ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันชี้ว่าในปีพุทธศักราช 2557 นี้ประชาคมโลกจะประสบกับความท้าทายที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนและการพัฒนาในระดับนานาชาตินอกเหนือจากปัญหาเศรษฐกิจที่ถดถอยมานานหลายปี
หน่วยงานวิจัยระดับโลกนี้ได้เน้นประเด็นศึกษาไปที่นโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อมและนโยบายสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรธรรมชาติในขณะที่ประชากรโลกที่เพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลา
นาย Andrew Steer ประธานสถาบัน World Resource Institute หรือ WRI เปิดเผยว่าในปีพุทธศักราช 2557 นี้ ชนชั้นกลางจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเนื่องจากได้เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 1,000 ล้านคนเมื่อ 24 ปีที่แล้วเป็น 3,000 ล้านคนเมื่อราว 4 ปีที่แล้ว คาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ล้านคนภายในอีก 16 ปีข้างหน้า โดยในจำนวนนี้ 5,000 ล้านคนจะเป็นชนชั้นกลาง
คุณ Steer ประธานสถาบัน WRI ชี้ว่าจะต้องมีการร่างนโยบายหลักๆหลายอย่างในปีพุทธศักราช 2557 นี้เพื่อหาทางสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรธรรมชาติในขณะที่จำนวนประชากรโลกมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน เขาตั้งสมญาของปีพุทธศักราช 2557 นี้ว่าเป็นปีแห่งเมือง เขากล่าวว่าทุกวัน ทุกวัน มีคนราว 270,000 คนย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในเขตเมืองเพื่อจุดประสงค์ทางเศรษฐกิจ
ในขณะที่เขตเมืองเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของเศรฐกิจโลก เมืองต่างๆ ยังเป็นแหล่งกำเนิดของแก๊สเรือนกระจกถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณทั้งหมด มลภาวะทางอากาศเป็นสาเหตุให้คน 1 ล้านคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คุณ Steer กล่าวว่าเมืองต่างๆควรได้รับการออกแบบใหม่เพื่อให้น่าอยู่มากขึ้น
นอกจากเรื่องการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกแล้ว ความท้าทายอีกประเด็นหนึ่งที่เราจะประสบกันในศักราชใหม่นี้คือการสูญเสียพื้นที่ป่าทั่วโลกโดยเกิดขึ้นในอัตราที่สูงมาก เทียบได้กับการสูญเสียพื้นที่สนามฟุตบอล 50 สนาม ทุกๆหนึ่งนาที
คุณ Steer ประธานสถาบัน WRI กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่านี่เทียบได้กับพื้นที่ป่าสองพันล้านเฮคเตอร์ที่ถูกแปรสภาพไป หากเทียบเป็นพื้นที่ของที่ดินก็จะมีขนาดใหญ่กว่างประเทศจีนสองเท่าตัว
อย่างไรก็ตาม บรรดารัฐบาลแห่งประเทศต่างๆทั่วโลกได้สัญญาว่าจะฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้เขียวชอุ่มดังเดิมให้ได้ 150 ล้านเฮคเตอร์ภายในอีก 7 ปีข้างหน้า คุณ Steer กล่าวว่านั่นอาจเทียบเท่าได้กับการปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานถ่านหินลง 350 แห่ง
อย่างไรก็ตามจีนที่ถือว่าเป็นผู้สร้างมลภาวะรายใหญ่ที่สุดในโลกได้เสนอโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเพิ่มขึ้นอีก 363 แห่ง คุณ Steer ประธานสถาบัน WRI ชี้ว่าทางการจีนมีการออกนโยบายที่เข้มแข็งในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยเริ่มต้นด้วยเงินงบประมาณ สองแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันล้านดอลล่าร์สหรัฐในการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ มีการตั้งมาตราฐานควบคุมมลภาวะที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อทำให้การลงทุนสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินไม่น่าดึงดูดแก่นักลงทุน
ในปีนี้ ยังคาดกันด้วยว่า สหรัฐอเมริกาจะออกมาตรการใหม่ๆเพื่อควบคุมการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากโรงงานผลิตไฟฟ้าลงและทางสหประชาชาติจะจัดการประชุมภาวะโลกร้อน โดยประเทศต่างๆจะประกาศแผนลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของตน
คุณ Andrew Steer ประธานสถาบัน WRI กล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าสิ่งท้าทายสำคัญที่สุดสำหรับประชาคมโลกในขณะนี้คือเราจะลดระดับแก๊สเรือนกระจกลงได้อย่างไร ในขณะที่ยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตต่อไป
