ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์กรเสรีภาพสื่อชี้หลายประเทศปิดกั้นการทำงานของนักข่าวช่วงโควิดระบาด


A woman wearing a protective mask walks outside a village that was placed under lockdown due to the number of COVID-19 cases among residents in Manila, Philippines on Thursday, March 11, 2021. The Philippine capital placed two villages and two…
A woman wearing a protective mask walks outside a village that was placed under lockdown due to the number of COVID-19 cases among residents in Manila, Philippines on Thursday, March 11, 2021. The Philippine capital placed two villages and two…
Covid 19 Media Freedom
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:02 0:00


ในช่วงการระบาดของโคโรนาไวรัสเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลของหลายประเทศออกมาตรการฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ ซึ่งนักรณรงค์เพื่อเสรีภาพสื่อมองว่า บรรยากาศดังกล่าวเปิดทางให้รัฐเผด็จการปิดกั้นหน้าที่ของนักข่าว

หลายตัวอย่างถูกสะท้อนออกมาในกรณีของการที่นักข่าวถูกจับกุมตัว ในข้อหาเผยเเพร่ข่าวเท็จ เว็บไซต์ข่าวถูกบล็อก และการห้ามทำข่าวการสรุปข้อมูลเรื่องการระบาด

แอมมี สลิโพวิตซ์ ผู้จัดการโครงการวิจัยของหน่วยงาน Freedom House ที่ออกรายงาน Freedom in the World และรายงาน Democracy under Lockdown กล่าวว่า การระบาดของโคโรนาไวรัสก่อให้เกิดสิ่งคุกคามเสรีภาพสื่อด้วย

หน่วยงาน Freedom House พบว่า ในบรรดา 192 ประเทศที่อยู่ในการทำสำรวจ มี 91 ประเทศซึ่งรวมถึงไทย สหรัฐฯ และอังกฤษที่ใช้กฎข้อบังคับไม่มากก็น้อยเพื่อจำกัดทางเสนอข่าว ในมาตรการรับมือโควิด-19 ของรัฐ

FILE - This picture taken with a self-timer shows AFP journalists in protective gear while reporting on a COVID-19 story at Pondok Ranggon cemetery in Jakarta, May 6, 2020.
FILE - This picture taken with a self-timer shows AFP journalists in protective gear while reporting on a COVID-19 story at Pondok Ranggon cemetery in Jakarta, May 6, 2020.

นักรณรงค์กล่าวว่า โดยทั่วไปกฎหมายและมาตรการต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความปลอดภัยด้านสาธารณสุข แต่ก็มีหลายประเทศที่ใช้กฎเหล่านั้นมาขัดขวางและคุกคามสื่อ

สก็อตต์ กริฟฟิน รองผู้อำนวยการสถาบัน International Press Institute หรือ IPI ที่กรุงเวียนนา กล่าวว่า รัฐบาลหลายเเห่งโดยเฉพาะที่เป็นเผด็จการ เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องลดทอนเสรีภาพเมื่อเกิดวิกฤตด้านสาธารณสุข

แต่ในความเป็นจริง สก็อตต์ กริฟฟิน มองว่าการทำข่าวอย่างอิสระเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นพิเศษ เมื่อเกิดวิกฤตด้านสาธารณสุข

และเมื่อรัฐจะยังคงออกมาตรการใหม่ๆ มาเรื่อยๆ ตัวอย่างหนึ่งไม่นานนี้คือที่ประเทศมาเลเซียที่ รัฐบาลขยายอำนาจกฎหมายภาวะฉุกเฉินในเดือนมีนาคมนี้ ที่เพิ่มการลงโทษต่อสิ่งที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นการเสนอข้อมูลเท็จ มาตรการที่เข้มงวดขึ้นรวมถึงโทษจำคุกขั้นสูงสุดเป็นเวลาสามปีด้วย

คอร์ทนีย์ ราดช์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมกิจกรรม แห่ง Committee to Protect Journalists หรือ CPJ ที่นครนิวยอร์กกล่าวถึงประเทศที่มีประวัติน่ากังวลเรื่องเสรีภาพสื่อว่าประกอบด้วย จีน อิยิปต์ และตุรกี และองค์กรของเธอพบว่าเมื่อปีที่เเล้ว มีนักข่าวถูกจับกุมตัว 274 คน ซึ่งมีจำนวนมากที่ถูกจับจากการทำข่าวการระบาดของโควิด-19 และมีสองรายที่เสียชีวิตจากโคโรนาไวรัส

ขณะที่สถาบัน IPI ระบุว่า เมื่อปีที่เเล้ว เกิดการละเมิดเสรีภาพสื่อในกรณีที่เกี่ยวกับโควิด-19 ทั้งหมด 600 กว่าเหตุการณ์ โดยที่ประเทศอินเดีย เกิดปัญหาดังกล่าวทั้งหมด 84 กรณีนำหน้าประเทศอื่นๆ ในการสำรวจของ IPI

Zimbabwe Protests
Zimbabwe Protests

ซิมบับเว คือประเทศที่เกิดการละเมิดเสรีภาพสื่อมากที่สุดในแอฟริกา ส่วนเวเนซูเอลาเป็นประเทศที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวมากที่สุดในละตินอเมริกา ขณะที่รัสเซียขยายขอบข่ายการเอาผิดสื่อภายใต้กฎหมาย “fake news” laws ที่มุ่งเป้าไปที่นักข่าวที่วิจารณ์รัฐบาล

ในส่วนของประเทศจีน แอมมี สลิโพวิตซ์ แห่ง Freedom House กล่าวว่ากรณีที่น่าเป็นห่วงยิ่ง คือเมื่อ สตรีรายหนึ่งที่ชื่อ จาง จาน รายงานข่าวจากเมืองอู่ฮั่น เมื่อเดือนธันวาคม และถูกตัดสินจำคุกสี่ปี และที่ประเทศอิยิปต์ ที่นักข่าวของสื่ออังกฤษ​ The Guardian ถูกเนรเทศออกจากอิยิปต์เพราะเสนอข่าววิจารณ์รัฐบาลไคโรเรื่องการรับมือกับโคโรนาไวรัส

XS
SM
MD
LG