ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทั่วโลกกังวลหนัก! ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นต่อเนื่อง


FILE - A boy leaps across a flooded area next to an informational mural with words in Swahili advising people to protect themselves from the coronavirus and get vaccinated, in the low-income Kibera neighborhood of Nairobi, Kenya, June 12, 2021.
FILE - A boy leaps across a flooded area next to an informational mural with words in Swahili advising people to protect themselves from the coronavirus and get vaccinated, in the low-income Kibera neighborhood of Nairobi, Kenya, June 12, 2021.
Widen Vaccine Disparity and Economic Turmoil Fear
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:01 0:00


ในช่วงที่การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกกลับมารุนแรงขึ้นอีกครั้ง ปัญหาการเข้าถึงวัคซีนของประชากรโลกยิ่งกลายมาเป็นประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไขด่วนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อประเทศร่ำรวยสามารถแจกจ่ายวัคซีนเพื่อให้ผู้คนและภาคธุรกิจกลับมาดำเนินกิจกรรมได้เหมือนปกติ แต่ประเทศอื่นๆ อีกมากยังขาดแคลนวัคซีนอยู่ ขณะที่ มีคำเตือนผู้เชี่ยวชาญว่า ผลกระทบจากสถานการณ์เช่นนี้จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในประเทศที่มีปัญหาเท่านั้น

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้นำกลุ่มประเทศจี-7 ให้คำมั่นว่า จะแบ่งปันวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1,000 ล้านโดสให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายไปแจกจ่ายแก่ประชาชนของตนเองภายในสิ้นปี ค.ศ. 2022 แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจำนวนไม่น้อย และองค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า การที่ประชากรในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจะได้รับการฉีดวัคซีนในสัดส่วนที่มากเพียงพอนั้น จะต้องเข้าสู่ปี ค.ศ. 2023 แล้วเป็นอย่างเร็ว

ในเวลานี้ ประชากรในทวีปแอฟริกาเพียง 1.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว และโรงพยาบาลทั้งหลายต่างอยู่ในสถานะที่มีคนไข้ล้น ปริมาณสำรองของออกซิเจนอยู่ในระดับต่ำ และเผชิญกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งยังขาดแคลนวัคซีนอย่างมาก

มัทชิดิโซ โมเอติ ผู้อำนวยการ WHO ประจำภาคพื้นแอฟริกา กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า แม้อัตราการระบาดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจะลดลงบ้าง “การระบาดระลอกที่ 3 ของแอฟริกา” ยังจะไม่ยุติลงอย่างแน่นอน และว่า สถานการณ์ที่ดูดีขึ้นเพียงเล็กน้อยนี้อาจทำให้ทุกฝ่ายมีความหวังและมีกำลังใจ แต่ไม่ควรทำให้ทุกคนหยุดความพยายามที่จะช่วยแอฟริกา

โมเอติ ย้ำว่า หลายประเทศในแอฟริกายังอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงสุด และการระบาดระลอกล่าสุดนี้มีความรุนแรงและรวดเร็วกว่าที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ด้วย โดยดูได้จากสถิติใน 21 ประเทศของแอฟริกาที่รายงานการติดเชื้อเพิ่มขึ้นกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ติดต่อกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ WHO หลายรายแสดงความกลัวว่า ประเทศในแอฟริกาจำนวน 47 ประเทศจากทั้งหมด 54 ประเทศจะไม่สามารถทำการฉีดวัคซีนให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของตนได้ทันเป้าเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเงื่อนเวลาที่สมัชชาอนามัยโลกตั้งไว้ตั้งแต่เมื่อต้นปี

รายงานข่าวระบุว่า เท่าที่ผ่านมา วัคซีนที่แจกจ่ายในทวีปแอฟริกานั้นคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของวัคซีนจำนวนกว่า 4,000 ล้านโดสที่มีการฉีดให้ผู้คนทั่วโลก

ขณะเดียวกัน ประเทศกลุ่มละตินอเมริกาอีกหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศในแถบแคริบเบียนด้วย อยู่ในภาวะที่ยังไม่สามารถป้องกันการระบาดให้ประชาชนได้ โดยสถิติแสดงให้เห็นว่ามีผู้คนราว 1.25 ล้านคนจากประเทศเหล่านี้ที่เสียชีวิตเพราะโควิด-19 ไปแล้ว และยังไม่สามารถจัดหาวัคซีนมาแจกจ่ายให้ประชากรของตนได้ แม้ว่าจะมีบางประเทศ เช่น อาร์เจนตินา บราซิล และอุรุกวัย ที่ฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ราว 20 เปอร์เซ็นต์แล้วก็ตาม

G-7 summit participants are seen during a session in Cornwall, England, June 12, 2021, with summit host, Britain's Prime Minister Boris Johnson, presiding.
G-7 summit participants are seen during a session in Cornwall, England, June 12, 2021, with summit host, Britain's Prime Minister Boris Johnson, presiding.