หน่วยงานวิจัยระดับโลกนี้ได้เน้นประเด็นศึกษาไปที่นโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อมและนโยบายสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรธรรมชาติในขณะที่ประชากรโลกที่เพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลา
นาย Andrew Steer ประธานสถาบัน World Resource Institute หรือ WRI เปิดเผยว่าในปีพุทธศักราช 2557 นี้ ชนชั้นกลางจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเนื่องจากได้เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 1,000 ล้านคนเมื่อ 24 ปีที่แล้วเป็น 3,000 ล้านคนเมื่อราว 4 ปีที่แล้ว คาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,000 ล้านคนภายในอีก 16 ปีข้างหน้า โดยในจำนวนนี้ 5,000 ล้านคนจะเป็นชนชั้นกลาง
คุณ Steer ประธานสถาบัน WRI ชี้ว่าจะต้องมีการร่างนโยบายหลักๆหลายอย่างในปีพุทธศักราช 2557 นี้เพื่อหาทางสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรธรรมชาติในขณะที่จำนวนประชากรโลกมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน เขาตั้งสมญาของปีพุทธศักราช 2557 นี้ว่าเป็นปีแห่งเมือง เขากล่าวว่าทุกวัน ทุกวัน มีคนราว 270,000 คนย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในเขตเมืองเพื่อจุดประสงค์ทางเศรษฐกิจ
ในขณะที่เขตเมืองเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตของเศรฐกิจโลก เมืองต่างๆ ยังเป็นแหล่งกำเนิดของแก๊สเรือนกระจกถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณทั้งหมด มลภาวะทางอากาศเป็นสาเหตุให้คน 1 ล้านคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คุณ Steer กล่าวว่าเมืองต่างๆควรได้รับการออกแบบใหม่เพื่อให้น่าอยู่มากขึ้น
นอกจากเรื่องการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกแล้ว ความท้าทายอีกประเด็นหนึ่งที่เราจะประสบกันในศักราชใหม่นี้คือการสูญเสียพื้นที่ป่าทั่วโลกโดยเกิดขึ้นในอัตราที่สูงมาก เทียบได้กับการสูญเสียพื้นที่สนามฟุตบอล 50 สนาม ทุกๆหนึ่งนาที
คุณ Steer ประธานสถาบัน WRI กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่านี่เทียบได้กับพื้นที่ป่าสองพันล้านเฮคเตอร์ที่ถูกแปรสภาพไป หากเทียบเป็นพื้นที่ของที่ดินก็จะมีขนาดใหญ่กว่างประเทศจีนสองเท่าตัว
อย่างไรก็ตาม บรรดารัฐบาลแห่งประเทศต่างๆทั่วโลกได้สัญญาว่าจะฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้เขียวชอุ่มดังเดิมให้ได้ 150 ล้านเฮคเตอร์ภายในอีก 7 ปีข้างหน้า คุณ Steer กล่าวว่านั่นอาจเทียบเท่าได้กับการปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานถ่านหินลง 350 แห่ง
อย่างไรก็ตามจีนที่ถือว่าเป็นผู้สร้างมลภาวะรายใหญ่ที่สุดในโลกได้เสนอโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเพิ่มขึ้นอีก 363 แห่ง คุณ Steer ประธานสถาบัน WRI ชี้ว่าทางการจีนมีการออกนโยบายที่เข้มแข็งในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยเริ่มต้นด้วยเงินงบประมาณ สองแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันล้านดอลล่าร์สหรัฐในการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ มีการตั้งมาตราฐานควบคุมมลภาวะที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อทำให้การลงทุนสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินไม่น่าดึงดูดแก่นักลงทุน
ในปีนี้ ยังคาดกันด้วยว่า สหรัฐอเมริกาจะออกมาตรการใหม่ๆเพื่อควบคุมการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากโรงงานผลิตไฟฟ้าลงและทางสหประชาชาติจะจัดการประชุมภาวะโลกร้อน โดยประเทศต่างๆจะประกาศแผนลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของตน
คุณ Andrew Steer ประธานสถาบัน WRI กล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าสิ่งท้าทายสำคัญที่สุดสำหรับประชาคมโลกในขณะนี้คือเราจะลดระดับแก๊สเรือนกระจกลงได้อย่างไร ในขณะที่ยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตต่อไป