงบริเวณลำคอ อุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายแผ่นพลาสเตอร์ยาปิดแผลขนาดเล็ก

แผ่นเยื่อแม่เหล็กดังกล่าว ผลิตมาจากอนุภาคนาโนแม่เหล็ก ภายใต้โครงการพัฒนาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย UCLA
แผ่นเยื่อแม่เหล็กดังกล่าว ผลิตมาจากอนุภาคนาโนแม่เหล็ก ภายใต้โครงการพัฒนาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย UCLA

ซีหยวน เช นักวิจัยจาก UCLA ชี้ว่าสัญญาณที่ได้รับ จะถูกเปลี่ยนเป็นคำพูด ผ่านการประมวลผลของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอธิบายว่า สัญญาณไฟฟ้าที่ได้รับจะถูกนำไปประมวลผลให้เกิดความชัดเจน หลังจากนั้นจะส่งไปยังลำโพง กลายเป็นเสียงออกมา

ซีหยวน เช นักวิจัยจาก UCLA
ซีหยวน เช นักวิจัยจาก UCLA

เช กล่าวว่า “กระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การจับสัญญาณ การประมวลผล และการแปลงสัญญาณ (ให้กลายเป็นเสียง) ทั้งหมดนี้ เพื่อที่จะช่วยให้เราสามารถพูดได้ โดยไม่ต้องใช้เส้นเสียง”

อุปกรณ์ที่ว่า คือ “แผ่นเยื่อแม่เหล็ก” ที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น สามารถแปะบริเวณลำคอได้อย่างสบาย ซึ่งจะช่วยจับความสั่นสะเทือนและแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า

จิง ชู นักวิจัยอีกราย จาก UCLA เผยว่า แผ่นเยื่อแม่เหล็กดังกล่าว ผลิตมาจากอนุภาคนาโนแม่เหล็ก (Magnetic Nanoparticles - MNPs) ผสมกับสารประกอบโพลิเมอร์ (Polymers) ที่มีความอ่อนนุ่มและขึ้นรูปด้วยเทคโนโลยีการตัดกระดาษแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น

จิง ชู นักวิจัยจาก UCLA อธิบายส่วนประกอบของแผ่นเยื่อแม่เหล็กที่สามารถแปลงความสั่นสะเทือนเป็นสัญญาณไฟฟ้าและเสียง
จิง ชู นักวิจัยจาก UCLA อธิบายส่วนประกอบของแผ่นเยื่อแม่เหล็กที่สามารถแปลงความสั่นสะเทือนเป็นสัญญาณไฟฟ้าและเสียง

ชู กล่าวว่า “เราสร้างแผ่นแปะ โดยใช้รูปแบบศิลปะการตัดกระดาษคิริกามิ (Kirigami) ช่วยทำให้ (แผ่นเยื่อแม่เหล็ก) มีความอ่อนนุ่มมากขึ้น”

ทางด้าน จุน เชน ผู้นำการวิจัย จาก Samueli School of Engineering มหาวิทยาลัย UCLA ให้สัมภาษณ์ว่า นักวิจัยกำลังฝึกระบบ AI เพื่อเรียนรู้และจดจำการสั่นสะเทือนจากกล้ามเนื้อเส้นเสียงของหลากหลายบุคคล ที่มีความแตกต่างกัน

จุน เชน ผู้นำการวิจัย จาก Samueli School of Engineering มหาวิทยาลัย UCLA
จุน เชน ผู้นำการวิจัย จาก Samueli School of Engineering มหาวิทยาลัย UCLA

เชน บอกว่า “การสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อ (แต่ละคน) อาจจะไม่เหมือนกัน เราต้องฝึกระบบ (โดยการป้อนข้อมูล) ก่อนใช้งาน ซึ่งจะเริ่มจากการวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้า เพื่อสร้างฐานข้อมูลคำศัพท์เฉพาะบุคคล”

เชน ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยนี้ วางแผนที่จะทดสอบอุปกรณ์นี้เพิ่มเติมกับตัวเอง เมื่อไปบรรยายตามชั้นเรียนที่บางครั้งกินเวลานานถึง 3 ชั่วโมงจนทำให้เกิดความล้าในการใช้เสียง เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของการวิจัยนี้ ในการช่วยกลุ่มบุคคลที่มีความผิดปกติด้านการพูด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคประเภทอื่น ๆ ให้ได้กลับมามีโอกาสเปล่งเสียงของตนอีกครั้งในที่สุด

  • ที่มา: วีโอเอ

กระดานความเห็น

XS
SM
MD
LG