สหรัฐฯ ได้จัดส่งวัคซีนโควิดจำนวนหลายล้านโดสให้กับประเทศต่างๆ ในแถบละตินอเมริกาไปแล้วตั้งแต่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ตามคำสัญญาของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่จะมุ่งช่วยยุติการระบาดใหญ่ทั่วโลกของโคโรนาไวรัสให้ได้ โดยทำเนียบขาวเปิดเผยว่า รัฐบาลได้ส่งวัคซีนของ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน จำนวน 1 ล้านโดส ไปยังประเทศโบลิเวีย วัคซีนของไฟเซอร์จำนวน 1 ล้านโดสไปยังปารากวัย และวัคซีนของโมเดอร์นาจำนวน 1.5 ล้านโดสไปให้กัวเตมาลาแล้ว

ทั้งนี้ สหรัฐฯ คือประเทศสมาชิกกลุ่มจี-7 ที่ประกาศการบริจาควัคซีนราวครึ่งหนึ่ง จากจำนวนรวม 1,000 ล้านโดสที่ผู้นำประเทศสมาชิกทั้งหมดร่วมกันสัญญาไว้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ประชาชนของประเทศรายได้ต่ำสัดส่วน 1.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม

คำถามที่เกิดขึ้นมาในเวลานี้คือ โลกที่มีประเทศที่มีประชากรที่ได้ฉีดวัคซีนแล้วและประเทศที่มีประชากรซึ่งยังไม่ได้ฉีด จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ขณะที่ตัววัคซีนและการแจกจ่ายในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศยากจนยังล้าหลังอยู่มาก

ผู้เชี่ยวชาญเริ่มเตือนแล้วว่า ความสับสนและความไม่พอใจต่อปัญหาวัคซีนที่มีจำกัดและการดำเนินนโยบายจำกัดการเดินทางสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน กำลังส่งผลให้เกิดความแตกแยกระหว่างคนที่ได้รับการปกป้องจากไวรัสและคนที่ยังรอวัคซีนอยู่ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ที่เสนอแผนปิดกั้นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนไม่ให้เดินทาง หรือเข้าถึงสินค้า หรือทำข้อตกลงทางธุรกิจใดๆ ไว้ก่อน

A syringe and a vial labelled "coronavirus disease (COVID-19) vaccine" are placed on a passport in this illustration picture
A syringe and a vial labelled "coronavirus disease (COVID-19) vaccine" are placed on a passport in this illustration picture

นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังแสดงความกลัวว่า การจำกัดการเดินทางและการดำเนินนโยบายเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนในหลายประเทศอาจยิ่งทำให้ระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤตสาธารณสุขครั้งนี้ ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำรุนแรงมากขึ้น ทั้งยังทำให้ นักเรียน-นักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ ผู้มีความรู้ความสามารถอื่นๆ ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมระดับโลกได้ด้วย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพิ่งออกความเห็นออกมาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ประเทศพัฒนาแล้วอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบสะท้อนกลับจากสถานการณ์ยุ่งเหยิงวุ่นวายในประเทศกำลังพัฒนา โดยในรายงานภาพรวมเศรษฐกิจที่ชื่อ Fault Lines Widen in the Global Economy มีการระบุว่า “คนจนจะยิ่งจนลงไปอีก และเหตุการณ์ความไม่สงบทางสังคมและความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์จะยิ่งยกระดับสูงขึ้นไปอีก”

ทั้งนี้ IMF ระบุว่า การเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ที่ไม่เท่าเทียมกันทั่วโลก คือปัจจัยหลักที่จะทำให้ช่องว่างระหว่างการฟื้นตัวของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศด้อยพัฒนากว้างขึ้นด้วย

ทั้ง IMF และ WHO รวมทั้งธนาคารโลกและองค์การการค้าโลกได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกช่วยกันทำให้อย่างน้อยประชาชนสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ของแต่ละประเทศได้รับวัคซีนก่อนสิ้นปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ภายในกลางปีหน้าแล้ว

จิตา โกพินาธ หัวหน้าทีมนักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ระบุในคำแถลงที่เผยแพร่ให้กับสื่อว่า “การลงมือดำเนินนโยบายไปพร้อมๆ กัน จะช่วยให้เกิดความแตกต่างระหว่างอนาคตที่ประเทศต่างๆ เดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน และการเกิดความวุ่นวายทางสังคมและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงขึ้นได้”

(ข้อมูลบางส่วนจากสำนักข่าว เอพี)

XS
SM
MD
LG