ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เกษตรกรอเมริกันหันปลูกพืชคลุมดินนอกฤดูกาลหวังลดก๊าซคาร์บอน


FILE - Farmer Dave Gruenbaum plants corn as he terminates off-season cover crops with a roller near Plain City, Ohio, May 2021. (Dave Gruenbaum/Handout via Reuters)
FILE - Farmer Dave Gruenbaum plants corn as he terminates off-season cover crops with a roller near Plain City, Ohio, May 2021. (Dave Gruenbaum/Handout via Reuters)
Cover Crops Expansion For Low Carbon Future
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:10 0:00


บริษัทที่ทำธุรกิจการเกษตรและเกษตรกรในสหรัฐฯ เริ่มมาร่วมมือกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในการปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน พร้อมๆ กับทำประโยชน์สำหรับการดำเนินกิจการให้กับบริษัทผู้สนับสนุนด้วย​

แจ็ค แม็คคอร์มิค (Jack McCormick) เกษตรกรในรัฐอิลลินอยส์ปลูกข้าวบาร์เลย์และหัวไชเท้าซึ่งเป็นพืชผลนอกฤดูซึ่งเขาไม่ได้ตั้งใจที่จะเก็บเกี่ยวบนพื้นที่ 350 เอเคอร์เมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว แต่พืชผลเหล่านั้นจะถูกฆ่าด้วยยากำจัดวัชพืชในฤดูใบไม้ผลิที่จะมาถึง ก่อนที่ แม็คคอร์มิค จะปลูกถั่วเหลืองลงบนทผืนดินเดียวกัน

ทั้งนี้ ข้าวบาร์เลย์และหัวไชเท้าจะไม่ถูกนำมาใช้เป็นอาหาร แต่บริษัท ไบเออร์ (Bayer AG) จะจ่ายเงินให้ แม็คคอร์มิค สำหรับการปลูกพืชเหล่านี้ เนื่องจากพืชผลที่เรียกกันว่าพืชคลุมดินดังกล่าวช่วยให้ผู้ผลิตเมล็ดพืชและสารเคมีได้รับคาร์บอนเครดิตจากรัฐบาล

วัตถุประสงค์ของการปลูกพืชคลุมดินนั้น คือการฟื้นฟูดิน ลดการกัดเซาะ และดึงคาร์บอนที่ทำให้โลกร้อนออกจากบรรยากาศผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง คาร์บอนที่ติดอยู่ในรากและพืชอื่นๆ ที่หลงเหลืออยู่ในดิน จะถูกวัดปริมาณคาร์บอนเครดิตที่บริษัทต่างๆ สามารถใช้เพื่อชดเชยการก่อมลภาวะอื่นๆ

FILE - Farmer Dave Gruenbaum plants corn as he terminates off-season cover crops with a roller near Plain City, Ohio, May 2021. (Dave Gruenbaum/Handout via Reuters)
FILE - Farmer Dave Gruenbaum plants corn as he terminates off-season cover crops with a roller near Plain City, Ohio, May 2021. (Dave Gruenbaum/Handout via Reuters)

วิธีการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมการเกษตรมีการปรับตัวอย่างไรบ้างต่อผลของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทำให้เกษตรกรไม่ได้สร้างรายได้จากการขายพืชผลเพื่อเป็นอาหารและอาหารปศุสัตว์เพียงเท่านั้นอีกต่อไป แต่พวกเขาอาจได้รับค่าตอบแทนสำหรับการปลูกพืชผลที่ช่วยลดการปล่อยมลพิษที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย

มีเกษตรกรอเมริกันจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่พากันปลูกพืชคลุมดิน อันได้แก่ หญ้าต่างๆ เช่น ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต ไปจนถึงพืชตระกูลถั่ว และหัวไชเท้า เป็นต้น แม้ว่าพืชผลบางชนิดจะถูกแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพหรือนำไปเลี้ยงโค แต่ส่วนใหญ่จะไม่ถูกเก็บเกี่ยวเนื่องจากมูลค่าของพวกมันจะสูงกว่า หากเน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิน

ทั้งนี้ พืชคลุมดินเป็นเสาหลักของการเกษตรปฏิรูปเพื่อการฟื้นฟูดิน ซึ่งบรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมักมองว่าพืชเหล่านี้มีการพัฒนามากกว่าการเกษตรแบบดั้งเดิม และยังเป็นการเกษตรที่ช่วยฟื้นฟูสภาพของดินและควบคุมการปล่อยมลพิษโดยการหมุนเวียนพืชผล การเลี้ยงปศุสัตว์ การลดการใช้สารเคมี และอื่นๆ อีกมากมาย

ร็อบ ไมเยอร์ส (Rob Myers) ผู้อำนวยการศูนย์เกษตรปฏิรูปแห่งมหาวิทยาลัยแห่งมิสซูรี (University of Missouri) ประเมินว่า มีการปลูกพืชคลุมดินถึง 22 ล้านเอเคอร์ในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งหากเปรียบเทียบกับข้อมูลล่าสุดของกระทรวงการเกษตรสหรัฐ (USDA) แล้วจะพบว่า เป็นการเพิ่มขึ้น 43% จาก 15.4 ล้านเอเคอร์ในปี ค.ศ. 2017

ไมเยอร์ส กล่าวว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ผลักดันให้มีการปลูกพืชคลุมดินต่อไป โดยการรับเงินค่าคาร์บอน เป็นสิ่งใหม่ล่าสุด ที่ทำให้เกษตรกรกันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพของดินกันมากขึ้น และเขาคาดการณ์ว่า ภายในปลายทศวรรษนี้จะมีการปลูกพืชคลุมดินปีละ 40-50 ล้านเอเคอร์เลยทีเดียว

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การปลูกพืชคลุมดินนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปเรื่อยๆ ในขณะที่โครงการอนุรักษ์ต่างๆ ของรัฐบาลและเอกชนขยายตัวด้วยเช่นกัน

นอกจากนั้น การขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชคลุมดินในอีกไม่กี่ปีข้างหน้ายังอาจเป็นประโยชน์ต่อบริษัทเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยด้วย ถึงแม้ว่าบริษัทต่างๆ จะกล่าวว่า เป็นการยากที่จะคาดการณ์ว่าพืชคลุมดินชนิดใดที่เกษตรกรจะตัดสินใจปลูก

บริษัทต่างๆ รวมถึง ไบเออร์ (Bayer), แลนด์ โอ เลคส์ (Land O'Lakes) และคาร์กิลล์ (Cargill Inc) ได้เปิดตัวโครงการเกษตรกรรมคาร์บอนในช่วงสองปีที่ผ่านมา ที่จ่ายเงินให้เกษตรกรให้ช่วยดักจับคาร์บอนโดยการปลูกพืชคลุมดินและลดการไถพรวนในดิน

รายงานข่าวระบุว่า ทรูแทร์รา (Truterra) บริษัทในเครือ แลนด์ โอ เลคส์ จ่ายเงินจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ให้กับเกษตรกรอเมริกันที่ลงทะเบียนในโครงการคาร์บอนของตนในปี ค.ศ. 2021 เพื่อการดักจับคาร์บอนในดินในปริมาณ 200,000 เมตริกตัน

ขณะเดียวกัน มีโครงการอื่นๆ ที่ทำการขยายตัวจากโครงการนำร่องเล็กๆ ซึ่งรวมถึงกรณีของ คาร์กิลล์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มโครงการเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็น 10 ล้านเอเคอร์ภายในสิ้นทศวรรษนี้ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากขนาดปัจจุบันที่ประมาณ 360,000 เอเคอร์ ส่วนบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ คอร์ทีวา (Corteva Inc) สั่งดำเนินการเพิ่มโครงการการดักจับคาร์บอนในสหรัฐฯ จาก 3 รัฐเป็น 11 รัฐสำหรับฤดูกาลในปีนี้แล้ว

ทั้งนี้ โครงการอนุรักษ์ต่างๆ ของรัฐบาลกลางได้จ่ายเงินให้เกษตรกรในการจัดสรรที่ดินที่มีความอ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ที่ราบน้ำท่วมขัง หรือที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มาเป็นเวลาหลายปี และรัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน มีแผนที่จะขยายโครงการเหล่านั้นออกไปด้วย โดยกฎหมาย Build Back Better ของปธน.ไบเดน ได้ตั้งเป้างบประมาณไว้ที่ 28,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการอนุรักษ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินสูงถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่เกษตรกรและเจ้าของที่ดินสำหรับการปลูกพืชคลุมดิน แม้ว่าชะตากรรมของร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ชัดเจนก็ตาม

อย่างก็ดี ผู้เชี่ยวชาญบางคนเตือนว่า การเปลี่ยนไปปลูกพืชคลุมดินนอกฤดูกาลมากขึ้นนั้น อาจส่งผลให้โอกาสสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักของเกษตรกรลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดสภาพอากาศในฤดูใบไม้ผลิที่ผันผวนมากขึ้น

เจสัน เวลเลอร์ (Jason Weller) ประธานบริษัท ทรูแทร์รา กล่าวระหว่างการเข้าร่วมการประชุมของสมาคมผู้ค้าเมล็ดพันธุ์พืชอเมริกัน (American Seed Trade Association) เมื่อเดือนธันวาคมของปีที่แล้วว่า เทรนด์การปลูกพืชคลุมดินเช่นนี้อาจนำมาซึ่งสภาพการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์พืชได้ ขณะที่ ผู้ที่วิจารณ์แนวทางปฏิบัตินี้มองว่า กระแสการทำการเกษตรดังกล่าวอาจทำให้มีการใช้สารเคมีในฟาร์มเพิ่มขึ้นด้วย

แต่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเชื่อว่า การปลูกพืชคลุมดินนั้นเป็นการยกระดับการทำการเกษตรแบบเดิมๆ ที่มักปล่อยให้พื้นที่เพาะปลูกว่างเปล่านานถึงครึ่งปี และปล่อยให้โอกาสปลูกพืชที่ดักจับก๊าซคาร์บอนหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย

(ที่มา: สำนักข่าวรอยเตอร์)

XS
SM
MD
LG